กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก

  1. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจากเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข

  2. นักเรียนร้อยละ 100 ได้แปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน

  3. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับการติดตามเยี่ยมพฤติกรรมการแปรงฟันไปยังผู้ปกครองพร้อมทั้งจัดทำแบบบันทึกการแปรงฟันของนักเรียนขณะอยู่ที่บ้าน

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง

  1. นักเรียน/ผู้ปกครอง ครู ร้อยละ 90 ให้ความร่วมมือและสนใจในการรับการอบรมจากวิทยากร ที่ให้ความรู้เป็นอย่างดีโดยประเมินจากผลแบบทดสอบก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม

  2. นักเรียน ผู้ปกครองได้ทดลองฝึกปฏิบัติในการแปรงฟันที่ถูกวิธี

  3. นักเรียนและผู้ปกครองร้อยละ 80 มีความสนใจและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพทางช่องปากของตนเองและบุตรหลาน

กิจกรรมที่ 3 สร้างสุขนิสัยการแปรงฟันให้กับนักเรียน

  • นักเรียนร้อยละ 100 ได้แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร

  • นักเรียนร้อยละ 95 แปรงสีฟันอยู่ในสภาพดี และใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์

  • นักเรียนร้อยละ 100 มีที่เก็บอุปกรณ์การแปรงฟัน

  • ร้อยละ 90 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการดูแลการแปรงฟันของนักเรียน

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี

  • นักเรียนร้อยละ 90 ได้รับการดูแลเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ขนม น้ำดื่มภายในโรงเรียนให้ปลอดภัยจากโรคฟันผุ

  • นักเรียนร้อยละ 90 มีส่วนร่วมในการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับโรคฟันผุ

  • ร้อยละ 100 ห้องเรียนมีมุมส่งเสริมทันตสุขภาพที่เื้อต่อการเรียนรู้

  • ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีอุปกรณ์การแปรงฟันและมีที่จัดเก็บที่ถูกสุขลักษณะ

  • นักเรียนร้อยละ 90 มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีอัตราฟันผุลดลง
ตัวชี้วัด : 1. นักเรียนและผู้ปกครอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก 2. นักเรียนร้อยละ 60 มีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีอัตราฟันผุลดลง 3. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100
0.00 90.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 174 174
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 82 82
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ครู 10 10
ผู้ปกครอง 82 82

บทคัดย่อ*

โรงเรียนบ้านปากปิง ได้ความตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญในการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ห่างไกลโรคฟันผุของนักเรียน ในปีงบประมาณ 2563 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีอัตราโรคฟันผุลดลง รู้จักการดูแลและการแปรงฟันอย่างถูกวิธีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากปละได้รับการส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีความรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ รู้จักการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ห่างไกลโรคฟันผุ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิง เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกิดผลดีแก่นักเรียน ดังนี้

  1. นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย เห็นความสำคัญในการดูแลปากและฟันของตนเองมากขึ้น

  2. นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับการส่งต่อรักษาอย่างถูกวิธี

  3. อัตราการเกิดฟันผุของนักเรียนลดลง

  4. มีสื่อและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี

จากการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ห่างไกลโรคฟันผุ ได้รับผลการพัฒนาที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนดียิ่งขึ้น

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh