กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างศักยภาพเด็กวัยเรียน โรงเรียนเทศบาล1บ้านตะลุบัน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L7010-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี งานวัยเรียน
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชนิตา เพื่อนฝูง
พี่เลี้ยงโครงการ นางมัสณี เจ๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ หอประชุมโรงเรียนเทศบาล1 บ้านตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 มี.ค. 2563 30 มิ.ย. 2563 23,100.00
รวมงบประมาณ 23,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้มีความเจริญทางด้านวัตถุ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการดำรงชีวิต ทำให้การดำเนินชีวิตของคนในสังคมมีการเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ผู้ที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จนั้น “ความฉลาดทางอารมณ์ (E.Q.)เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งที่จำเป็นต้อง รับรู้ หรือใช้เทคโนโลยีต่างๆมากขึ้นและกำลังอยู่ในวัยที่มักจะมีปัญหาหลายด้าน ทั้งด้านการเรียน การคบเพื่อน และปัญหาทางครอบครัว หากนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและได้พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จะทำให้นักเรียนมีแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมในการพัฒนาจิตใจ อารมณ์ และทักษะการคิดของตนเอง รวมทั้งมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น อันจะนำไปสู่การดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข องค์ความรู้ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ ด้วยการพัฒนาทักษะสมองที่มากกว่าไอคิว มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับใช้จัดการชีวิตในยุคปัจจุบัน ซึ่งทำให้เด็กไทยรู้จักรับมือกับยุคใหม่ จัดการตัวเองได้ อยู่กับคนอื่นเป็น และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นรากฐานของคนจริงๆ ทักษะพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ (Executive Functions หรือ EF ) เป็นทักษะที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกยอมรับแล้วว่า เป็นทักษะที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต คิดเป็น ทำงานเป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับผู้คนเป็น มุ่งมั่นในการทำสิ่งต่างๆจนลุล่วง และมีความสุขแก้ปัญหาได้ จึงมีความจำเป็นในการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาทักษะความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเด็ก ดังนั้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรีมีแนวคิดที่จะส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยเรียนโรงเรียนเทศบาล1บ้านตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งในการจัดทำโครงการในครั้งนี้ ในฐานะเป็นนักจิตวิทยาจึงเลือกใช้รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพด้านอารมณ์ พฤติกรรมความประพฤติ พฤติกรรมด้านการเรียน/สมาธิและศักยภาพด้านสัมพันธภาพ/ด้านการสื่อสาร อันจะนำไปสู่การปลูกฝังให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้การมีความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อป้องกันปัญหาการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ร้อยละ 90ของเด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

0.00
2 เพื่อฝึกให้เด็กมีจิตใจสงบนิ่ง และมีสมาธิแบบง่ายๆ

ร้อยละ 90ของเด็กสงบนิ่ง และมีสมาธิแบบง่ายๆ

0.00
3 เพื่อให้เด็กรู้จักการมองหาสิ่งดีๆในแต่ละวัน ในชีวิตรอบตัว

ร้อยละ 90ของเด็กรู้จักการมองหาสิ่งดีๆในแต่ละวัน ในชีวิตรอบตัว

0.00
4 เพื่อให้เด็กสามารถแยกแยะพฤติกรรมดีและไม่ดีได้

ร้อยละ 90ของเด็กสามารถแยกแยะพฤติกรรมดีและไม่ดีได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,100.00 0 0.00
??/??/???? 1.กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพด้านอารมณ์ 2.กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพพฤติกรรมความประพฤติ 3.กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพพฤติกรรมด้านการเรียน/สมาธิ 4.กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพศักยภาพด้านสัมพันธภาพ/ด้านการสื่อสาร 0 23,100.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2.เด็กสงบนิ่ง และมีสมาธิแบบง่ายๆ 3.เด็กรู้จักการมองหาสิ่งดีๆในแต่ละวัน ในชีวิตรอบตัว 4.เด็กสามารถแยกแยะพฤติกรรมดีและไม่ดีได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2563 15:37 น.