กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้27 เมษายน 2564
27
เมษายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

สอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ23 กันยายน 2563
23
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เสริมการประกอบอาหารให้กับผู้ปกครองและนักเรียนโดยการทำกิจกรรมร่วมกัน

  2. สอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

ครั้งที่ 1

  • เมนูโจ๊กไข่ดาว

  • เมนูสลัดผัก ผลไม้

ครั้งที่ 2

  • ไอศกรีมกล้วยหอม
  • เกี๊ยวน้ำลอยทะเล
  • ลูกชิ้นสายรุ้ง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพให้กับนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 12 คน นักเรียนเกินเกณฑ์ 28 คน และผู้ปกครอง จำนวน 40 คน ผลการดำเนินการพบว่า นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์22 กันยายน 2563
22
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

  1. แจ้งให้ผู้บริหารโรงเรียนทราบถึงข้อมูลและปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ( ผอม เตี้ย ) และเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ (ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน)

  2. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบถึงภาวะทุพโภชนาการ (ผอม เตี้ย) ในเด็กนักเรียน แนะนำในเรื่องการเพิ่มปริมาณอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์ในแต่ละวันให้เด็กทาน ส่งเสริมให้เด็กทานสารอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน เพิ่ม รวมทั้งผัก/ผลไม้ ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายทุกวัน และผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ (ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน) การควบคุมปริมาณอาหารในแต่ละวันให้เด็กทาน ส่งเสริมให้เด็กทานผัก/ผลไม้ และส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายทุกวัน

  3. โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริม เพื่อแก้ไขเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ ดังนี้

    3.1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

  • ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก พร้อมทั้งจัดทำปฏิทินอาหาร และสอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์

  • สร้างแกนนำ อสม.น้อย ในโรงเรียน เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังด้านสุขภาพ และอบรมให้ความรู้กับ อสม.น้อย

  • แกนนำ อสม.น้อยร่วมกับคณะครู ติดตามพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและบันทึกผล เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง

  • แกนนำ อสม.น้อย รายงานผลการติดตามและแจ้งให้คณะครูทราบ พร้อมทั้งลงเยี่ยมบ้านนักเรียนและแจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ

  • นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารทุกชั้นเรียน

  • โรงเรียนขอความร่วมมือจากร้านค้า สหกรณ์ จำหน่ายอาหารคุณภาพให้กับนักเรียน

    3.2 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียน

  • สร้างแกนนำนักเรียน เพื่อเป็นแกนนำในการออกกำลังกายให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

  • โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กปลูกผักปลอดสารพิษ

  • ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เช่น เก็บขยะ รดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาดห้องน้ำ อาคารเรียน เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

1.1อบรมให้ความรู้แก่ผ็ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 12 คน นักเรียนเกินเกณฑ์ 28 คน และผู้ปกครอง จำนวน 40 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม ผลการดำเนินการพบว่า

  • เด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หลังการดำเนินโครงการ พบว่า มีเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 40

  • เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีน้ำหนักลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 45

  • นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

1.2สร้างแกนนำ อสม.น้อย ในโรงเรียน เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังด้านสุขภาพ และอบรมให้ความรู้กับ อสม.น้อย จำนวน 20 คน ร่วมกับคณะครู ติดตามพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและบันทึกผล รายงานผลการติดตามและแจ้งให้คณะครูทราบ

2.การส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียน

  • มีการแต่งตั้งแกนนำนักเรียนในการออกกำลังกายตอนเช้าให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

  • โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กปลูกผักปลอดสารพิษ

  • ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ได้แก่ เก็๋บขยะ รดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาดห้องน้ำ อาคารเรียน

ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก21 กันยายน 2563
21
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ตรวจสุขภาพช่องปากโดยบุคลากรสาธารณสุขหรือครู อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่งต่อนักเรียนเพื่อรับบริการทันต กรรม โดยคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาโรคในช่องปาก และประสานกับเจ้าหน้าที่และผู้ปกครองในการพาเด็กไปรับบริการหรือเชิญเจ้าหน้าที่มาให้บริการเพื่อส่งต่อ

  2. ควบคุมอาหารหรือขนมที่เป็นอันตรายต่อฟัน โดยการลดหรืองดการขายขนม/เครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อฟันในโรงเรียน และร้านค้าบริเวณโรงเรียน

  3. แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

  4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน สร้างความตระหนักให้แก่ผู้ปกครอง ครอบครัว และชุมชน ถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กโดยเฉพาะการแปรงฟันก่อนนอน ควบคุมหรือลดปริมาณการกินขนม/เครื่องดื่มของเด็ก

  5. ประกวด นักเรียนฟันดี เพื่อยกย่องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

  6. จัดทำป้ายทันตสุขศึกษา ขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธีติดบริเวณจุดที่แปรงฟัน และจัดทำป้ายกติกาของโรงเรียนเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100 โดยการใช้แบบสำรวจภาวะฟันผุและเหงือกอักเสบของนักเรียน

  • นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟันและโรคฟันผุลดลง

ส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียน1 กรกฎาคม 2563
1
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดหลักสูตรอบรมนักเรียนที่เข้าใหม่ ชั้น ป.1 และหลักสูตรอบรมฟื้นฟูสำหรับนักเรียนเก่า ชั้น ป.2 – 6 ร่วมกับผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.1 เกี่ยวกับหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ และฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพของตัวเอง

  2. จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล จัดอาคาร สถานที่ ให้ร่มรื่น สะอาดเป็นระเบียบ น่าอยู่ ปลอดภัย ใช้หลัก Green /Clean/Safety จัดห้องน้ำ ห้องส้วมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะตามแนวดำเนินงานส้วมสุขสันต์ และการรักษาความสะอาด การกำจัดขยะที่ถูกวิธี

  3. ตรวจสุขภาพนักเรียนก่อน – หลังดำเนินโครงการ

  4. จัดทำป้ายขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้อง

  5. จัดตั้งชมรมออกกำลังกายประจำโรงเรียนเพื่อเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนและผู้ปกครอง ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองตามหลักสุขอนามัย

  2. นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 90

ประชุมคณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน26 มิถุนายน 2563
26
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมครั้งที่ 1 ชี้แจงรายละเอียดโครงการ งบประมาณและกิจกรรม ปรึกษาหารือวางแผนการดำเนินงานโครงการ
  2. ประชุมครั้งที่ 2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ปัญหาสุขภาพของนักเรียน เพื่อหาแนวทางแก้ไข และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไสใหญ่ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 และวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 2 ครั้ง ประชุมเรื่องการจัดโครงการไสใหญ่วัยใส ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2563 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน ผลการประชุม คณะกรรมการมีมติให้ความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ร้อยละ 100 ให้สามารถจัดกิจกรรมดังกล่าวได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในโครงการ ภายใต้มาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19