กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการดำเนินโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 270 คน ผลการดำเนินโครงการไสใหญ่วัยใสใส่ใจสุขภาพ จากการประเมินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน

  • จากการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไสใหญ่ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 และวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 2 ครั้ง ประชุมเรื่องการจัดโครงการไสใหญ่วัยใส ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2563 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน ผลการประชุม คณะกรรมการมีมติให้ความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ร้อยละ 100 ให้สามารถจัดกิจกรรมดังกล่าวได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในโครงการ ภายใต้มาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19

กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์

  • เด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หลังการดำเนินโครงการ พบว่า มีเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 40

  • เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีน้ำหนักลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 45

  • นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

  • นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100 โดยการใช้แบบสำรวจภาวะฟันผุและเหงือกอักเสบของนักเรียน

  • นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟันและโรคฟันผุลดลง

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียน

  • นักเรียนและผู้ปกครอง ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองตามหลักสุขอนามัย

  • นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 90

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้รับการส่งเสริมและแก้ไขให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ตัวชี้วัด : 1. เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ 2. เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ 3. นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00 40.00

 

2 เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการส่งเสริม แก้ไขและรักษาที่ถูกวิธี และมีจำนวนลดลง
ตัวชี้วัด : 1. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100 2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟันและโรคฟันผุลดลง
0.00 100.00

 

3 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง
ตัวชี้วัด : 1. นักเรียนและผู้ปกครอง ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองตามหลักสุขอนามัย 2. นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น
0.00 90.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 126 126
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 116 116
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ครู 10 10

บทคัดย่อ*

โรงเรียนบ้านไสใหญ่ ได้ให้ความตระหนักและใส่ใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและบริเวณชุมชนรอบข้าง ทั้งในเรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและบริเวณโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งการมีสภาพแวดล้อมที่ดีจะส่งผลที่ดีกับนักเรียน และโรงเรียนได้เฝ้าระวังเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียนมาตลอด ส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไข ป้องกัน ให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี มีพัฒนาการที่สมวัย แม้ว่าที่ผ่านมาโรงเรียนได้จัดกิจกรรมที่แก้ไขเกี่ยวกับภาวะโภชนาการนักเรียนมาแล้ว แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่หมดไป ในปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 34 ยังจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ยังมีนักเรียนที่อ้วนและผอมอยู่ เด็กกลุ่มนี้ยังขาดวินัยในการบริโภคอาหาร และเลือกกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์และขาดการออกกำลังกายเช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก และปัญหาสุขภาพช่องปากแม้ว่าทางโรงเรียนได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบนักเรียนกลุ่มนี้ ร้อยละ 43 สาเหตุมาจากพฤติกรรมชองนักเรียน ที่ไม่ใส่ใจเรื่องฟันของตนเองและไม่แปรงฟันหลังรับประทานอาหารหรือก่อนนอน จำเป็นอย่างยิ่งที่ทางโรงเรียนจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน และที่ผ่านมาครูได้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของตนเอง เช่น บางคนเล็บยาว เป็นเหา แต่งกายมาโรงเรียนไม่ค่อยเรียบร้อย เป็นต้น ซึ่งการปลูกฝังนิสัย ระเบียบที่ดีให้กับเด็กถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ และการส่งเสริมให้เด็กได้ดูแลสุขภาพของตนเองถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่สามารถช่วยลดการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น การฝึกให้เด็กล้างมือทุกครั้งก่อนรับระทานอาหารหรือหลังจากเข้าห้องน้ำ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้นับว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ทางโรงเรียนต้องดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียน

    จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านไสใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียน เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียน และการดำเนินการแก้ไขจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนลดลง

ผลการดำเนินการโครงการไสใหญ่วัยใส ใส่ใจสุขภาพ จากการประเมินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน

  • จากการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไสใหญ่ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 และวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 2 ครั้ง ประชุมเรื่องการจัดโครงการไสใหญ่วัยใส ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2563 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน ผลการประชุม คณะกรรมการมีมติให้ความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ร้อยละ 100 ให้สามารถจัดกิจกรรมดังกล่าวได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในโครงการ ภายใต้มาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19

กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์

  • เด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หลังการดำเนินโครงการ พบว่า มีเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 40

  • เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีน้ำหนักลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 45

  • นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

  • นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100 โดยการใช้แบบสำรวจภาวะฟันผุและเหงือกอักเสบของนักเรียน

  • นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟันและโรคฟันผุลดลง

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียน

  • นักเรียนและผู้ปกครอง ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองตามหลักสุขอนามัย

  • นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 90

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh