กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการก่อแก่น แกน RDU เทศบาลตำบลยะหริ่ง
รหัสโครงการ 63-L8284-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลยะหริ่ง
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ภญ.มูนาดา แวนาแว
พี่เลี้ยงโครงการ วรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คปสอ.ยะหริ่ง เริ่มมีการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน(RDU in community) ตั้งแต่ ปี 2560 โดยมีตำบลตาแกะ เป็นตำบลนำร่อง สิ่งที่ได้เรียนรู้ในระยะแรก คือ การปรับระบบงาน คบส.ในภาพรวมให้เป็นรูปธรรม และเชื่อมต่อ RDU ในปี 2561 เริ่มจากการสร้างทีมผู้รับผิดชอบงาน คบส.ใน รพ.สต.และ อสม.ในชื่อ “คอ บอ สอ สามัคคี” พัฒนาศักยภาพทีมให้มีความรู้แนวทางการดำเนินงาน คบส. แต่ยังพบข้อจำกัดด้านความเข้าใจในระบบงาน เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ใหม่ทั้งทีม ขาดประสบการณ์การทำงาน รวมถึงการเชื่อมโยงกับเครือข่ายในชุมชน ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนางานต่อ กลยุทธ์หนึ่งที่ใช้ในการดำเนินงาน คือ การใช้ตำบลต้นแบบ RDU เป็นฐานเรียนรู้งาน คบส. ในคปสอ.ยะหริ่ง จึงได้ขยายตำบล RDU เป็นตำบลบางปู และยามูในปี 2562
    กิจกรรมหลักที่ใช้ในการพัฒนาเครือข่ายงาน คบส.เชื่อมต่อ RDU คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายทั้ง 19 ตำบล อย่างน้อยปีละ 1 คืนข้อมูลสิ่งที่พบในงาน คบส.และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในตำบลต้นแบบ RDU เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขยายการพัฒนางาน และสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่าย ผลการดำเนินงาน คบส. คปสอ.ยะหริ่ง ตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2561-62 พบปัญหา ได้แก่ 1. ผู้บริโภคขาดองค์ความรู้ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ จากการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2562 ในตำบลตาแกะ , บางปู และยามูพบผู้ป่วยมีประวัติใช้ยาชุดร้อยละ 41.79 (28/67) ใช้อาหารเสริมที่โฆษณาเกินจริง ร้อยละ 34.32(23/67) 2. ขาดระบบการเฝ้าระวังแบบเชิงรุกที่เป็นรูปธรรม จากผลการเก็บตัวอย่าง ต.ค.-ธ.ค. 62 พบว่า ร้อยละ 68.42 (13/19) ของ รพ.สต.มีการเก็บตัวอย่างยาไม่เหมาะสมส่งตรวจ Steroids Test kits พบร้อยละ 41.79 (28/67) 3. ปี 2562 พบผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ยาไม่เหมาะสมในชุมชน ได้แก่ Cushing syndrome 2 ราย , Fixed drug eruption 2 ราย , GI bleed 1 ราย , สงสัย TEN (ปฏิเสธการรักษาในโรงพยาบาล) 1 ราย 4. ขาดความร่วมมือของเครือข่ายชุมชนในการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่เหมาะสมอย่างเป็ระบบ จากปัญหาดังกล่าว ระบบที่ควรพัฒนาเป็นลำดับแรก คือ การสร้างระบบการเฝ้าระวังเชิงรุก โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เน้นยาไม่ปลอดภัยในชุมชน และเกิดการประสานความร่วมมือของเครือข่ายในการร่วมจัดหาปัญหาอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาต่อโดยอาศัยเครือข่ายตำบลต้นแบบ RDU เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน คบส.ใน คปสอ. ซึ่งในปี 2563 จะขยายเครือข่าย RDU เป็นตำบลตะโละกาโปร์ เนื่องด้วยเป็นตำบลที่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และเครือข่ายมีความพร้อมในการดำเนินงาน และสามารถเป็นต้นแบบภายในโซนได้ การขยายตำบลต้นแบบ RDU จึงเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาชุมชนให้เกิดมิติต่างๆของเครือข่าย  ด้วยมุ่งหวังให้เครือข่าย RDU มีศักยภาพในการเฝ้าระวังยาไม่ปลอดภัยในชุมชน มีรูปแบบจัดการปัญหาโดยวิธีการของชุมชน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพึ่งพา ช่วยเหลือกันภายในเครือข่าย นำไปสู่เป้าหมายร่วมสูงสุด คือ ความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพิ่อสร้างแกนนำเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคเชื่อต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

