กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต


“ โครงการตำบลปันแตร่วมใจ รณรงค์คัดแยกขยะ ”

หมู่ที่ 6 บ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางดารุณี แก้วมาก

ชื่อโครงการ โครงการตำบลปันแตร่วมใจ รณรงค์คัดแยกขยะ

ที่อยู่ หมู่ที่ 6 บ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 17/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการตำบลปันแตร่วมใจ รณรงค์คัดแยกขยะ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 6 บ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการตำบลปันแตร่วมใจ รณรงค์คัดแยกขยะ



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และตระหนักในการจัดการขยะ 2.เพื่อให้ครัวเรือมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ 3.เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน (2) เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผน ดำเนินงานร่วมกัน (2) ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะ  ในชุมชน (3) สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ รวม 2 ครั้ง (4) ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย (5) อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ (6) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน (7) เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ” (8) จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎกติกาของชุมชน ขอมติและประกาศใช้ในชุมชน (9) ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกัน    เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในชุมชนทุกระดับชั้น ลักษณะของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธี หรือมีขยะมากจนไม่สามารถดำเนินการจัดเก็บ หรือเก็บขน หรือกำจัดให้หมดในวันเดียว  ขยะจึงตกค้างในชุมชน ซึ่งสาเหตุหลัก คือ การเพิ่มอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นและเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ชุมชนหมู่ที่ 6 บ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 227 ครัวเรือน นับเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่ประสบปัญหาการจัดการขยะในชุมชน จากการสำรวจปริมาณขยะของชุนบ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า มีปริมาณขยะของแต่ละครัวเรือนประมาณ 6 กิโลกรัม/สัปดาห์ แยกชนิดเป็นขยะแห้ง 2 กิโลกรัม ขยะเปียก 3.8 กิโลกรัม และขยะอื่น ๆ 0.2 กิโลกรัม จากการที่ประชาชนยังขาดความรู้ขาดแนวทางการจัดการขยะที่ถูกต้อง จึงทำให้มีปัญหาขยะเพิ่มขึ้นมากขึ้น โดยจากผลการศึกษาของชุมชนพบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่คัดแยกขยะไม่ถูกวิธี ขยะก็จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่าง ๆ ซึ่งพบว่าครัวเรือนมีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่าง ๆ ร้อยละ 93.12 ซึ่งส่งผลกระทบกับคนในครอบครัว เช่น โรคไข้เลือดออก ซึ่งพบว่าในชุมชนบ้านในไร่ หมู่ที่ 6  บ้านในไร่ มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งโรคไข้เลือดออกนั้นมีความรุนแรงที่อาจจะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้
ทางชุมชนบ้านในไร่ หมู่ที่ 6 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการจัดการขยะในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้/ความตระหนัก และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดขยะที่ถูกต้องตลอดจนลดปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้การคัดแยกขยะในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้นำไปสู่ขั้นตอนปฏิบัติระดับบุคคล และครอบครัว โดยการคัดแยกขยะตามประเภทต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย โดยมีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะรีไซเคิล การผลิตน้ำหมักจากขยะอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษผักและเศษอาหาร เป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่เพื่อทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญชุมชนมีกฎกติกาด้านการลดขยะที่เริ่มจากตัวเรา จะเป็นตัวปลูกฝังระดับปัจเจกบุคคล หากมีการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ย่อมเกิดผลให้ชุมชนมีปริมาณขยะที่ลดน้อยลง สามารถเป็นชุมชนนำร่องด้านการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตามนโยบายเมืองพัทลุง เมืองสีเขียว ต่อไปและลดปัญหาของโรคไข้เลือดออกได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และตระหนักในการจัดการขยะ 2.เพื่อให้ครัวเรือมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ 3.เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผน ดำเนินงานร่วมกัน
  2. ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะ ในชุมชน
  3. สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ รวม 2 ครั้ง
  4. ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย
  5. อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์
  6. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน
  7. เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ”
  8. จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎกติกาของชุมชน ขอมติและประกาศใช้ในชุมชน
  9. ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 50 ครัวเรือน 2.ครัวเรือนสามารถลงมือปฏิบัติบันทึกระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 ครัวเรือน 3.ครัวเรือนไม่น้อยกว่า 50 หลังคาเรือนมีการคัดแยกขยะ 4.มีครัวเรือนต้นแบบเกิดขึ้นอย่างน้อย 10 ครัวเรือน 5.มีการรวบรวมขยะส่งขายเดือนละ 1 ครั้ง 6.ชุมชนมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน อย่างน้อย 3 เรื่่อง 7.ปริมาณขยะในชุมชนหลังดำเนินการน้อยกว่าก่อนดำเนินการ ร้อยละ80


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผน ดำเนินงานร่วมกัน

วันที่ 1 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผน ดำเนินงานร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานมีความเข้าใจโครงการและวางแผน ดำเนินงานร่วมกัน

 

