กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้1 พฤษภาคม 2564
1
พฤษภาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่าง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง15 กันยายน 2563
15
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ อาการ สาเหตุ และการรักษาอย่างถูกวิธี

  2. ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุ

  3. เจ้าหน้าที่สอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับเด็กและผู้ปกครอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียน/ผู้ปกครอง ครู ร้อยละ 90 ให้ความร่วมมือและสนใจในการรับการอบรมจากวิทยากร ที่ให้ความรู้เป็นอย่างดีโดยประเมินจากผลแบบทดสอบก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม

  2. นักเรียน ผู้ปกครองได้ทดลองฝึกปฏิบัติในการแปรงฟันที่ถูกวิธี

  3. นักเรียนและผู้ปกครองร้อยละ 80 มีความสนใจและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพทางช่องปากของตนเองและบุตรหลาน

สร้างสุขนิสัยการแปรงฟันให้กับนักเรียน30 กรกฎาคม 2563
30
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

  • เด็กมีแปรงที่อยู่ในสภาพดี ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์

  • การจัดเก็บอุปกรณ์การแปรงฟันให้ถูกสุขลักษณะ

  • สถานที่แปรงฟัน มีอ่าง เหมาะสม

  • ครูประจำชั้นและนักเรียนควบคุมดูแล “แปรงฟัน 2-2-2”

2.ตรวจประสิทธิภาพการแปรงฟัน

  • ใช้ยาเม็ดย้อมสีฟันหรือสีผสมอาหาร (สีแดง) ทำอย่างสม่ำเสมอ เป็นการฝึกทักษะนักเรียน

  • ขั้นตอนแรก ย้อมสีก่อนแปรงฟัน ฝึกท่าแปรงฟัน ทุกซี่ ทุกด้าน ขั้นตอนต่อมาย้อมสีหลังแปรงฟันและทดสอบความสะอาด

3.สร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง

  • สื่อสารปัญหาสุขภาพช่องปากเด็กให้ผู้ปกครองทราบและช่วยดูแลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของนักเรียน

  • กรณีที่พบเด็กฟันผุ แจ้งผู้ปกครองทราบและส่งต่อเข้ารับการรักษา

4.จัดประกวดกิจกรรม “หนูน้อยฟันสวย”

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นักเรียนร้อยละ 100 ได้แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร

  • นักเรียนร้อยละ 95 แปรงสีฟันอยู่ในสภาพดี และใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์

  • นักเรียนร้อยละ 100 มีที่เก็บอุปกรณ์การแปรงฟัน

  • ร้อยละ 90 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการดูแลการแปรงฟันของนักเรียน

ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี22 กรกฎาคม 2563
22
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

1.นโยบายการจัดการเรื่องอาหาร/ขนม/ เครื่องดื่ม

  • การดูแลเรื่องอาหารกลางวันและอาหารว่าง

  • นํ้าดื่มสะอาด

  • การจัดระเบียบการจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มที่เสี่ยงต่อฟันผุ ได้แก่ ท็อฟฟี่ น้ำอัดลม นมเปรี้ยว นมปรุงรส เป็นต้น

2.การจัดกระบวนการเรียนรู้

  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เด็กมีส่วนร่วม มีสื่อการเรียนการสอน

  • แต่ละชั้นเรียนมีมุมส่งเสริมทันตสุขภาพภายในห้องเรียน พร้อมจัดเก็บอุปกรณ์การแปรงฟันที่ถูกสุขลักษณะ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นักเรียนร้อยละ 90 ได้รับการดูแลเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ขนม น้ำดื่มภายในโรงเรียนให้ปลอดภัยจากโรคฟันผุ

  • นักเรียนร้อยละ 90 มีส่วนร่วมในการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับโรคฟันผุ

  • ร้อยละ 100 ห้องเรียนมีมุมส่งเสริมทันตสุขภาพที่เื้อต่อการเรียนรู้

  • ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีอุปกรณ์การแปรงฟันและมีที่จัดเก็บที่ถูกสุขลักษณะ

  • นักเรียนร้อยละ 90 มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

เฝ้าระวังและตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก14 กรกฎาคม 2563
14
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาล – ป.6 นักเรียน จำนวน 82 คน

  2. ดำเนินการตรวจโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข และบันทึกข้อมูลสุขภาพฟันเด็ก

  3. กรณีตรวจพบนักเรียนที่ฟันผุ แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ และส่งต่อเข้ารับการรักษา

  4. โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนทุกวัน

  5. ครูผู้รับผิดชอบแต่ละชั้นเรียนลงเยี่ยมและติดตามพฤติกรรมการแปรงฟันของนักเรียนไปยังผู้ปกครอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจากเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข

  2. นักเรียนร้อยละ 100 ได้แปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน

  3. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับการติดตามเยี่ยมพฤติกรรมการแปรงฟันไปยังผู้ปกครองพร้อมทั้งจัดทำแบบบันทึกการแปรงฟันของนักเรียนขณะอยู่ที่บ้าน