กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านต้นแบบจัดการขยะ ปราศจากโรคภัย
รหัสโครงการ 63-L8413-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบาลอ
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 40,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดียานา ประจงไสย
พี่เลี้ยงโครงการ นายรูสลาม สาร๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.448,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพปัจจุบันชุมชน บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและประชาชนเพิ่มขึ้นจะมีปัญหาในเรื่องขยะที่นับวัน ปริมาณขยะจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนทำให้ดูแล้วชุมชนบ้านเรือนไม่น่าอยู่อาศัยโดยถ้าไม่มีการจัดการเรื่องสุขาภิบาลในครัวเรือนควบคู่กับการจัดสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะจะส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครัวเรือนทั้งด้านสุขภาพกายและใจได้อีกทั้งทำให้ชุมชนไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดูไม่เป็นระเบียบไม่สะอาดและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น โรคระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำและอาหารเป็นสื่อ หรือสารพิษจากขยะที่เป็นสารเคมี เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้างจึงต้องมีการคัดแยกขยะ ให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นาไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายก็นำเข้าสู่ระบบการทำลายที่ปลอดภัย ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งหรือนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาลต่อไป เมื่อเราทราบว่าขยะรีไซเคิล มีชนิดใดบ้างก็สามารถแยกชนิดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ในครัวเรือน เมื่อนำไปขายก็จะเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นและง่ายต่อการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลประเภทนั้น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑1 และตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล (3) รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล   การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ เช่น การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งอาจได้มาจากประสบการณ์จากการทำงาน การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า จะช่วยให้นำความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์จริงเหล่านั้น มาถ่ายทอดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขในการพัฒนาท้องถิ่นในแนวทางที่ดีขึ้น เพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่นเจริญก้าวหน้าและยั่งยืนตลอดไป
    ดังนั้น หากมีการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ การจัดการขยะอย่างเหมาะสม ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยมีการสร้างแกนนำให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ เทศบาลตำบลบาลอ จึงมีความต้องการที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจการลด คัดแยก นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับแกนนำ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักและเข้าใจการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มมากขึ้น จากแบบสอบถามก่อนและหลัง

0.00
2 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ พาหะนำโรคติดต่อมาสู่ชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 42000 42,000.00 1 40,200.00
10 - 12 ก.ย. 63 กิจกรรมจัดอบรม ให้ความรู้ 42,000 42,000.00 40,200.00
  1. เสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติ
  2. แต่งตั้งคณะทำงาน
  3. การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ
  4. ประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย หมู่ที่ 4,6
  5. ดำเนินการจัดโครงการ 5.1 ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ลดการใช้พลาสติกและกล่องโฟม การใช้แก้วและปิ่นโตส่วนตัว 5.2 พัฒนาศักยภาพแกนนำในชุมชน ทัศนศึกษาดูงานและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 5.3 กิจกรรมจัดอบรม ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับลดและการคัดแยกขยะมูลฝอยจากต้นทางตามหลักการ 3Rs จำนวน 200 คน โดยแบ่งเป็นรุ่นๆละ 50 คน
    5.4 การทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันส่วนราชการ เอกชนและภาคประชาชน เพื่อขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน 5.5 จัดหาถังขยะเพื่อรองรับขยะมูลฝอยจากตลาดนัดในชุมชน จำนวน 3 จุด 5.6 ตรวจสอบและปรับปรุงจุดรวบรวมขยะอันตรายในชุมชน จำนวน 7 จุด 5.7 จัดหาถังขยะแยกประเภทเพื่อรองรับขยะในสถานที่สาธารณะในชุมชน 5.8 จัดทำคู่มือการจัดการขยะมูลฝอยและการนำไปใช้ประโยชน์ 5.9 กิจกรรม Big cleaning Day ถนนสองข้างทาง 5.10 ส่งเสริม/จัดตั้งกลุ่มรับซื้อขยะมูลฝอยในชุมชนโดยคนในชุมชน 5.11 ส่งเสริม/จัดตั้งร้านค้าศูนย์บาท ที่สามารถนำขยะมูลฝอยมาแลกกับสินค้า 5.12 จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชนในด้านการจัดการขยะ 5.13 การจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน
    1. สรุปและประเมินผลกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชน ไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต (way of life) และลดปริมาณขยะมูลฝอยของชุมชนในอนาคต         ๒. ลดการเกิดโรคติดต่อในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2563 15:41 น.