กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปริก


“ โครงการประชุมปฏิบัติการ การดูแลขาและเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2563 ”

ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
ดต.อาทิตย์ สุวรรณรัตน์

ชื่อโครงการ โครงการประชุมปฏิบัติการ การดูแลขาและเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2563

ที่อยู่ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L5248-2-06 เลขที่ข้อตกลง 23/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มีนาคม 2563 ถึง 15 เมษายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการประชุมปฏิบัติการ การดูแลขาและเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2563 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปริก ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการประชุมปฏิบัติการ การดูแลขาและเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการประชุมปฏิบัติการ การดูแลขาและเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 63-L5248-2-06 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 มีนาคม 2563 - 15 เมษายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 29,190.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปริก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่สำคัญก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัย สูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และ ทุพลภาพ สถิติ ของกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าระหว่าง ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2558 ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อที่เป็น สาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในช่วง อายุ 30 - 69 ปี จำนวนสี่ โรคสำคัญคือ โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้องรัง นอกจากนี้ อัตราการตาย จาก โรคเบาหวาน จาก 13.2 ต่อ ประชากร แสนคนก็เพิ่มขึ้น เป็น 17.8 ต่อ ประชากรแสนคน (กระทรวงสาธารณสุข 2560) ปี พ.ศ. 2558 ( คศ. 2015) สำนักระบาดวิทยา รายงาน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ ยกเว้น กรุงเทพมหานคร สรุปดังนี้ ผู้ป่วยสะสม รวม 1,219,161 ราย  ความชุก 1863.69 ต่อประชากร แสนคน รวมผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ขึ้นทะเบียน อัตราอุบัติการณ์การเกิดโรค (incidence rate) 602.03 ต่อประชากร แสนคน ผู้เสียชีวิต 12,074  อัตราตาย 18.45 ต่อประชากร แสนคน ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบสูง  (กระทรวงสาธารณสุข, สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2558) ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถมีชีวิตยืนยาวได้หากสามารถควบคุมความรุนแรง ของโรค และลดโอกาสของการเกิดผลแทรกซ้อน ด้วยการควบคุมอาหาร และการดูแล สุขภาพ ไม่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน เพราะระดับน้ำตาลที่สูง จะมีผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปอวัยวะในร่างกายก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานต่าง ๆ อันได้แก่ โรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก (Microvascular complications) เส้นเลือดขนาดใหญ่ (Macrovascular complications) และเส้นประสาท (ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช 2557)
ผลแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่เกิดบ่อย คือ เกิดบาดแผล ที่เท้า จนนำไปสู่การตัดขา เนื่องจากบาดแผลของผู้ป่วยเบาหวานจะหายช้า มีอาการชา จากการทำลายของเส้นประสาท นอกจากจะมีผลทางกาย ของผู้ป่วย ยังมีผลทางจิตใจ สังคม เศรษฐกิจ และครอบครัว จำนวนผู้ป่วย โรคเบาหวาน ในการรับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล (รพ สต) หัวถนน  รพ สต. ควนเสม็ด  ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา  เพิ่มขึ้นทุกปี 133 คน ปี 2558 เป็น 164  ปี 2562 (องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลปริก 2562) ซึ่งอาจเกิดได้จากจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การตรวจหาผู้เป็นโรคแต่เนิ่นๆ  จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อการใช้ ทรัพยากรสุขภาพที่สูงขึ้น  จึงมีความจำเป็น บุคลากรทางการแพทย์ต้องเพิ่มศักยภาพการดุแลตนเอง ของผู้ป่วยและญาติให้เพิ่มมากขึ้นด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ใช้เวลาหนึ่งวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าประชุม มีความรู้เกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยเน้น การเปลี่ยนแปลงของขาและเท้า การสังเกตและทดสอบความผิดปกติ การดูแลเท้าและขา  การจดบันทึก  การรายงานความผิดปกติ และการส่งต่อ เพื่อการดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์เมื่อมีข้อบ่งชี้
ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน  ผู้ดูแลผู้ป่วย  อาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ ผู้สนใจ รวม 30 คน
ข้อมูลที่มีอยู่บน อินเตอร์เน็ต ของหน่วยงาน ทางสาธารณสุข และ การแพทย์ เช่น ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช และภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู มหาวิทยาลัยมหิดล จะเลือกมาใช้ในการอบรมเพื่อให้ผู้รับการอบรมเพิ่มศักยภาพของการหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ในการดูแลตนเอง วิทยากร อย่างน้อย สองท่าน คืออาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ผู้เชี่ยวชาญการดูแลเท้า นักบาทานามัย (podiatrist) ผ่านการอบรมจากประเทศเยอรมัน มีความรู้และประสบการณ์ ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขา นานกว่า ๒๐ ปี บรรณานุกรม กระทรวงสาธารณสุข, สำนักโรคไม่ติดต่อ. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ, 2560. Access http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020.
กระทรวงสาธารณสุข, สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี, แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี, 2558. Access www.searo.who.int › thailand › areas › national-ncd-prevention- and-control-plan-2017-2021-tha.pdf. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช.  คู่มือการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน,  2557. กรุงเทพฯ: มหาวิยาลัยมหิดล
องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลปริก. จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ในบางหมู่บ้าน, 2562. personal communication.

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 25
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    • เพื่อให้ผู้เข้าประชุม มีความรู้เกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยเน้น การเปลี่ยนแปลงของขาและเท้า • สามารถ การสังเกตและทดสอบความผิดปกติ การดูแลเท้าและขา
    • สามารถดูแลเท้า ที่มีความผิดปกติ เบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง • สามารถ จดบันทึก  และรายงานความผิดปกติ และการส่งต่อ เพื่อการดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์เมื่อมีข้อบ่งชี้


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 25
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการประชุมปฏิบัติการ การดูแลขาและเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2563 จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 63-L5248-2-06

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ดต.อาทิตย์ สุวรรณรัตน์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด