กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชีวีปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค
รหัสโครงการ 63-L1523-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ ๔ ตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 18,204.60 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมร พร้อมสีทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร / ชุมชนหมู่ที่ ๔ /ตลาดนัดหมู่ ๔ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากแนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ดังนั้นจึงมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นปัจจัยพื้นฐาน ๔ ประการ ได้แก่ ด้านสุขภาพจิต การออกกำลังกาย การอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาหารสะอาดปลอดภัย รวมถึงการที่ประชากรส่วนมากได้นิยมใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมากขึ้น ซึ่งหากการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดมีสารปนเปื้อนและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต  หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารและเครื่องสำอาง สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน
    การบริโภคอาหารและการเลือกใช้เครื่องสำอางที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุม ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยทุกกระบวนการ  ฉะนั้นเพื่อให้ผู้ที่ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และร้านค้าต่าง ๆ รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และอาหารต้องสะอาดปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน สามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ ลดการนำน้ำมันมาทอดซ้ำในอาหารประเภททอด รวมถึงการเลือกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ปลอดภัยจำหน่ายในชุมชน
          จากการสำรวจร้านค้าในตลาดสด และบริเวณรอบ ๆ พบว่าผู้จำหน่ายอาหารสด อาหารสำเร็จรูป รวมถึงการจำหน่ายเครื่องสำอางเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ ๓๐  ทางอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ ๔ เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านนี้  จึงได้จัดทำ “โครงการ ชีวีปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค” เพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานอาหารปลอดภัย และสารปนเปื้อนของกระทรวงสาธารณสุข และคนในชุมชนมีความสุขทั้งด้านกาย ทางใจ สุขภาพและการอนามัยสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน  เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและ ผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้อที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความสะอาด ความปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อนในอาหาร และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่สะอาดและปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๒.๑.๑ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ร้านจำหน่ายอาหารและร้านขายเครื่องสำอางภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย หน้า ๒ ๒.๑.๒ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของอาหารภายในเขตพื้นที่ตำบลนาเมืองเพชร ลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงสารปนเปื้อนในเครื่องสำอาง ๒.๑.๓ เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของอสม. ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ๒.๑.๔. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และสารปนเปื้อนในเครื่องสำอาง

๑. อาหารสดและอาหารแปรรูปมีความปลอดภัยมากกว่าร้อยละ ๘๐ ๒ ผลิตภัณฑ์สุขภาพมีความปลอดภัยมากกว่าร้อยละ ๘๐

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 18,204.60 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ ๑ อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง การเลือกซื้ออาหาร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สะอาดปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน แก่ ร้านค้า ร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง อสม./แกนนำเครือข่ายสุขภาพ 90 10,054.00 -
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมดำเนินการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรีย สารปนเปื้อนของร้านขายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร การปนเปื้อนของสารเคมีในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 50 8,150.60 -

๓.๑ จัดทำแนวทางเพื่อขออนุมัติงบประมาณ โครงการ ชีวีปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค
๓.๒ เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน ๓.๓ จัดเตรียมเอกสาร/อุปกรณ์ในการอบรม
๓.๔ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง การเลือกซื้ออาหาร เลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ในชีวิตประวัน สะอาดปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อนแก่ผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง อสม./แกนนำเครือข่ายสุขภาพ
        ๓.๕ ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรีย สารปนเปื้อนของร้านขายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร  ร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง ๓.๖ ประชาสัมพันธ์โครงการโดยผ่านสื่อต่างๆ  เช่น  ป้ายประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ในเขตเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
๓.๗ จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แสดงผลการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ให้ผู้ประกอบการทราบเป็นระยะๆที่ตลาดนัด ๓.๘ สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชุมชนตระหนักถึงความปลอดภัยในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีการเฝ้าระวังตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหาร ทำให้ชุมชนได้รับผลิตภัณฑ์สุขภาพอาหารที่ปลอดภัย เป็นธรรมและเป็นการพัฒนาสร้างความร่วมมือของ อสม./แกนนำ ผู้ประกอบการ ร้านค้าให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการภายใต้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน นำไปสู่การเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร เครื่องสำอางให้มีความปลอดภัยยิ่งๆขึ้นไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 14:35 น.