กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนประดู่


“ พลังชุมชน จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ ”

ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายสมคิด ทองศรี

ชื่อโครงการ พลังชุมชน จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ

ที่อยู่ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 60-L3336-2-8 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2560 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"พลังชุมชน จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนประดู่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
พลังชุมชน จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ



บทคัดย่อ

โครงการ " พลังชุมชน จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 60-L3336-2-8 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 25,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนประดู่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ขยะมูลฝอย ขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลุออกเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะ ทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70% ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ 1.อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ 2.น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้้ำเสีย ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำ ทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ 3.แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน 4.เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมด ทำให้กลิ่นเหม็นรบกวน ระยะเวลาที่ขยะแต่ละชนิดย่อยสลายตามธรรมชาติ เศษกระดาษ ระยะเวลาย่อยสลาย 2-5เดือน เปลือกส้ม ระยะเวลาย่อยสลาย 6 เดือน ถ้วยกระดาษเคลือบระยะเวลาย่อยสลาย 5ปี ก้นกรองบุหรี่ระยะเวลาย่อยสลาย 12ปี รองเท้าหนัง ระยะเวลาย่อยสลาย25-40ปี กระป๋องอะลูมิเนียม ระยะเวลาย่อยสลาย80-100 ปี โฟม ระยะวลาย่อยสลายไม่ย่อยสลาย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากของเสียอันตราย ของเสียอันตรายหมายถึง ของเสียที่มีส่วนประกอบหรือเจือปนด้วยวัตถุอันตราย ซึ่งตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ระบุว่า 10 ประเภท ได้แก่ วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและวัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดอาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษจากของเสียอันตราย ที่สำคัญซึ่งกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมีดังนี้ 1.ของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ สารเคมี เศษวัตถุดิบ เศษผลิตภัณฑ์ น้ำเสีย อากาศเสีย 2.ของเสียอันตรายจากสถานพยาบาล ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อ เศษชิ้นส่วนอวัยวะต่าง ๆ เศษเนื้อเยื่อ สารกัมมันตรังสี ซากสัตว์ทดลองและสิ่งขับถ่ายหรือของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย 3.ของเสียอันตรายจากบ้านเรือน เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว ได้แก่ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนต์ น้ำยาทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ สารเคมี กำจัดแมลง 4.ของเสียอันตรายจากภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารเคมี ประเภทสารเคมี กำจัดศัตรูพืช การแก้ปัญหาขยะมูลฝอย 1.ก่อนจะทิ้งขยะ เราจะสามารถลดปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ มีแนวคิดอยูู่ 7R คือ -REFUSE การปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะรวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กล่อมโฟม หรือขยะมีพิษอื่น ๆ -REEFILL การเลือกใช้สินค้าชนิดเติมซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์น้อยชิ้นกว่า ขยะก็น้อยกว่าด้วย -RETURN การเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิตได้ เช่น ขวดเครื่องดื่มต่างๆ -REPAIR การซ่อมแซมเครื่องใช้ให้สามาถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ให้กลายเป็นขยะ -REUSE การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น ใช้ถุงผ้าไปช็อปปิ้งแทนถุงก๊อบแก๊บ -RECYCLE การแยกขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้ให้ง่ายต่อการจัดเก็บและส่งแปรรูป เช่น บรรจุภัณฑ์ พลาสติก แก้ว กระป๋องเครื่องดื่มต่าง ๆ -REDUCE การลดการบริโภคและหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ 2.ทิ้งขยะในที่ที่จัดไว้ให้ 3.ควรมีการคัดแยกขยะและแยกทิ้งลงในถังรอง กลุ่มพลังชุมชนจัดการสิ่งแวดล้อมบ้านกล้วยเภา จึงจึงทำโครงการพลังชุมชน จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะโดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ วิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง จากการที่ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติคัดแยกขยะจากต้นทาง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนบ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ
  2. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่
  3. เพื่อให้ชุมชนบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 100
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.ประชาชนในชุมชนบ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ 2.ประชาชนในชุมชนบ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ 3.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ อย่างถูกวิธี 4.ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายเรียนรู้ในการบริหารจัดการตนเองในการคัดแยกขยะ 5.ขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    โครงการพลังชุมชน จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ ผลการดำเนินโครงการ 1. ประชาชนบ้านกล้วยเภามีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการอบรม ร้อยละ 95 2. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการอบรม ร้อยละ 92 3. มีจุดคัดแยกขยะของชุมชน 1 จุด และมีจุดปลอดขยะในหมู่บ้าน   งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวันกิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการจัดการขยะตามหลัก 7R จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท จำนวน 100 คน  เป็นเงิน  7,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างกิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการจัดการขยะตามหลัก 7R จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 100 คน  เป็นเงิน  5,000 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากรกิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการจัดการขยะตามหลัก 7R จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4. วัสดุสาธิการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  เป็นเงิน 4,000 บาท 5. ค่าอาหารกลางวันกิจกรรมประชุมประเมินผลถอดบทเรียนการจัดการขยะในชุมชน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน  2,100 บาท 6. ค่าอาหารว่างกิจกรรมประชุมประเมินผลถอดบทเรียนการจัดการขยะในชุมชน จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน  1,500 บาท 7. ค่าวิทยาการนำกระบวนการกิจกรรมประชุมประเมินผลถอดบทเรียนการจัดการขยะในชุมชน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาท  เป็นเงิน  1,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด  25,000 บาท 

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ประชาชนบ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ
    ตัวชี้วัด : ประชาชนบ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

     

    2 เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่
    ตัวชี้วัด : ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

     

    3 เพื่อให้ชุมชนบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง
    ตัวชี้วัด : 1.มีจุดคัดแยกขยะของชุมชน 1 จุด 2.มีจุดปลอดขยะในหมู่บ้าน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 100
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนบ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ (2) เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ (3) เพื่อให้ชุมชนบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    พลังชุมชน จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 60-L3336-2-8

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสมคิด ทองศรี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด