กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการโรงเรียนสะอาด ปราศจากโรคติดต่อในท้องถิ่น

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน3 สิงหาคม 2563
3
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน

เป้าหมาย

  • นักเรียน ป.1 – ป.6 จำนวน 87 คน

  • ผู้ปกครอง  จำนวน 30 คน

  • ครู      จำนวน 9 คน

  • แกนนำนักเรียน จำนวน 20 คน

  • แกนนำชุมชน  จำนวน 10 คน

รายละเอียดกิจกรรม

2.1 การจัดการตามหลัก 3Rs ได้แก่

  • Reduce คือ ลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง ลดการก่อให้เกิดขยะ

  • Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้

  • Recycle คือ การนำสิ่งของที่ใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นขยะ นำไปจัดการด้วยกระบวนการต่างๆ แล้วแปรรูปมาเป็นสิ่งใหม่ จากนั้นก็นำกลับมาใช้ใหม่

  1.) โรงเรียนสนับสนุนการจัดกิจกรรม โดยการนำขยะมาผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอน และนำเสนอผลงาน จำนวน 5 ชนิด

  2.) นำขยะที่เหลือใช้มาจัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับการรณรงค์ทิ้งขยะให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ จำนวน 2 ป้าย

  3.) จัดกิจกรรมประกวดขยะ โดยให้นักเรียนประดิษฐ์จากเศษวัสดุที่เหลือใช้
2.2 การคัดแยกขยะตามประเภทขยะ

  1.) รณรงค์ให้นักเรียนคัดแยกขยะแต่ละประเภท ลงในภาชนะรองรับขยะที่จัดเตรียมไว้ ดังนี้

    - ขยะทั่วไป (ถังสีน้ำเงิน) ได้แก่ ถุงพลาสติกใส่อาหาร ซองขนม ซองบะหมี่ ทิชชู กล่องอาหาร แก้วกระดาษ เป็นต้น อาจจะนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกำจัดต่อไป

    - ขยะย่อยสลายได้ (ถังสีเขียว) ได้แก่ เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น โดยหลังรับประทานอาหารกลางวัน ให้นักเรียนนำเศษอาหารที่เหลือมาเททิ้งในถังขยะอินทรีย์ ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

    - ขยะรีไซเคิล (ถังสีเหลือง) ได้แก่ ขวด แก้วพลาสติก เศษแก้ว กระป๋องน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขวดแก้ว เศษกระดาษ กล่องเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

    - ขยะอันตราย (ถังสีแดง) ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารอันตราย เช่น น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์ ยาหมดอายุ เครื่องสำอาง เป็นต้น โดยจะเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากโรงเรียนและบ้านเรือนของนักเรียน แล้วส่งต่อขยะอันตรายไปยัง อบต. เพื่อส่งกำจัดต่อไป

2.3 ประชุมสร้างแกนนำนักเรียน และแกนนำผู้ปกครองนักเรียนเพื่อดำเนินการควบคุม กำกับดูแล และตรวจประเมินผลในการดำเนินกิจกรรม จำนวน ๑ ครั้ง

2.4 ติดตามผลการดำเนินงาน และตรวจประเมินพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน โดยแกนนำนักเรียน และแกนนำผู้ปกครองนักเรียน

2.5 ครู แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน และแกนนำผู้ปกครอง ประชุมร่วมกันกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคในท้องถิ่น และการจัดการขยะ อย่างน้อย ๕ มาตรการ เพื่อใช้ในโรงเรียนและชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ ๒ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะ

๒.๑ การจัดการขยะตามหลัก ๓Rs ได้แก่

  - Reduce คือ ลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง ลดการก่อให้เกิดขยะ

  - Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ

  - Recycle คือ การนำสิ่งของที่ใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นขยะ นำไปจัดการด้ยกระบวนการต่าง ๆ แล้วแปรรูปมาเป็นสิ่งใหม่ จากนั้นก็นำกลับมาใช้ใหม่

