กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ห่างไกลโรคฟันผุ
รหัสโครงการ 2563 – L8010 – 2 - 05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปากปิง
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กุมภาพันธ์ 2563 - 25 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กุมภาพันธ์ 2564
งบประมาณ 42,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านปากปิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 82 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การศึกษากับสุขภาพอนามัยของผู้เรียนเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้ว การส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนก็เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพของเด็กสามารถทำให้เด็กดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย

ปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิง เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก จากการตรวจฟันของนักเรียนที่ผ่านมา จำนวน 82 คน พบว่าฟันผุ จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 70.73ซึ่งโรคฟันผุนี้เกิดจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก เป็นสาเหตุให้เด็กหลายคนทนทุกข์ทรมานจากการปวดฟัน มีปัญหาในการเคี้ยวอาหาร การเจริญเติบโตช้าทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา นอกจากนั้นทำให้เด็กต้องขาดเรียนบ่อย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กในโรงเรียนฟันผุ พบว่าเกิดจากพฤติกรรมของเด็ก เช่น ชอบรับประทานอาหารที่มีรสหวาน ไม่สนใจเรื่องการแปรงฟัน แปรงฟันไม่ถูกวิธี และผู้ปกครองไม่ได้กำชับให้เด็กแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ การแก้ไขโรคฟันผุต้องอาศัยการทำงานแบบบูรณาการกับหลายภาคส่วนทั้งโรงเรียน ครอบครัว และเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการทำงานในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างคลอบคลุม

โรงเรียนบ้านปากปิง มีความตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ห่างไกลโรคฟันผุ เพื่อให้นักเรียนมีอัตราโรคฟันผุลดลง โดยการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปากและการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์กับนักเรียน ผู้ปกครอง ส่งเสริมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร และตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน กรณีที่พบนักเรียนฟันผุก็ส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งติดตามพฤติกรรมของนักเรียนขณะอยู่ที่บ้าน พร้อมทั้งสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี ในการส่งเสริมให้เด็กมีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดี ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีอัตราฟันผุลดลง
  1. นักเรียนและผู้ปกครอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

  2. นักเรียนร้อยละ 60 มีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีอัตราฟันผุลดลง

  3. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 42,150.00 5 42,150.00
25 ก.พ. 63 - 25 ก.พ. 64 สร้างสุขนิสัยการแปรงฟันให้กับนักเรียน 0 0.00 0.00
1 - 31 พ.ค. 63 เฝ้าระวังและตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 0 1,230.00 1,230.00
1 - 31 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง 0 31,935.00 31,935.00
1 - 31 ก.ค. 63 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี 0 7,985.00 7,985.00
1 - 25 ก.พ. 64 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 1,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

ดำเนินการตามกิจกรรม ต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก (เหงือกและฟัน)

  1.1 ดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาล – ป.6 นักเรียน จำนวน 82 คน

  1.2 ดำเนินการตรวจโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข และบันทึกข้อมูลสุขภาพฟันเด็ก

  1.3 กรณีตรวจพบนักเรียนที่ฟันผุ แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ และส่งต่อเข้ารับการรักษา

  1.4 โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนทุกวัน

  1.5 ครูผู้รับผิดชอบแต่ละชั้นเรียนลงเยี่ยมและติดตามพฤติกรรมการแปรงฟันของนักเรียนไปยังผู้ปกครอง

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง

  2.1 ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ อาการ สาเหตุ และการรักษาอย่างถูกวิธี

  2.2 การป้องกันฟันผุ ด้วย 2 อ (อนามัยและอาหาร)

  2.3 เจ้าหน้าที่สอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับเด็กและผู้ปกครอง

กิจกรรมที่ 3 สร้างสุขนิสัยการแปรงฟันให้กับนักเรียน

  3.1 จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

    - เด็กมีแปรงที่อยู่ในสภาพดี ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์

    - การจัดเก็บอุปกรณ์การแปรงฟันให้ถูกสุขลักษณะ

    - สถานที่แปรงฟัน มีอ่าง เหมาะสม

    - ครูประจำชั้นและนักเรียนควบคุมดูแล “แปรงฟัน 2-2-2”

  3.2 ตรวจประสิทธิภาพการแปรงฟัน

    - ใช้ยาเม็ดย้อมสีฟันหรือสีผสมอาหาร (สีแดง) ทำอย่างสม่ำเสมอ เป็นการฝึกทักษะนักเรียน

    - ขั้นตอนแรก ย้อมสีก่อนแปรงฟัน ฝึกท่าแปรงฟัน ทุกซี่ ทุกด้าน ขั้นตอนต่อมาย้อมสีหลังแปรงฟันและทดสอบความสะอาด

  3.3 สร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง

    - สื่อสารปัญหาสุขภาพช่องปากเด็กให้ผู้ปกครองทราบและช่วยดูแลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของนักเรียน

    - กรณีที่พบเด็กฟันผุ แจ้งผู้ปกครองทราบและส่งต่อเข้ารับการรักษา

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี

  4.1 นโยบายการจัดการเรื่องอาหาร/ขนม/ เครื่องดื่ม

    - การดูแลเรื่องอาหารกลางวันและอาหารว่าง

    - นํ้าดื่มสะอาด

    - การจัดระเบียบการจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มที่เสี่ยงต่อฟันผุ ได้แก่ ท็อฟฟี่ น้ำอัดลม นมเปรี้ยว นมปรุงรส เป็นต้น

  4.2 การจัดกระบวนการเรียนรู้

    - กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เด็กมีส่วนร่วม มีสื่อการเรียนการสอน

    - แต่ละชั้นเรียนมีมุมส่งเสริมทันตสุขภาพภายในห้องเรียน พร้อมจัดเก็บอุปกรณ์การแปรงฟันที่ถูกสุขลักษณะ

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  5.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  5.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย
  2. นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับส่งต่อรักษาอย่างถูกวิธี
  3. อัตราการเกิดฟันผุของนักเรียนลดลง
  4. มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2563 12:25 น.