กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รู้ รักษ์ สุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (รพสต.บานา)
รหัสโครงการ 63-3013-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 เมษายน 2563 - 10 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 10 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 55,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมาน กอลำ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 เม.ย. 2563 10 เม.ย. 2563 55,750.00
รวมงบประมาณ 55,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 44 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 37 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากทุกภาคส่วนประชาชนมีศักยภาพในการจัดการปัจจัยเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อโรควิถีชีวิตเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ที่ลดเสี่ยงลดโรคลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดความตาย และลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งระดับบุคคล ครอบครัวชุมชนสังคมสังคมสุขภาวะบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวมแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยพ.ศ2554-2563 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติเพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการเป็นเอกภาพด้วยการรวมพลังขับเคลื่อนตำบลบานา ได้ดำเนินตามนโยบายสาธารณสุขผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตตำบลบานา มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้งหมดปี2562 จำนวน2,498 ราย โรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 1,588 รายสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีจำนวน 425 รายคิดเป็นร้อยละ26.76โรคเบาหวาน900 รายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี จำนวน 135 ราย คิดเป็นร้อยละ15 ป่วยทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 1903 ราย และผู้ป่วยที่มีระดับความเสื่อมของไต ค่า GFR อยู่ในระดับ 3 จำนวน 57 ราย คิดเป็นร้อยละ51.35 ระดับ 4 จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.02 และระดับ5 จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.61 เข้ารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา จำนวน863ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มักจะมีอาการหลงลืมในการรับประทานยาบ้างการคุมอาหารบ้าง ขาดการเอาใจใส่จากญาติ ขาดความรู้ความเข้าใจในการรักษาที่ถูกต้อง ไปพึ่งยาเสริมต่างๆที่สามารถหาซื้อได้ง่ายด้วยตนเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากบุคคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นเพื่อให้มีการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่รับผิดชอบของเป็นแบบองค์รวม และเกิดการบูรณาการให้ผู้ป่วยและญาติดูแลตนเองได้ สามารถควบคุมภาวะอาการของโรคได้ และลดการตายจากภาวะแทรกซ้อน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถดูแลตนเองได้ ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ กระตุ้นให้คนในบ้านหรือผู้ดูแล มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมดูแลรักษา ให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแล รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพคนในบ้าน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และเป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรค

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน และโรค ไตและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

2.ร้อยละ60 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ได้ และ ป้องกันไม่ให้มีค่าความเสื่อมของไตเพิ่มขึ้น

3.ร้อยละ95 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมีความรู้ความเข้าใจด้านยาที่ถูกต้อง

239.00
2 เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย

1.ร้อยละ 90 ผู้ดูแลและอสมที่เข้ารับการอบรม สามารถประเมินภาวะเสี่ยง และติดตามผู้ป่วยได้

90.00
3 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเรื้อรังสามารถดูแลติดตามผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและประเมินภาวะเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

1.ร้อยละ 90 ของอสมที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน และโรค ไตและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

2.ร้อยละ 90 ของอสม ที่เข้ารับการอบรมสามารถประเมินภาวะเสี่ยงและติดตามผู้ป่วยได้

180.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจ ด้านยา ( ยาแผนปัจจุบัน / สมุนไพร ) เพื่อนำไปปรับให้ถูกต้องและเหมาะสม

ร้อยละ95 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมีความรู้ความเข้าใจด้านยาที่ถูกต้อง