25 0

2. ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะ ในชุมชน

วันที่ 5 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะ    ในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.ชุมชนร่วมกันกำหนดข้อตกลงด้านการลดขยะ          ในชุมชน ดังนี้ 1.ไม่ทิ้งขยะในเขตชุมชน 2. มีกิจกรรมรณรงค์  พัฒนา ปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณครัวเรือน  ชุมชน ที่สาธารณะอย่างน้อย เดือนละ    1 ครั้ง 3. ทุกครัวเรือนลดการใช้ถุงพลาสติก โดยใช้ตะกร้าแทน 4. รณรงค์ให้ทุกครัวเรือนมีภาชนะเก็บขยะอย่างเพียงพอ

 

25 0

3. สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ รวม 2 ครั้ง

วันที่ 8 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ  รวม 2 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทราบปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ

 

0 0

4. ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย

วันที่ 11 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครัวเรือนมีความรู้ความสามารถระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 ครัวเรือน

 

0 0

5. เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ”

วันที่ 6 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ”

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ”

 

100 0

6. จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎกติกาของชุมชน ขอมติและประกาศใช้ในชุมชน

วันที่ 3 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง  เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎกติกาของชุมชน ขอมติและประกาศใช้ในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชุมชนร่วมกันกำหนดข้อตกลงด้านการลดขยะในชุมชน ดังนี้ 1.ไม่ทิ้งขยะในเขตชุมชน 2. มีกิจกรรมรณรงค์  พัฒนา ปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณครัวเรือน  ชุมชน ที่สาธารณะอย่างน้อย เดือนละ    1 ครั้ง 3. ทุกครัวเรือนลดการใช้ถุงพลาสติก โดยใช้ตะกร้าแทน 4. รณรงค์ให้ทุกครัวเรือนมีภาชนะเก็บขยะอย่างเพียงพอ

 

60 0

7. ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

วันที่ 28 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีครัวเรือนตันแบบ จำนวน 10 ครัวเรือน ดังนี้ 1.นางสัมภาษฎ์  มากแสง 2.นางเพ็ญศรี  ดวงจันทร์ 3.นางเกษร  เพ็งบูรณ์ 4.นางปิยนุช  หนูบุญมาก 5.นางบัวศรี มากแก้ว 6.นางจำนงค์  ดำลม 7.นางมณี  ทองแดง 8.นางอาภรณ์  สุขรุ่ง 9.นางสาวเสาวลักษณ์  บุญจันแก้ว 10.นางเสหี่ยม  คงไข่ศรี

 

0 0

8. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครัวเรือนมีความรู้ความสามารถระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 ครัวเรือน

 

55 0

9. อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครัวเรือนมีความรู้ความสามารถระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 ครัวเรือน

 