แกนนำมีความรู้ในการใช้ยาในพื้นที่

1.00
2 2.เพื่อพัฒนาร้านชำในชุมชน ให้มีคุณภาพ ปลอดยาอันตาราย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ร้านค้าในชุมชนมีการขายยาตามประเภทยาที่กฎหมายกำหนด

1.00
3 3.เพื่อเสริมพลังให้แกนนำเครือข่ายสามารถส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลแก่ภาคประชาชนได้

แกนนำสามารถเป็นเครือข่ายในการขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 35,300.00 3 35,300.00
10 มี.ค. 63 - 30 เม.ย. 63 กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพแกนนำRDU เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานRDUในชุมชน 30 16,200.00 16,200.00
1 พ.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 กิจกรรมกที่ 2 พัฒนาร้านชำในชุมชนให้เป็น "ร้านชำคุณภาพ" โดยเครือข่ายชุมชน 50 5,000.00 5,000.00
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 คืนข้อมูลผลการดำเนินงานเพื่อหาโอกาสพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 0 14,100.00 14,100.00
  1. วิธีดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 : พัฒนาศักยภาพแกนนำ RDU เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน RDU ในชุมชน
    1.1 คัดเลือกแกนนำเครือข่าย RDU ในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย แกนนำ 4 เสาหลัก , ผู้นำศาสนา , ผู้นำท้องที่ , โรงเรียนในพื้นที่ , อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เป็นต้น 1.2. จัดทำคำสั่งคณะทำงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล เทศบาลตำบลยะหริ่ง เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน RDU ในชุมชนอย่างชัดเจน 1.3. จัดทำหลักสูตร “ก่อแก่น แกน RDU” เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำ RDU เชื่อมโยงกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ให้สามารถดำเนินการในชุมชนได้ 1.4. อบรม หลักสูตร “ก่อแก่น แกน RDU” จำนวน 2 ครั้ง 1.5. ลงพื้นที่เรียนรู้สถานการณ์ปัญหาการใช้ยาในชุมชน โดยสุ่มเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สำรวจพฤติกรรมการใช้ยา ยาเหลือใช้ ค้นหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน อย่างน้อย 10 case และสุ่มสำรวจร้านชำในชุมชน โดยเครือข่าย
    1.6 ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร เป็นรายบุคคล 1.7 มอบประกาศนียบัตร สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรม เพื่อประกันคุณภาพความรู้ด้าน RDU ที่สามารถบอกต่อแก่คนในชุมชนได้ กิจกรรมที่ 2 : พัฒนาพัฒนาร้านชำในชุมชนให้เป็น “ร้านชำคุณภาพ” โดยเครือข่ายในชุมชน 2.1 ประชุมหารือสถานการณ์ปัญหาการขายยาอันตรายในร้านชำ และวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับเครือข่าย
    2.3 ประชุมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำเกี่ยวกับการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ปลอดภัย เชื่อมโยงกับหลักการทางศาสนา และเกณฑ์การประเมินร้านชำคุณภาพ 2.4 คัดเลือกร้านชำที่มีองค์ประกอบตามเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ อย่างน้อย 1 ร้าน เพื่อพัฒนาให้เป็น “ร้านชำคุณภาพ” โดยเครือข่ายในชุมชน
    2.5 ติดตามความก้าวหน้าของร้านชำในชุมชน โดยเครือข่าย ครั้งที่ 2 2.6 มอบป้าย“ร้านชำคุณภาพ” เพื่อสื่อสารแก่คนในชุมชน กิจกรรมที่ 3 : คืนข้อมูลผลการดำเนินงาน เพื่อหาโอกาสพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 3.1 ประชุมเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
    3.2 ร่วมกำหนดบทบาทหน้าที่ ของแกนนำ RDU เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานต่อที่ชัดเจน 3.3 จัดทำสื่อเพื่อประกอบการให้ความรู้ในชุมชน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีแกนนำ RDU ที่สามารถขับเคลื่อน บอกต่อ แก่คนในชุมชนได้ 2.ชุมชนตื่นรู้เกี่ยวกับRDU 3.ร้านค้าใรชุมชนมีคุณภาพ ปลอดจากยาอันตาราย โดยกลไกเฝ้าระวังของชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 00:00 น.