กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนสะอาด ปราศจากโรคติดต่อในท้องถิ่น
รหัสโครงการ 2563 – L8010 – 2 - 08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปิใหญ่
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กุมภาพันธ์ 2563 - 25 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กุมภาพันธ์ 2564
งบประมาณ 51,361.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านปิใหญ่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 87 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันนี้ปัญหาขยะมูลฝอยยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งในระดับชุมชนและระดับชาติ เนื่องมาจากจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น ส่งผลให้มีการนําทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้มากขึ้น ก่อให้เกิดมลพิษ สิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ตามมา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป การแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย จึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณา ถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา โดยการสร้างจิตสำนึกแก่มนุษย์ให้รู้จักรับผิดชอบในการรักษาความสะอาด ทั้งในบ้านเรือนของตัวเอง และภายนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง สถานที่ทำงาน หรือที่สาธารณะอื่นๆ ให้รู้จักทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะให้เป็นที่เป็นทาง ไม่มักง่ายทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ทั้งนี้เป็นการช่วยให้พนักงานเก็บขยะนำไปยังสถานที่กำจัดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

สำหรับในพื้นที่โรงเรียนบ้านปิใหญ่ ปัญหาขยะนับว่าเป็นปัญหาหนึ่งของโรงเรียนที่ต้องเร่งดำเนินการและแก้ไข เพราะมีปริมาณขยะมากพอสมควร ซึ่งการกำจัดขยะของโรงเรียนโดยให้รถจัดเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเป็นผู้จัดเก็บ แม้ว่าทางองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงได้นำถังการคัดแยกขยะแต่ละประเภทให้กับทางโรงเรียนแล้ว แต่พบว่านักเรียนยังมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะที่ไม่ถูกต้อง และขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะที่ไม่เป็นที่ ขยะส่วนใหญ่ที่พบเห็น เช่น เศษกระดาษ กล่องนม ถุงขนมที่นักเรียนซื้อมาจากร้านค้านอกโรงเรียนและร้านค้าในโรงเรียน และการทิ้งขยะของนักเรียนส่วนใหญ่จะนำมาทิ้งรวมกัน ไม่มีการคัดแยกขยะ บางคนถ้านั่งรับประทานอาหารตรงไหน ก็จะทิ้งขยะไว้บริเวณนั้นๆ ทำให้มีภาพลักษณ์ที่ไม่ค่อยดีและมีปัญหาเรื่องกลิ่น ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก แมลงวันพาหะนำโรคอุจจาระร่วง แมลงสาบพาหะนำโรคอุจจาระร่วง ซึ่งในพื้นที่ชุมชนพบประชาชนที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2561-2562 จำนวน 6 และ 21 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 533.808 และ 1868.33 ตามลำดับ และปี 2561 พบนักเรียนที่ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา จำนวน 12 ราย และโรคอุจจาระร่วง จำนวน 1 ราย ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โรงเรียนเองก็ได้จัดการและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นมาแล้ว แต่ยังพบว่านักเรียนยังขาดวินัยในการทิ้งขยะอยู่อีก ไม่เห็นคุณค่าของขยะ ในการแก้ไขปัญหานี้ต้องสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนไม่ว่าจะอยู่ที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือสถานที่สาธารณะต่างๆ จำเป็นจะต้องมีวินัยในการทิ้งขยะ ซึ่งถ้ามีการจัดการขยะที่ดีก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขและลดปัญหาขยะในโรงเรียน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา โดยมีการสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทิ้งขยะ สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องในการจัดการขยะ สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนคัดแยกขยะจากครัวเรือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคในโรงเรียนและชุมชน
  1. ค่า HOUSE INDEX (HI) ลดลง และไม่เกินร้อยละ 10 ของหลังคาเรือน

  2. ค่า CONTRAINNER INDEX (CI) ลดลง และไม่เกินร้อยละ 0

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs เพิ่มขึ้น

  2. ร้อยละ 40 ของครัวเรือน โรงเรียน มีการจัดทำถังขยะอินทรีย์

  3. นักเรียน ร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ และคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

  4. มีแกนนำสุขภาพนักเรียน และแกนนำสุขภาพผู้ปกครองเกิดขึ้น อย่างน้อย 1 กลุ่ม และมีการดำเนินกิจกรรมเป็นปัจจุบัน

  5. มีมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคและการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนอย่างน้อย 5 มาตรการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 51,361.00 4 51,361.00
1 - 30 มิ.ย. 63 อบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ 3Rs/สาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์ 0 28,215.00 28,215.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน 0 18,986.00 18,986.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ม.ค. 64 ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน ให้เป็นพื้นที่สีเขียว 0 3,160.00 3,160.00
1 - 28 ก.พ. 64 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 1,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

