กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพแกนนำRDU เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานRDUในชุมชน 10 มี.ค. 2563 25 ส.ค. 2563

 

1.1 คัดเลือกแกนนำเครือข่าย RDU ในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย แกนนำ 4 เสาหลัก , ผู้นำศาสนา , ผู้นำท้องที่ , โรงเรียนในพื้นที่ , อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เป็นต้น 1.2. จัดทำคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เทศบาลตำบลยะหริ่ง เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน RDU ในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม 1.3 ประชุมทำความเข้าใจ คืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ คปสอ.ยะหริ่ง แก่คณะกรรมการ ในวันที่ 3 ก.ย. ุ63 เพื่อวางแผนทิศทางการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในเขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง 1.4 จัดทำหลักสูตร “ก่อแก่น แกน RDU” เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำ RDU เชื่อมโยงกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ให้สามารถดำเนินการในชุมชนได้ 1.5 จัดอบรมให้ความรู้ตามหลักสูตร “ก่อแก่น แกน RDU” เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมเหตุผล แก่แกนนำชุมชนรวมถึงคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ เทศบาลตำบลยะหริ่ง 1.6 สุ่มเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สำรวจพฤติกรรมการใช้ยา ยาเหลือใช้ ค้นหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน

 

  1. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เทศบาลตำบลยะหริ่ง จำนวน 15 คน ตามคำสั่งเทศบาลตำบลยะหริ่ง เลขที่ 446/2563  ซึ่งประกอบด้วยแกนนำจากภาคีเครือข่าย ได้แก่ กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้นำศาสนา , ปลัดเทศบาล เป็นต้น ที่สามารถขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค(คบส.)ให้เป็นรูปธรรม เพื่อคุ้มครองให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้
  2. ร้อยละ 60 ของแกนนำ คบส. รวมถึงคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเทศบาลตำบลยะหริ่ง  ที่เข้าร่วมอบรมตามหลักสูตร “ก่อ แก่นแกน RDU” มีคะแนนจากการทำ Post -Test มากกว่า Pre -Test  โดยมีคะแนนเฉลี่ยของ Pre -Test และ Post -Test  ร้อยละ 62.36 และ 72.42 ของคะแนนทั้งหมด 3.    จากการเยี่ยมบ้านสำรวจยาในครัวเรือนและพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในตำบลยามู จำนวน 52 ราย แบ่งเป็น ม.1 22 ราย , ม.2 24 ราย , ม.3 6 ราย มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง สูงสุด จำนวน 44 ราย รองลงมา เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 26 ราย และโรคไขมันในเลือดสูง จำนวน 25 ราย จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยทั้งหมด พบข้อมูลดังนี้   3.1 ร้อยละ 69 ของผู้ป่วย ไม่รู้จักสเตียรอยด์ แต่มีประวัติใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสี่ยง สเตียรอยด์ ร้อยละ 11.54 (6/52) โดยมีการสั่งซื้อผ่านเวปไซด์ 2 ราย , สั่งซื้อผ่านโฆษณาทีวี 1 ราย , มีรถ/ตัวแทนมาขาย 1 ราย , มีคนให้มา 1 ราย , ไม่สามารถระบุแหล่งที่มา 1 ราย
      3.2 ร้อยละ 23.07 มีพฤติกรรมกินยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณร่วมกับยาแผนปัจจุบัน แต่ไม่มีผู้ป่วยที่กินยาลูกกลอน ยาต้ม ยาหม้อ แทนยาปัจจุบัน ร้อยละ 15.38 กินอาหารเสริมร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เพื่อรักษาโรค   3.3 พบยาสมุนไพรอันตราย แก้ปวดเมื่อย ไม่มีฉลาก จำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่ ยาแคปซูลขาวเหลือง แก้ปวดเมื่อย จาก อ.จะแนะ 1 ตัวอย่าง , ยาลูกกลอน แก้ปวดเมื่อย ซื้อจากในตำบล 1 ตัวอย่าง , ยาผงสีส้มแก้ปวดเมื่อย ซื้อจากต่างตำบล 1 ตัวอย่าง  และยาผงใส่ในแคปซูลแก้ปวดท้อง ซื้อจากอำเภอ 2 ตัวอย่าง โดยได้นำมาตรวจด้วยชุดทดสอบสเตียรอยด์อย่างง่าย (Test kits) พบมี 1 ตัวอย่างที่ตรวจพบสเตียรอยด์ คือ ยาผงสีส้มแก้ปวดเมื่อย