55 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลลัพธ์ 1.ปริมาณขยะในชุมชนหลังดำเนินการลดลงร้อยละ 85 2.ครัวเรือนครัวเรือนมีความรู้ความสามารถระบุวิธีการคัดแยกขยะ จำนวน 56 ครัวเรือน 3.ชุมชนร่วมกันกำหนดข้อตกลงด้านการลดขยะในชุมชน ดังนี้     1.ไม่ทิ้งขยะในเขตชุมชน     2. มีกิจกรรมรณรงค์ พัฒนา ปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณครัวเรือน ชุมชน ที่สาธารณะอย่างน้อย เดือนละ  1 ครั้ง     3. ทุกครัวเรือนลดการใช้ถุงพลาสติก โดยใช้ตะกร้าแทน     4. รณรงค์ให้ทุกครัวเรือนมีภาชนะเก็บขยะอย่างเพียงพอ 4.มีครัวเรือนตันแบบ จำนวน 10 ครัวเรือน ดังนี้ 1.นางสัมภาษฎ์ มากแสง 2.นางเพ็ญศรี ดวงจันทร์ 3.นางเกษร เพ็งบูรณ์ 4.นางปิยนุช หนูบุญมาก 5.นางบัวศรี มากแก้ว 6.นางจำนงค์ ดำลม 7.นางมณี ทองแดง 8.นางอาภรณ์ สุขรุ่ง 9.นางสาวเสาวลักษณ์ บุญจันแก้ว 10.นางเสหี่ยม คงไข่ศรี 3. ระยะเวลาดำเนินการ 1. กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผน ดำเนินงานร่วมกัน เดือนมิถุนายน 2563 2. กิจกรรม ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะ ในชุมชนเดือนมิถุนายน 2563 3. กิจกรรม สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ รวม 2 ครั้ง
เดือนมิถุนายน 2563 4. กิจกรรม ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย เดือนมิถุนายน 2563 5. กิจกรรม อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ ประโยชน์ เดือนกรกฎาคม 2563 6. กิจกรรม รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง เดือนกรกฎาคม 2563 7. กิจกรรม เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ”
เดือนสิงหาคม 2563 8. กิจกรรมจัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยก ร่างกฎ เดือนสิงหาคม 2563 9. กิจกรรมประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ เดือนสิงหาคม 2563 4. สถานที่ดำเนินการ . 1. หมู่ที่ 6 บ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนปันแต 3. โรงเรียนวัดควนปันตาราม 4. วัดควนปันตาราม 5. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ  36,255 บาท
    งบประมาณเบิกจ่ายจริง  33,895 บาท  คิดเป็นร้อยละ 93.49 งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ 2,360 บาท  คิดเป็นร้อยละ 6.51
รายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมคณะทำงาน จำนวน 25 คน x 1 มื้อ x 25 บาท  เป็นเงิน 625 บาท รวมเป็นเงิน 625 บาท (หกร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน) 2. กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะ  ในชุมชน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน x 1 มื้อ x 25 บาท  เป็นเงิน 625 บาท - ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบสอบถาม จำนวน 180 แผ่น ๆ ละ 0.50 บาท  เป็นเงิน 90 บาท รวมเป็นเงิน 715 บาท (เจ็ดร้อยสิบห้าบาทถ้วน) 3. กิจกรรมที่ 3 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ รวม 2 ครั้ง -ไม่มีค่าใช้จ่าย – 4. กิจกรรมที่ 4 ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย -ไม่มีค่าใช้จ่าย – 5. กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ - ค่าวัสดุในการสาธิตน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 4 ชุด ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าจ้างทำตะแกรงเหล็กกำหนดจุดคัดแยกขยะรวมของหมู่บ้าน จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร มีรายละเอียดดังนี้ - พิทยา ทองหนูนุ้ย  จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท - นางจุฬา รักใหม่ จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - นายสุรพล บุตรวงษ์ จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด จำนวน 55 คน x1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท - ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด จำนวน 55 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท รวมเป็นเงิน 16,000 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน) 6. กิจกรรมที่ 6 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชาสัมพันธ์ จำนวน 55 คน x 3 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 4,125 บาท - ค่าจ้างทำไวนิลรณรงค์การคัดแยกขยะ จำนวน 4 ป้าย ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,125 บาท (หกพันหนึ่งร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน) 7. กิจกรรมที่ 7 เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ” - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมสรุปบทเรียน จำนวน 100 x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท รวมเป็น  2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน) 8 กิจกรรมที่ 8 จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎกติกาของชุมชน ขอมติและประกาศใช้ในชุมชน - ค่าป้ายไวนิลประกาศมาตรการของหมู่บ้านพร้อมโครงไม้ จำนวน 4 ป้าย ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 60 คน x 1 มื้อ x 25 บาท  เป็นเงิน 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 3,900 บาท (สามพันเก้าร้อยบาทถ้วน) 9. กิจกรรมที่ 9 ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ - ค่าอาหารกลางวันคณะกรรมการตรวจประเมินบ้านต้นแบบด้านการจัดการขยะ จำนวน 5 คน x 2 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการตรวจประเมินบ้านต้นแบบ จำนวน 5 คน x 4 มื้อ x  25 บาท เป็นเงิน 500 บาท - ค่าของรางวัลครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 10 หลังคาเรือน ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินบ้าน จำนวน 60 แผ่น ๆ ละ 0.50 บาท เป็นเงิน 30 บาท รวมเป็นเงิน 4,030 บาท (สี่พันสามสิบบาทถ้วน)
        รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 33,895 บาท (สามหมื่นสามพันแปดร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน) 6. ผลที่คาดว่าได้รับ 1. ปริมาณขยะในชุมชนหลังดำเนินการน้อยกว่าก่อนดำเนินการร้อยละ 80 2. ครัวเรือนมีความรู้ความสามารถระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 ครัวเรือน 3. ชุมชนร่วมกันกำหนดข้อตกลงด้านการลดขยะในชุมชน 4. มีครัวเรือนต้นแบบเกิดขึ้นอย่างน้อย 10 ครัวเรือน ปัญหา/อุปสรรค ระยะเวลาการดำเนินโครงการน้อยช่วงการระบาดของโรค COVID 19

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และตระหนักในการจัดการขยะ 2.เพื่อให้ครัวเรือมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ 3.เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 50 ครัวเรือน 2.ครัวเรือนสามารถลงมือปฏิบัติบันทึกระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 ครัวเรือน 3.ครัวเรือนไม่น้อยกว่า 50 หลังคาเรือนมีการคัดแยกขยะ 4.มีครัวเรือนต้นแบบเกิดขึ้นอย่างน้อย 10 ครัวเรือน 5.มีการรวบรวมขยะส่งขายเดือนละ 1 ครั้ง 6.ชุมชนมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน อย่างน้อย 3 เรื่่อง 7.ปริมาณขยะในชุมชนหลังดำเนินการน้อยกว่าก่อนดำเนินการ ร้อยละ80
1.00

 

2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ
ตัวชี้วัด : จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
50.00 50.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และตระหนักในการจัดการขยะ 2.เพื่อให้ครัวเรือมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ 3.เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน (2) เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผน ดำเนินงานร่วมกัน (2) ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะ  ในชุมชน (3) สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ รวม 2 ครั้ง (4) ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย (5) อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ (6) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน (7) เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ” (8) จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎกติกาของชุมชน ขอมติและประกาศใช้ในชุมชน (9) ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการตำบลปันแตร่วมใจ รณรงค์คัดแยกขยะ จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางดารุณี แก้วมาก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด