กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เท่าทันการใช้ยาในการดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนบ้านโคกตีเต
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านโคกตีเต หมู่ที่ ๒
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวราตรีภรณ์ เส้งสีแดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมื่อเกิดความเจ็บป่วยประชาชนส่วนใหญ่จะมีวิธีการรักษาตนเองตามแต่ทัศนคติของแต่ละคน แต่ส่วนมากเลือกที่จะซื้อยามารับประทานเอง ซึ่งเป็นการใช้ยาโดยไม่ผ่านการตัดสินใจของบุคลากรทางการแพทย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการใช้ยารักษาตนเอง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์สากลและเป็นรูปแบบการจัดการปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่งในทุกสังคม และพบว่าพฤติกรรมการซื้อยามากินเองของประชาชนคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของประเทศ การพัฒนาองค์ความรู้ การปรับแนวคิดการดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ชุมชนรู้เท่าทันการใช้ยา   ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านโคกตีเต หมู่ที่ ๒ จัดทำโครงการรู้เท่าทันการใช้ยาในการดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนบ้านโคกตีเตขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อสม.และประชาชน มีความรู้เบื้องต้นในการแยกประเภทของยาเสื่อมสภาพ ยาเหลือใช้ ยาหมดอายุ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลในชุมชน

1.ร้อยละ 85 ของกลุ่มเสี่ยงสามารถหลีกเลี่ยงการซื้อยาใช้เอง

0.00
2 ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและการตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพ

2.ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและการตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพ

0.00
3 ร้านชำในชุมชนบ้านโคกตีเต ไม่มีการขายยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ

3.ร้อยละ 100 ร้านชำในชุมชนบ้านโคกตีเต ไม่มีการขายยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,200.00 0 0.00
??/??/???? 1.ประชุมชี้แจงคณะกรรมการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านโคกตีเต หมู่ที่ 2 0 750.00 -
??/??/???? 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ อสม.และประชาชน เรื่องยาและเครื่องสำอาง และ กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง....แก่ตัวแทนผู้ประกอบการร้านชำ เรื่อง อย. ยา และเครื่องสำอาง 0 16,800.00 -
??/??/???? 3.ติดป้ายไวนิลอันตรายจากสเตียรอยด์ในชุมชน 0 1,650.00 -

ขั้นเตรียมการ

1.จัดประชุมปรึกษารูปแบบของโครงการชี้แจงเจ้าหน้าที่

2.จัดทำแผนปฏิบัติการตามโครงการ

3.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ

ขั้นดำเนินการ

1.จัดประชุมชี้แจงคณะทำงานเรื่องโครงการและเพื่อแบ่งหน้าที่

2.ประชาสัมพันธ์โครงการ

3.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย

4.ติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5.จัดเตรียมบุคคล อุปกรณ์ สถานที่ วันเวลาตอบรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ

6.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังนี้

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

-อบรมให้ความรู้เรื่องการยา โดยมี อสม.และประชาชน จำนวน 75 คน
กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ร้านชำ

-อบรมให้ความรู้เรื่องเรื่อง อย./ ยา และเครื่องสำอาง.แก่ตัวแทนผู้ประกอบการร้านชำ

7.ติดป้ายไวนิลอันตรายจากสเตียรอยด์ในชุมชน

8.สรุปและประเมินกิจกรรมในโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถหลีกเลี่ยงการซื้อยาใช้เอง

2.ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและการตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพ

3.ร้านชำในชุมชนบ้านโคกตีเต ไม่มีการขายยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2563 10:39 น.