โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวันอันควร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน (ประเภทที่ 2)
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวันอันควร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน (ประเภทที่ 2) |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนควนกาหลงวิทยาคม “นิคมวัฒนา” |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 113,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสุณิสา โรยนรินทร์ ประธานชมรม TO BE NUMBER ONE |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.953,100.03place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กและวัยรุ่นคือวัยที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และ จิตใจ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงในยุคปัจจุบัน อีกทั้งขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา มีการใช้ถุงยางอนามัยในอัตราที่ต่ำอันส่งผลต่อความเสี่ยง การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี/เอดส์ อีกทั้งอันส่งผลให้ไม่สามารถประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อีกทั้งเยาวชนเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งปัจจัยจากตนเอง เพราะเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหาสร้างตัวตนสร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย นอกจากนี้ นักค้ายาเสพติดต่างมองว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีเงิน จึงมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดกับเยาวชนนั้น จะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชน เป็นปัญหาสำคัญซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดให้การการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติด โดยมีแผนการสร้างภูมิคุ้มกัน เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับเยาวชนในสถานศึกษา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องเรียนรู้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา และมีวิธีป้องกันตนเองจากยาเสพติด ซึ่งสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนควนกาหลงวิทยาคม “นิคมวัฒนา” เห็นความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ ยาเสพติด ในกลุ่มเยาวชน เพื่อพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1เพื่อสร้างสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 1.เยาวชนจำนวน 300 คนมีความความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
0.00 | |
2 | 2 เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการท้องก่อนวัยอันควร
|
0.00 | |
3 | 3 เพื่อสร้างทักษะการปฏิเสธการใช้สารเสพติด เยาวชนจำนวน 300 พัฒนาทักษะเยาวชนในการปฏิเสธการใช้สารเสพติด |
0.00 | |
4 | 4 เพื่อสร้างความรู้ และ ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเสพติด
|
0.00 | |
5 | 5 เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของเยาวชน
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
ก. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินงานกิจกรรมและค่าใช้จ่ายดำเนินกิจกรรม
ข. ประสานงานฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ค. จัดประชุมวางแผนคณะทำงานชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนควนกาหลงวิทยาคม “นิคมวัฒนา”และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ง. เตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ ป้ายเวที และสถานที่
ขั้นดำเนินการ
ดำเนินการตามตารางกิจกรรม ( รายละเอียดแนบท้าย )
ประเมินผล
ก. จัดทำแบบประเมิน ความพึงพอใจให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
ข. ประเมินผลการจัดกิจกรรม
ค. สรุปประเมินผล และจัดทำเอกสารสรุปผลงาน
- ลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ในเยาวชน
- ลดอัตราการท้องก่อนวัยอันควร
- พัฒนาทักษะเยาวชนในการปฏิเสธการใช้สารเสพติด
- ลดภาวะเสี่ยงด้านการใช้สารเสพติด
- พัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2563 22:49 น.