กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและอสม. ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 63-L5264-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบ
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 59,891.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุนันทา แสงอรุณ (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ทำนบ)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.244885,100.507585place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 59,891.00
รวมงบประมาณ 59,891.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
26.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบ ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 25๕๙ – พ.ศ. 256๑ พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น ๒๖ ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต โดยแยกผู้ป่วยเป็นรายปี ดังนี้ ในปี พ.ศ.25๕๙ มีผู้ป่วยทั้งหมด ๕ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๑๕.๗๗ ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ.256๐มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ๗ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๖๒.๐๗ ต่อประชากรแสนคน และในปี พ.ศ.256๑ มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ๑๔ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๓๒๔.๑๕ ต่อประชากรแสน และในปัจจุบัน ปีงบประมาณ พ.ศ.256๒ ตั้งแต่มกราคม-ธันวาคม พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลทำนบแล้ว ๙ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๐๓.๓๘ ต่อประชากรแสนคน แสดงให้เห็นว่าตำบลทำนบยังมีแนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่
ดังนั้นเป็นการยากที่จะดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพหากจะอาศัยเพียงแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงอย่างเดียวเนื่องจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีอยู่ทั่วไปทั้งในชุมชนและในโรงเรียน ดังนั้นการที่จะป้องกันและควบคุมโรคให้ได้ผลเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน อสม. โรงเรียนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบได้เห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาของโรคไข้เลือดออก จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 59,891.00 2 41,467.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสำรวจลูกน้ำยุงลาย 0 25,391.00 25,291.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมกำจัดยุงลาย ตัวอ่อน/ตัวแก่ 0 34,500.00 16,176.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ชุมชน และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกดี มีการรณรงค์กำจัดลุกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชนครอบคลุม 100 % ทำให้อัตราความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงทุกปี จนเกิดเป็นหมู่บ้าน/ตำบลปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2563 10:15 น.