กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพื่อการคัดกรองโรค COVID-19 ในเขตตำบลนาเมืองเพชร และบริเวณตลาดนัดเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพื่อการคัดกรองโรค COVID-19 ในเขตตำบลนาเมืองเพชร และบริเวณตลาดนัดเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
รหัสโครงการ 63-L1523-5-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 60,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธัชชัย สุขยัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์สที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) โดยในประเทศไทย ณ วันที่ 8 เมษายน 2563 พบผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่ม 11 ราย ติดเชื้อสะสม        2,369 รายรักษาหาย 888 ราย และเสียชีวิตแล้วจำนวน 30 ราย จากเหตุการณ์ดังกล่าว กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้แจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 เพื่อดำเนินการตามมาตรการยับยั่งการระบาดโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานที่ที่ประชาชนใช้บริการจำนวนมาก ประกอบกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้มีคำแนะนำด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคารสาธารณะและสถานประกอบการในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้ 1. จัดให้มีจุดคัดกรองผู้รับบริการ ผู้ปฏิบัติงาน ผู้อยู่อาศัยในอาคาร และให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มาใช้บริการ 2. จัดให้มีอุปกรณ์ทำความสะอาดและอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค 3. กรณีที่เป็นร้านอาหารหรือมีการจำหน่ายอาหารหรือ โรงอาหาร ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล 4.การให้ความรู้ คำแนะนำ และสื่อประชาสัมพันธ์ และ5. การป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่อาศัยในสถานที่นั้น สำหรับการดำเนินงานสาธารณสุขเทศบาลตำบลนาเมืองเพชรที่ผ่านมาได้จัดทำและดำเนินโครงการการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปบางส่วนแล้ว เป็นเงินงบประมาณโครงการ 72,839 บาท แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังไม่คลี่คลายลงและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ ทางด้านงานสาธารณสุขเทศบาลตำบลนาเมืองเพชรจึงได้เล็งเห็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบัน พบว่าภาคใต้ 5 อันดับแรกที่มีผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันมากที่คือจังหวัดภูเก็ตรองลงมาคือ สงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสตูล ตามลำดับ เหตุการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวทำให้ในแต่ละพื้นที่มีการเฝ้าระวังโรคมากขึ้นและมีประชาชนทยอยกลับภูมิลำเนาเดิมเยอะขึ้น ซึ่งสถานการณ์ในจังหวัดตรังข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2563 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 3 ราย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 6 ราย และผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 149 ราย จากกการลงปฏิบัติงานในพื้นพบว่ามีประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการคัดกรองโรค COVID-19 เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและการป้องกันของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพื่อการคัดกรองโรค COVID-19 ในเขตตำบลนาเมืองเพชร และบริเวณตลาดนัดเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร เพื่อเป็นการจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นที่ใช้ในการเฝ้าระวังการคัดกรองบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ตลอดจนจัดหาอุปกรณ์ป้องกันสำหรับผู้ปฏิบัติงานเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน และสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้และให้คำแนะนำในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ 2. เพื่อเฝ้าระวังบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยงได้รับการคัดกรอง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3. เพื่อเฝ้าระวังบุคคลที่มาติดต่อราชการ ณ สำนักงานเทศบาลนาเมืองเพชรได้รับการคัดกรอง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  1. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้และให้คำแนะนำในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรองและได้รับการดูแลติดตามเพื่อเฝ้าระวังของการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
  3. ประชาชนที่มาติดต่อราชการ ณ เทศบาลตำบลนาเมืองเพชรได้รับการตรวจคัดกรองและได้รับการดูแลติดตามเพื่อเฝ้าระวังของการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 10000 60,500.00 2 60,500.00
1 เม.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยง บุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยงขึ้นทะเบียนกับผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคของพื้นที่ เพื่อรับการประเมินสภาวะสุขภาพ 5,000 55,500.00 55,500.00
1 เม.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 5,000 5,000.00 5,000.00

3.1 ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์จำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 3.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ 3.3 ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ 2. ให้ความรู้และให้คำแนะนำกับประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) 3. เฝ้าระวังบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยงได้รับการคัดกรอง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อ             ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 4. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 5. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

3.3 ระยะประเมินผล 1. ประเมินผลจากการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 2. ประเมินผลจากการเข้าใจและตระหนักถึงความร้ายแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) และสามารถปฏิบัติตนเองเพื่อการป้องกันโรคได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้และคำแนะนำในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  2. บุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยงได้รับการคัดกรอง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2563 08:54 น.