กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการไสใหญ่วัยใส ใส่ใจสุขภาพ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์22 กันยายน 2563
22
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

  1. แจ้งให้ผู้บริหารโรงเรียนทราบถึงข้อมูลและปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ( ผอม เตี้ย ) และเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ (ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน)

  2. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบถึงภาวะทุพโภชนาการ (ผอม เตี้ย) ในเด็กนักเรียน แนะนำในเรื่องการเพิ่มปริมาณอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์ในแต่ละวันให้เด็กทาน ส่งเสริมให้เด็กทานสารอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน เพิ่ม รวมทั้งผัก/ผลไม้ ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายทุกวัน และผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ (ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน) การควบคุมปริมาณอาหารในแต่ละวันให้เด็กทาน ส่งเสริมให้เด็กทานผัก/ผลไม้ และส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายทุกวัน

  3. โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริม เพื่อแก้ไขเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ ดังนี้

    3.1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

  • ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก พร้อมทั้งจัดทำปฏิทินอาหาร และสอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์

  • สร้างแกนนำ อสม.น้อย ในโรงเรียน เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังด้านสุขภาพ และอบรมให้ความรู้กับ อสม.น้อย

  • แกนนำ อสม.น้อยร่วมกับคณะครู ติดตามพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและบันทึกผล เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง

  • แกนนำ อสม.น้อย รายงานผลการติดตามและแจ้งให้คณะครูทราบ พร้อมทั้งลงเยี่ยมบ้านนักเรียนและแจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ

  • นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารทุกชั้นเรียน

  • โรงเรียนขอความร่วมมือจากร้านค้า สหกรณ์ จำหน่ายอาหารคุณภาพให้กับนักเรียน

    3.2 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียน

  • สร้างแกนนำนักเรียน เพื่อเป็นแกนนำในการออกกำลังกายให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

  • โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กปลูกผักปลอดสารพิษ

  • ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เช่น เก็บขยะ รดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาดห้องน้ำ อาคารเรียน เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

1.1อบรมให้ความรู้แก่ผ็ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 12 คน นักเรียนเกินเกณฑ์ 28 คน และผู้ปกครอง จำนวน 40 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม ผลการดำเนินการพบว่า

  • เด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หลังการดำเนินโครงการ พบว่า มีเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 40

  • เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีน้ำหนักลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 45

  • นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

1.2สร้างแกนนำ อสม.น้อย ในโรงเรียน เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังด้านสุขภาพ และอบรมให้ความรู้กับ อสม.น้อย จำนวน 20 คน ร่วมกับคณะครู ติดตามพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและบันทึกผล รายงานผลการติดตามและแจ้งให้คณะครูทราบ

2.การส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียน

  • มีการแต่งตั้งแกนนำนักเรียนในการออกกำลังกายตอนเช้าให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

  • โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กปลูกผักปลอดสารพิษ

  • ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ได้แก่ เก็๋บขยะ รดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาดห้องน้ำ อาคารเรียน