  1. ขั้นเตรียมการ

1.1 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง

2.1 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/วิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้


2. ขั้นดำเนินงานตามกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ 3Rs/สาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์ แก่นักเรียนและผู้ปกครอง

1.1 บรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง

1.2 บรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแบบ 3Rs

1.3 สอน/สาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือนและโรงเรียน


กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน

2.1 การจัดการตามหลัก 3Rs ได้แก่

  • Reduce คือ ลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง ลดการก่อให้เกิดขยะ

  • Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้

  • Recycle คือ การนำสิ่งของที่ใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นขยะ นำไปจัดการด้วยกระบวนการต่างๆ แล้วแปรรูปมาเป็นสิ่งใหม่ จากนั้นก็นำกลับมาใช้ใหม่

  2.1.1 โรงเรียนสนับสนุนการจัดกิจกรรม โดยการนำขยะมาผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอน และนำเสนอผลงาน

  2.1.2 นำขยะที่เหลือใช้มาจัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับการรณรงค์ทิ้งขยะให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์

  2.1.3 จัดกิจกรรมประกวดขยะ โดยให้นักเรียนประดิษฐ์จากเศษวัสดุที่เหลือใช้

2.2 การคัดแยกขยะตามประเภทขยะ

  2.2.1 รณรงค์ให้นักเรียนคัดแยกขยะแต่ละประเภท ลงในภาชนะรองรับขยะที่จัดเตรียมไว้ ดังนี้

    - ขยะทั่วไป (ถังสีน้ำเงิน) ได้แก่ ถุงพลาสติกใส่อาหาร ซองขนม ซองบะหมี่ ทิชชู กล่องอาหาร แก้วกระดาษ เป็นต้น อาจจะนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกำจัดต่อไป

    - ขยะย่อยสลายได้ (ถังสีเขียว) ได้แก่ เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น โดยหลังรับประทานอาหารกลางวัน ให้นักเรียนนำเศษอาหารที่เหลือมาเททิ้งในถังขยะอินทรีย์ ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

    - ขยะรีไซเคิล (ถังสีเหลือง) ได้แก่ ขวด แก้วพลาสติก เศษแก้ว กระป๋องน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขวดแก้ว เศษกระดาษ กล่องเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

    - ขยะอันตราย (ถังสีแดง) ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารอันตราย เช่น น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์ ยาหมดอายุ เครื่องสำอาง เป็นต้น

โดยจะเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากโรงเรียนและบ้านเรือนของนักเรียน แล้วส่งต่อขยะอันตรายไปยัง อบต. เพื่อส่งกำจัดต่อไป

๒.๓ สร้างแกนนำนักเรียน และแกนนำผู้ปกครองนักเรียนเพื่อดำเนินการควบคุม กำกับดูแล และตรวจประเมินผลในการดำเนินกิจกรรม จำนวน ๑ ครั้ง

2.๔ ติดตามผลการดำเนินงาน และตรวจประเมินพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน โดยแกนนำนักเรียน และแกนนำผู้ปกครองนักเรียน

๒.๕ ครู แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน และแกนนำผู้ปกครอง ร่วมกันกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคในท้องถิ่น และการจัดการขยะ อย่างน้อย ๕ มาตรการ เพื่อใช้ในโรงเรียนและชุมชน


กิจกรรมที่ ๓ ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน ให้เป็นพื้นที่สีเขียว

  3.1 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะและการแยกขยะแต่ละประเภท จำนวน 5 ป้าย

  3.2 จัดกิจกรรม Big cleaning day ในโรงเรียนและบริเวณโรงเรียน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง

  3.3 โรงเรียนติดป้าย ห้ามนำภาชนะโฟมมาใช้ในสถานศึกษา

  3.4 โรงเรียนรณรงค์ให้นักเรียนใช้แก้วน้ำส่วนตัว เพื่อลดการใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว

  3.5 โรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้ถุงผ้า ปิ่นโต ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว

  ๓.๖ สำรวจค่า HI และค่า CI โดยนักเรียนแกนนำอย่างน้อย เดือนละ ๑ ครั้ง


ขั้นสรุปผล

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  4.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  4.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs และแต่ละครัวเรือน โรงเรียน มีการจัดทำถังขยะอินทรีย์
  2. นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ สามารถคัดแยกขยะได้ถูกวิธี
  3. แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคในโรงเรียนและชุมชนลดลง
  4. มีมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคและการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2563 16:34 น.