กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและอสม. ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๓

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและอสม. ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบ

หมู่ที่1-7 ต.ทำนบ อ.สิงหนคร จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

26.00

จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบ ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 25๕๙ – พ.ศ. 256๑ พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น ๒๖ ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต โดยแยกผู้ป่วยเป็นรายปี ดังนี้ ในปี พ.ศ.25๕๙ มีผู้ป่วยทั้งหมด ๕ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๑๕.๗๗ ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ.256๐มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ๗ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๖๒.๐๗ ต่อประชากรแสนคน และในปี พ.ศ.256๑ มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ๑๔ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๓๒๔.๑๕ ต่อประชากรแสน และในปัจจุบัน ปีงบประมาณ พ.ศ.256๒ ตั้งแต่มกราคม-ธันวาคม พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลทำนบแล้ว ๙ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๐๓.๓๘ ต่อประชากรแสนคน แสดงให้เห็นว่าตำบลทำนบยังมีแนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่
ดังนั้นเป็นการยากที่จะดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพหากจะอาศัยเพียงแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงอย่างเดียวเนื่องจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีอยู่ทั่วไปทั้งในชุมชนและในโรงเรียน ดังนั้นการที่จะป้องกันและควบคุมโรคให้ได้ผลเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน อสม. โรงเรียนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบได้เห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาของโรคไข้เลือดออก จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลทำนบ ลดลงเมื่อเทียบกับค่าMEDIAN
ย้อนหลัง 5 ปี/เมือเทียบกับปีก่อน
2. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลุกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชน
3. เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชน
4. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ชุมชน และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทุกหลังคาเรือน 1,123
วัด 4
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 96
โรงเรียน 3

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/10/2019

กำหนดเสร็จ : 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสำรวจลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสำรวจลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในชุมชนและสถานที่สาธารณะ ๑ ครั้ง/เดือน และอสม. ส่งรายงานผลการสำรวจทุกเดือน โดยใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย 2.ส่วนราชการ หน่วยงานทุกองค์กร/สถานที่สาธารณะร่วมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและสถานที่สาธารณะ 2.1 รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชน โดยใช้ทรายที่มีฟอสกำจัดลูกน้ำยุงลาย(กายภาพ ชีวภาพและสารเคมี) ในครัวเรือน วัด โรงเรียนศพด .อบต. และรพสต.
- ร่วมรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและจัด Big Cleaning Day เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 3.พ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ก่อนเปิดเทอม)และในชุมชน (กรณีมีผู้ป่วย)
3.1 ใช้สเปรย์ฉีดยุงในบ้านของผู้ป่วยกรณีที่ไม่สามารถพ่นหมอกควันได้ทันที
3.2 แจกโลชั่นแก่ผู้สัมผัสร่วมบ้านและในกลุ่มที่สงสัยว่าน่าจะป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 4. สุ่มตรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน /สถานที่สาธารณะ ทุก ๑ เดือน
5. จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและแจกแผ่นพับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โดยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ 6. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปในการควบคุมและป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายผ่าน เสียงตามสายอบต.ทุกวันศุกร์ 7. ประชาสัมพันธ์โดยวิธีการใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่(3.5X3.5เมตร) ติดหน้า รพ.สต.ทำนบ และเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน

งบประมาณ 1. แผ่นพับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแบบสี A 4 จำนวน 1,๑๒๓ ครัวเรือนครัวเรือนละ 1 แผ่น ๆ ละ 5 บาทเป็นเงิน 5,615 บาท 2. ถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน อสม.96 คนๆ ละ 1 ใบ จำนวน 12 เดือรวม 1,152 แผ่นๆละ 50 สตางค์เป็นเงิน 576 บาท
3. ค่าสารเคมี(ทรายมีฟอส)กำจัดลูกน้ำยุงลาย 3 ถังๆละ500 ซอง ราคาถังละ 5,000 บาทเป็นเงิน 15,000 บาท 4. ค่าโลชั่นทากันยุงชนิดซอง 5 กรัม ซองละ 8 บาท จำนวน 400 ซองเป็นเงิน 3,200 บาท 5. ป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่จำนวน 1 ป้ายขนาด 3.5X3.5 เมตร เป็นเงินราคา 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ชุมชน และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกดี มีการรณรงค์กำจัดลุกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชนครอบคลุม 100 % ทำให้อัตราความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงทุกปี จนเกิดเป็นหมู่บ้าน/ตำบลปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25391.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมกำจัดยุงลาย ตัวอ่อน/ตัวแก่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกำจัดยุงลาย ตัวอ่อน/ตัวแก่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. น้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดตัวแก่ยุงลาย จำนวน 1 ขวด                                                        เป็นเงิน  1,800 บาท
  2. ค่าสเปรย์ฉีดยุง 60 กระป๋อง x 65 บาท                                                                  เป็นเงิน  3,900 บาท
  3. น้ำมันเบนซินและน้ำมันโซล่า                                                                  เป็นเงิน 16,800 บาท
  4. ค่าจ้างเหมาพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ครั้งละ 300 บาท (เคสละ 2 ครั้ง) จำนวน 20 เคส        เป็นเงิน 12,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ชุมชน และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกดี มีการรณรงค์กำจัดลุกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชนครอบคลุม 100 % ทำให้อัตราความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงทุกปี จนเกิดเป็นหมู่บ้าน/ตำบลปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 59,891.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ชุมชน และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกดี มีการรณรงค์กำจัดลุกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชนครอบคลุม 100 % ทำให้อัตราความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงทุกปี จนเกิดเป็นหมู่บ้าน/ตำบลปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน


>