กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการดี พัฒนาการเด่น ปี2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตำเสา
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนุูรไอนีย์ อุเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 27,460.00
รวมงบประมาณ 27,460.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 162 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการมีความสำคัญต่อทุกช่วงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะในช่วงเด็ก 0-72 เดือน มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะในวัยนี้ร่างกายและสมองมีความเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านสมองซึ่งเติบโตถึงร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ หากเด็กช่วงวัยนี้ถูกละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่ด้านโภชนาการก็จะส่งผลทำให้ร่างกายและสมองเติบโตช้า ผลที่ตามมาที่เด่นชัดที่สุดคือ เป็นโรคขาดสารอาหาร ทำให้พัฒนาการและการเรียนรู้ล่าช้า หรือด้อยกว่าเด็กปกติที่อยู่ในวัยเดียวกัน และเด็กที่ขาดสารอาหารจะมีผลทำให้ภูมิต้านทานของโรคต่ำ เด็กจะเจ็บป่วยบ่อย เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ประกอบกับในอนาคตเด็กในวัยนี้จะเป็นทรัพยากรคนที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ หากยังบ่อยให้เด็กในวัยนี้ขาดสารอาหารก็จะส่งผลกระทบทุกๆด้าน การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็ก 0-72 เดือนเป็นยุทธศาสตร์ด้านโภชนาการที่สำคัญ เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดี จากรายงานผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน ในทุกหมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตำเสา งวดที่ 1 ปีงบประมาณ 2562 พบว่า เด็กทั้งหมด 178 คน ได้รับการชั่งน้ำหนัก 178 คน คิดเป็นร้อยละ 100 น้ำหนักตามเกณฑ์ 139 คน คิดเป็นร้อยละ 78.08 น้ำหนักค่อนข้างน้อย 22 คน คิดเป็นร้อยละ 12.35น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์17 คน คิดเป็นร้อยละ 9.55 จะเห็นได้ว่าภาวะทุพโภชนาการของเด็ก 0-72 เดือน ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขซึ่งเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อยยังมีกระจายทุกหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตำเสา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็ก และให้เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ติดตามและส่งเสริมโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือนปีงบประมาณ 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มอัตราของเด็กแรกเกิด-72 เดือน มีโภชนาการที่ดีตามเกณฑ์อายุ 2.เพื่อให้เด็ก 0-5ปี มีพัฒนาการสมวัย 3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กด้านโภชนาการ มีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก

1.อัตราของเด็กแรกเกิด-72 เดือนมีส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
2.ร้อยละของเด็ก 9,18,30,42 และ60 เดือนมีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 3.ผู้เข้าอบรม มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กด้านโภชนาการ มีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก มากกว่าร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 189 27,460.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมการจัดอบรมให้ความรู้ 189 27,460.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองเด็กอายุแรกเกิด-72 เดือน และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กด้านโภชนาการมีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการในเด็กและสามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้เด็กๆมีภาวะโภชนาการที่ดีพัฒนาการสมวัย 2.อสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็ก ด้านโภชนาการมีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และสามารถนำความรู้ไปดูแลเด็กๆที่มีภาวะทุพโภชนาการในหมู่บ้านและถ่ายทอดความรู้แก่คนในหมู่บ้านเพื่อให้เด็กๆมีภาวะโภชนาการที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2563 15:20 น.