 

กิจกรรมกที่ 2 พัฒนาร้านชำในชุมชนให้เป็น "ร้านชำคุณภาพ" โดยเครือข่ายชุมชน 1 พ.ค. 2563 28 ก.ย. 2563

 

2.1 ประชุมหารือสถานการณ์ปัญหาการขายยาอันตรายในร้านชำ และวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับเครือข่าย
2.2 ประชุมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำเกี่ยวกับการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ปลอดภัย เชื่อมโยงกับหลักการทางศาสนา
2.3 ประชุมวางแผนการตรวจเฝ้าระวังร้านชำในชุมชน เพื่อความเข้าใจทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการ

 

1.ผลการประชุมปัญหาสถานการณ์ปัญหาการขายยาอันตรายในร้านชำ พบว่า มี 17 ร้าน เข้าร่วมจากร้านชำทั้งหมด 59 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 28.81 โดยได้มีคืนข้อมูลปัญหาผลกระทบจากการใช้ยาจากร้านชำ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขายยาอันตรายในร้านชำ รวมถึงมุมมองของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้อง และได้มีการประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุผล จำนวน 25 คน โดยในแบบสอบถามแบ่งเป็น 6 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 : ข้อมูลทั่วไป
ตอนที่ 2 : การใช้ยาตามฉลากและซองยา (6 ข้อ)
ตอนที่ 3 : การรู้ทันสื่อโฆษณา (7 ข้อ)
ตอนที่ 4 : การเลือกซื้อและใช้ยา (5 ข้อ)
ตอนที่ 5 : การเข้าใจความหมายของคำศัพท์ (10 ข้อ)
ตอนที่ 6 : การเข้าถึงข้อมูล ( 2 ข้อ) จำนวนทั้งหมด 30 ข้อ พบว่า ร้อยละของผู้เข้าร่วมที่ได้คะแนนรวมในแต่ละตอนมากที่สุด ได้แก่ ตอนที่ 1 ร้อยละ 4 (1/25) คะแนนสูงสุด 6 คะแนน , ตอนที่ 2 ร้อยละ 24 (6/25) คะแนนสูงสุด 5 คะแนน , ตอนที่ 4-6 ร้อยละ 8 (2/25) คะแนนสูงสุด 10 คะแนน จะเห็นได้ว่า ความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุผลของผู้เข้าร่วมยังน้อยกว่าร้อยละ 50 ของแบบทดสอบ 2. มุมมองอิสลามที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของร้านชำที่มีต่อผู้บริโภค ได้แก่
“นบีกล่าวว่าพ่อค้าที่สัจจริงและซื่อสัตย์ จะพำนักพร้อมกับนบี ชาวศิดดีก และชาวชะฮีดในสวรรค์” “อย่าสร้างความเดือนร้อน ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น”

 

กิจกรรมที่ 3 คืนข้อมูลผลการดำเนินงานเพื่อหาโอกาสพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 1 ก.ค. 2563 8 ต.ค. 2563

 

  1. ประชุมแนวทางการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อม RDU ในชุมชน

 

  1. ผู้ประกอบการร้านชำเสนอให้มีป้ายแสดงความรู้เกี่ยวกับยาที่ขายได้และไม่ได้ในร้านชำ เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงกฎหมายและขอบเขตของการขายยา ซึ่งจะมอบให้ร้านชำที่มีขนาดใหญ่ก่อนจำนวน 15 ร้าน
  2. แกนนำชุมชน เสนอให้มีจัดทำสื่อวิดิทัศน์ตามบริบทยามู เพื่อกระจายต่อไปยังสังคมออนไลน์ได้