๒.๑.๑ โรงเรียนสนับสนุนการจัดกิจกรรม โดยการนำขยะมาผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอน และนำเสนอผลงาน จำนวน ๕ ชนิด คือ

๑. เพนกวินน้อยนับเลข นำช้อนที่ใข้แล้วมาผลิตเป็นนกเพนกวินเพื่อใช้ในวิชาคณิตศาสตร์สอนให้นักเรียนรู้จักการนับ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๐.๖๙ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๔.๗๑ รองลงมาคือความรู้ที่ได้รับจากผลิตนกเพนกวินน้อยนับเลขและควรจัดกิจกรรมนี้ในปีต่อไป มีค่าเฉลี่ย ๙๔.๔๘ ส่วนระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๒.๕๓

๒. กลางวันกลางคืนจากจานกระดาษ นำจานกระดาษที่ใช้แล้วมาผลิตให้เป็นกลางวันกลางคืน เพื่อใช้สอนในวิชาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเกิดและความแตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืน พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๑.๙๓ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า รูปแบบของกิจกรรมที่จัดและประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๕.๑๗ รองลงมาคือสถานที่ในการจัดกิจกรรมและนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ๙๔.๔๘ ส่วนระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๖.๒๑

๓. หมึกจากแก้วกระดาษ นำแก้วกระดาษสำหรับดื่มกาแฟที่ใช้แล้วมาผลิตเป็นหมึกที่มีสีสันสวยงามใช้ในการสอนวิชาศิลปะและการงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๓.๓๕ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมและประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๕.๘๖ รองลงมาคือสถานที่ในการจัดกิจกรรมและรูปแบบของกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ๙๕.๑๗ ส่วนวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๖.๙๐

๔. ดอกไม้จากฝาขวด นำฝาขวดน้ำดื่มหรือฝาขวดน้ำอัดลมมาผลิตเป็นดอกไม้ ให้นักเรียนได้รู้จักการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เพื่อใช้ในวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๒.๘๒ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๖.๕๕ รองลงมาคือสถานที่ในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ๙๕.๘๖ ส่วนวิทยากรให้ความรู้ คำแนะนำได้เป็นอย่างดี มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๙.๖๖

๕. กระถางต้นไม้จากขวดน้ำอัดลม นำขวดน้ำอัดลมมาตัดให้เป็นรูปสัตว์ ตกแต่งให้สวยงามเพื่อใช้สำหรับการปลูกดอกไม้ในวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๓.๐๘ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า สถานที่ในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๗.๙๓ รองลงมาคือ รูปแบบของกิจกรรมที่จัด มีค่าเฉลี่ย ๙๕.๑๗ ส่วนทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๙๐.๑๑

๒.๑.๒ นำขยะที่เหลือใช้มาจัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับการรณรงค์ทิ้งขยะให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๘๘.๖๒ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า สถานที่ในการจัดป้ายนิเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๐.๓๔ รองลงมาคือ ความรู้ที่ได้รับจากการจัดป้ายนิเทศ มีค่าเฉลี่ย ๘๙.๖๖ ส่วนระยะเวลาในการจัดป้ายนิเทศมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๖.๙๐

๒.๑.๓ จัดกิจกรรมประกวดขยะ โดยให้นักเรียนประดิษฐ์จากวัสดุที่เหลือใช้ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๑.๕๘ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า สถานที่ในการจัดกิจกรรมและความสนุกสนานจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๓.๗๙ รองลงมาคือ ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมและนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ๙๒.๔๑ ส่วนระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๗.๕๙

๒.๒ การคัดแยกขยะตามประเภท

  ๒.๒.๑ รณรงค์ให้นักเรียนคัดแยกขยะแต่ละประเภท ลงในภาชนะรองรับขยะที่จัดเตรียมไว้ ดังนี้

  • ขยะทั่วไป (ถังสีน้ำเงิน) ได้แก่ ถุงพลาสติกใส่อาหาร ซองขนม ซองบะหมี่ ทิชชู กล่องอาหาร แก้วกระดาษ เป็นต้น อาจจะนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือส่งให้หน่วยที่รับผิดชอบกำจัดต่อไป