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
7 เม.ย. 63 กิจกรรมที่1รู้เร็วรู้ไว น้ำตาลคุมได้ ใส่ใจสุขภาพ 64 25,900.00 25,900.00
8 เม.ย. 63 กิจกรรมที่ 2พิชิตความดันโลหิตด้วยตัวเรา 60 13,900.00 13,900.00
9 เม.ย. 63 กิจกรรมที่ 3 รู้รักษ์ไต 44 10,400.00 10,400.00
10 เม.ย. 63 กิจกรรมที่ 4 อสมอาสา พาประชาชนห่างไกลโรคแทรกซ้อน 37 5,550.00 5,550.00
รวม 205 55,750.00 4 55,750.00
  1. จัดทำโครงการฯเสนอเพื่อขอความเห็นชอบและขออนุมัติ
  2. จัดประชุมชี้แจงโครงการฯและประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน 3 จัดกิจกรรม 4 กิจกรรม 4 กลุ่มเป้าหมาย
    กิจกรรมที่1  รู้เร็ว รู้ไว น้ำตาลคุมได้ ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย  ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้จำนวน 30 คน และญาติผู้ดูแล 30 คน (รุ่นที่1)
  3. นัดประชากรกลุ่มเป้าหมาย ณ. ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา
  4. มีการประเมินความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับโรค การรักษาและภาวะแทรกซ้อน ก่อนและหลังการอบรม 3 ให้ความรู้เกี่ยวโรคเบาหวาน การสร้างแรงจูงใจในการรักษา ( Motivation Interview )และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ 4 มีการฝึกปฏิบัติการตรวจน้ำตาลในเลือดโดยผู้ดูแล การตรวจเท้าด้วยตนเอง การแช่เท้าด้วยสมุนไพร
    5 ประเมินตนเองโดยใช้color chart เพื่อประเมินCVD risk (โรคทางระบบหลอดเลือด)และประเมินแถบสีด้วยตนเอง 6 ติดตามเยี่ยมบ้านโดยเพื่อน ช่วยเพื่อน และอสม อาสา กิจกรรมที่2  พิชิตความดันโลหิต  ด้วยตัวเรา กลุ่มเป้าหมาย  ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถคุมระดับความดันได้ จำนวน30 คน และญาติผู้ดูแล30 คน (รุ่นที่2)
  5. นัดประชากรกลุ่มเป้าหมาย ณ. ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา
  6. มีการประเมินความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับโรค การรักษาและภาวะแทรกซ้อน ก่อนและหลังการอบรม 3 ให้ความรู้เกี่ยวโรคความดันโลหิตสูงการสร้างแรงจูงใจในการรักษา ( Motivation Interview )และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ 4 มีการฝึกปฏิบัติการตรวจวัดความดันโลหิตโดยผู้ดูแล ,การประเมินการรับประทานอาหารโดยใช้แถบตรวจความเค็ม ,
    5 ให้ความรู้เกี่ยวกับ ยา และสมุนไพรลดโรค 6  ฝึกปฏิบัติการทำHMBP (Home BP ) ที่บ้านโดยผู้ดูแล
    7 ประเมินตนเองโดยใช้color chart เพื่อประเมินCVD risk (โรคทางระบบหลอดเลือด)และประเมินแถบสีด้วยตนเอง 8 ติดตามเยี่ยมบ้านโดยเพื่อน ช่วยเพื่อน และอสม อาสา กิจกรรมที่3  รู้รักษ์ไต กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มี ค่า GFR ระดับ 3  จำนวน 20 คน และญาติผู้ดูแล 20 คน (รุ่นที่3)
  7. นัดประชากรกลุ่มเป้าหมาย ณ. ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา
  8. มีการประเมินความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับโรค การรักษาและภาวะแทรกซ้อน ก่อนและหลังการอบรม 3 ให้ความรู้โรคไต การรักษา , การสร้างแรงจูงใจในการรักษา ( Motivation Interview ) และภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 4 มีการฝึกปฏิบัติการตรวจวัดความดันโลหิตโดยผู้ดูแล ,การประเมินการรับประทานอาหารโดยใช้แถบตรวจความเค็ม
    5 ให้ความรู้เกี่ยวกับ ยา และสมุนไพรลดโรค 6 จัดกิจกรรมทำอย่างไรห่างไกลโรคไต ,การประเมินตนเองโดยใช้color chart เพื่อประเมิน CVD risk ( โรคทางระบบหลอดเลือด) ,รู้รักษ์ไตด้วยตนเอง 7  ติดตามเยี่ยมบ้านโดยเพื่อนช่วยเพื่อน , อสม อาสา กิจกรรมที่4  อสม อาสา พาประชาชนห่างไกลโรคแทรกซ้อน กลุ่มเป้าหมาย . อสม หมู่ละ 3 คน จำนวน 33 คน ( รุ่นที่4 )
  9. นัดประชากรกลุ่มเป้าหมาย ณ. ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา
  10. มีการประเมินความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับโรค การรักษาและภาวะแทรกซ้อน ก่อนและหลังการ อบรม
    3 ให้ความรู้เรื่องโรค ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไต และภาวะแทรกซ้อน 4 ให้ความรู้ด้านยา , และสมุนไพร รักษาโรค 5 มีการฝึกปฏิบัติการตรวจวัดความดันโลหิต, การตรวจ การตรวจหาความเค็มโดยใช้เครื่องมือ น้ำตาลและการทำ HMBP ในผู้ป่วย 6  ระบบการติดตามเยี่ยมและบันทึกการติดตามพร้อมรายงานผล
  11. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1ผู้ป่วย/ผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธรณสุขมีความรู้ –ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ,การรักษา ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วยได้

2กลุ่มเป้าหมายที่ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

3กลุ่มเป้าหมายที่มีระดับGFR ในระดับ3 สามารถมีระดับGFR ที่เพิ่มขึ้น

4ชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจผ่านสื่อไวนิลเกี่ยวกับโรคเรื้อรังและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องชุมชน

5ผู้ป่วย ผู้ดูแลและ อาสาสมัครสาธารณสุขแปรผลจากสมุดประจำตัวได้และ ร่วมกันดูแลซึ่งกันและกัน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 11:29 น.