กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 63-L5211-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด เทศบาลตำบลบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 250,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุลียพร ศรประไพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 250,000.00
รวมงบประมาณ 250,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และจากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 27 มีนาคม 2563 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก รวม 196 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ เรือ Diamond Princess และเรือ Grands Princess รวมจำนวน 540,832 ราย
มีอาการรุนแรง 19,883 ราย เสียชีวิต 24,293 ราย และสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1,136 ราย รักษาหายและแพทย์ให้กลับ บ้าน 97 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต 5 ราย ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health Emergency of international Concern) เนื่องจากมีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น และพบผู้ป่วยในหลายพื้นที่ ตลอดจนมีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คนภายในประเทศ จึงเป็นเหตุผลสำคัญให้ทางองค์การอนามัยโลกได้ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก เพื่อยกระดับการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด-๑๙ เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นมา เทศบาลตำบลบ้านหารเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่งที่มีบทบาทหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริการส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ จึงเห็นควรให้มีการบูรณาการทุกภาคส่วนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หน่วยงานราชการ ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านหาร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันโรค

 

0.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงนำเสนอโครงการ
  2. จัดทำแผนงานโครงการ เพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน
  3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานตามโครงการฯ
  4. ดำเนินการบูรณาการกับหน่วยงาน ผู้นำชุมชน และกลุ่มองค์กรต่างๆ เช่น รพ.สต.บ้านหาร, อสม., กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน, ชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ
  5. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) รวมทั้งคัดกรองและเฝ้าระวังประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในหมู่บ้าน
  6. กิจกรรม Big Cleaning พื้นที่เสี่ยง เช่น สถานที่ราชการ, โรงเรียน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, วัด, มัสยิด, สำนักงานเทศบาล ฯลฯ
  7. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสามารถป้องกันและเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันโรค
  3. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2563 09:43 น.