กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลีลาศหรรษาชื่นชีวาเพลินใจ
รหัสโครงการ 63-L5300-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้านบ้านเขาจีน
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 19,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุรพร ปานแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
50.00
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การลีลาศเป็นกิจกรรมที่เกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกาย และเป็นการออกกำลังกายที่มีผลต่อสุขภาพ การฝึกลีลาศอย่างต่อเนื่องถือเป็นการฝึกแบบแอโรบิคที่เสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบการผลิตพลังงานที่ใช้ออกซิเจนซึ่งช่วยเสริมสร้างความอดทนของระบบหายใจ และไหลเวียนโลหิต ดังนั้นการลีลาศจึงเป็นการออกกำลังกายตามหลักวิทยาศาสตร์และยังอาศัยศิลปะในการเคลื่อนไหว เพื่อความสวยงามอีกด้วย โดยปกติการเต้นลีลาศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือประเภทลาติน อเมริกัน มี 5 จังหวะ และประเภทแสตนดาร์ด มี 5 จังหวะ แต่การลีลาศแบบพื้นฐานในจังหวะต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันโดยเฉพาะการลีลาศเพื่อสุขภาพ เพราะมีจังหวะ และทักษะที่ไม่ยากมากนัก ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ได้สรุปผลของการลีลาศ ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมที่มองเห็น คือ มีความสามารถเพิ่มขึ้น ในด้านความอดทน ความคล่องตัว ความเร็ว การทรงตัว และช่วยให้นอนหลับสบาย“ออกกำลังกายด้วยกิจกรรมลีลาศเป็นประจำทำให้หุ่นดี สุขภาพแข็งแรง ” ผู้รับผิดชอบโครงการได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาเยาวชนและประชาชนในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการลีลาศหรรษาชื่นชีวาเพลินใจขึ้น เพื่อให้เยาวชนและประชาชนเห็นความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพโดยการออกกำลังกาย ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และยังก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านร่างกายและด้านอื่น ๆได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.00 60.00
2 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

40.00 50.00
3 เพื่อเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด และส่งเสริมสุขภาพพลานามัย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง

สามารถออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศ

5.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,760.00 3 19,760.00
1 - 31 มี.ค. 63 ตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 0 550.00 550.00
1 มี.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 ออกกำลังกายโดยการเต้นลีลาศ 0 18,660.00 18,660.00
1 - 31 ก.ค. 63 ตรวจสุขภาพเบื้องต้นผู้เข้าร่วมโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการ 0 550.00 550.00
  1. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ออกกำลังกายโดยการเต้นลีลาศ 5 จังหวะ ดังนี้   2.1 จังหวะบีกิน   2.2 จังหวะรุมบ้า   2.3 จังหวะตะลุง   2.4 จังหวะ ชะชะช่า   2.5 จังหวะรำวง
  3. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นผู้เข้าร่วมโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการ
  4. สรุปและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถออกกำลังกายโดยการเต้นลีลาศได้ ร้อยละ 100 2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมและรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร้อยละ 95 ผลลัพธ์ 1. เป็นการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและส่งเสริมสุขภาพพลานามัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้แข็งแรงสมบูรณ์อันจะทำให้มีชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข 2. ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักการเข้าสังคม รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นอย่างดี และเป็นการรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 00:00 น.