กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 63-L5211-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 37,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีฟา บิลหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 37,500.00
รวมงบประมาณ 37,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในประเทศจีน และแพร่ระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งอาการโรค คือ มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ
ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ มีหลักฐานการติดต่อจากคนสู่คน พบผู้ป่วยยืนยันในผู้ที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปประเทศจีน แต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก รวม 111 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ และเรือ Diamond Princess ในวันที่ 10 มีนาคม จำนวน 114,571 ราย มีอาการรุนแรง 5,771 ราย เสียชีวิต 4,030 ราย โดยมียอดผู้ป่วยยืนยันใน พื้นที่ที่มีการระบาดอย่างเนื่อง ได้แก่ จีน 80,761รายฮ่องกง 116ราย มาเก๊า10 ราย เกาหลีใต้ 7,513 ราย อิตาลี 9,172 ราย อิหร่าน 7,161 ราย ฝรั่งเศส 1,412 ราย เยอรมนี 1,224 ราย ญี่ปุ่น 543 ราย สิงคโปร์ 160 ราย และ ไต้หวัน 45 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 53 ราย พบผู้เสียชีวิต 1 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓) โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากเชื้อดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ส่วนในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด-๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นมา
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จำเป็นต้องมีการดำเนินการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ ชุมชน สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร ซึ่งรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยง ที่จำเป็นต่อการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในพื้นที่

 

0.00
2 เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ดูแล ติดตาม เฝ้าระวังโรคเบื้องต้น ลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อให้สร้างองค์ความรู้ให้กลุ่มเสี่ยง เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงนำเสนอโครงการ
  2. จัดทำแผนงานโครงการ เพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานตามโครงการฯ
  4. ดำเนินการบูรณาการกับหน่วยงาน ผู้นำชุมชน และกลุ่มองค์กรต่างๆ เช่น รพ.สต.บ้านหาร, อสม., กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
  5. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยง ที่จำเป็นต่อการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในพื้นที่ ๖. คัดกรองกลุ่มเสี่ยง ดูแล ติดตาม เฝ้าระวังโรคเบื้องต้น ลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน ๗.เพื่อให้สร้างองค์ความรู้ให้กลุ่มเสี่ยง เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
    (COVID-๑๙) ๘. ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงาน ๙. ดำเนินการตามโครงการ ๑๐. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. การเฝ้าระวังโรค สามารถลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชนได้ ๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2563 10:46 น.