  • ขยะย่อยสลาย (ถังสีเขียว) ได้แก่ เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น โดยหลังรับประทานอาหารกลางวัน ให้นักเรียนนำเศษอาหารที่เหลือมาเททิ้งในถังขยะอินทรีย์ ซึ่งนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

  • ขยะรีไซเคิล (ถังสีเหลือง) ได้แก่ ขวด แก้วพลาสติก เศษแก้ว กระป๋องน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขวดแก้ว เศษกระดาษ กล่องเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

  • ขยะอันตราย (ถังสีแดง) ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารอันตราย เช่น น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์ ยาหมดอายุ เครื่องสำอาง เป็นต้น โดยจะเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากโรงเรียนและบ้านเรือนของนักเรียน แล้วส่งต่อขยะอันตรายไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อกำจัดต่อไป

    จากผลการดำเนินงาน พบว่านักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะและคัดแยกขยะแต่ละประเภท ลงในภาชนะรองรับขยะที่จัดเตรียมได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๘.๗๖

๒.๓ สร้างแกนนำนักเรียน และแกนนำผู้ปกครองนักเรียนเพื่อดำเนินการควบคุม กำกับดูแล และตรวจประเมินผลในการดำเนินกิจกรรม จำนวน ๑ ครั้ง พบว่า มีแกนนำสุขภาพนักเรียนและแกนนำสุขภาพผู้ปกครองเกิดขึ้น จำนวน ๔ กลุ่ม และมีการดำเนินกิจกรรมเป็นปัจจุบัน นอกจากนี้ได้ประเมินความพึงพอใจเพิ่มเติม คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๑.๐๒ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า สถานที่ในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๓.๙๐ รองลงมาคือ ความเหมาะสมของอาหาร อาหารว่าง เครื่องดื่ม มีค่าเฉลี่ย ๙๓.๕๖ ส่วนความรู้ที่ได้รับจากการสร้างแกนนำ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๔.๗๕

๒.๔ ติดตามผลการดำเนินงาน และตรวจประเมินพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน โดยแกนนำนักเรียนและแกนนำผู้ปกครองนักเรียน พบว่าจากผลการดำเนินงานปรับเปลี่ยนการคัดแยกขยะของนักเรียน มีการจัดกิจกรรมการจัดการขยะตามหลัก ๓Rs การนำขยะมาผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอน ขยะที่เหลือใช้มาจัดทำป้ายนิเทศ จัดกิจกรรมประกวดขยะ มีการคัดแยกขยะตามประเภทของขยะ มีการสร้างแกนนำและติดตามผลการดำเนินงาน จากการสอบถามพฤติกรรมของนักเรียนในการคัดแยกขยะ พบว่า นักเรียนร้อยละ ๘๘.๗๖ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ และคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้น และผลจากการสำรวจการจัดทำถังขยะอินทรีย์ของครัวเรือนนักเรียนและโรงเรียน พบว่า ร้อยละ ๔๗.๓๐ มีการจัดทำถังขยะอินทรีย์เพิ่มขึ้น

๒.๕ ครู แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน และแกนนำผู้ปกครอง ร่วมกันกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคในท้องถิ่นและการจัดการขยะ อย่างน้อย ๕ มาตรการ เพื่อใช้ในโรงเรียนและชุมชน จากการดำเนินงานพบว่า ครู แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน และแกนนำผู้ปกครอง ร่วมกันกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคในท้องถิ่นและการจัดการขยะ ขึ้นมาจำนวน ๗ มาตรการ เพื่อใช้ในโรงเรียนและชุมชน นอกจากนี้ได้สำรวจความพึงพอใจเพิ่มเติม คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๒.๓๘ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า สถานที่ในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๕.๙๔ รองลงมาคือ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ๙๕.๖๕ ส่วนระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมและควรจัดกิจกรรมนี้ในปีต่อไป มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๙.๕๗