กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ ๑ อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ๓Rs/สาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์แก่นักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนได้ดำเนินการจัดการอบรมโดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง  การจัดการขยะแบบ๓Rsและสาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์แก่นักเรียนและผู้ปกครอง โดยมีเป้าหมาย นักเรียน ป.๑ – ป.๖ จำนวน ๘๗ คน ผู้ปกครอง จำนวน ๓๐ คน ครู จำนวน ๙ คน รวมจำนวน ๑๒๖ คน และตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ ๓Rs และร้อยละ ๔๐ ของครัวเรือน โรงเรียน มีการจัดทำถังขยะอินทรีย์ พบว่า ผลจากการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๐๙ และผลจากการทดสอบความรู้หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๑๗ จำนวนครัวเรือนและโรงเรียนมีการจัดทำถังขยะอินทรีย์ คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๓๐ ทางโรงเรียนได้สำรวจความพึงพอใจเพิ่มเติม พบว่าคะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๘๘.๘๓ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อการจัดการขยะแบบ ๓Rs มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๔.๑๓ รองลงมาคือ ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อการคัดแยกขยะที่ต้นทาง มีค่าเฉลี่ย ๙๑.๔๓ ส่วนความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อสาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๖.๐๓

กิจกรรมที่ ๒ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะ

๒.๑ การจัดการขยะตามหลัก ๓Rs ได้แก่

  - Reduce คือ ลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง ลดการก่อให้เกิดขยะ

  - Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ

  - Recycle คือ การนำสิ่งของที่ใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นขยะ นำไปจัดการด้ยกระบวนการต่าง ๆ แล้วแปรรูปมาเป็นสิ่งใหม่ จากนั้นก็นำกลับมาใช้ใหม่

๒.๑.๑ โรงเรียนสนับสนุนการจัดกิจกรรม โดยการนำขยะมาผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอน และนำเสนอผลงาน จำนวน ๕ ชนิด คือ

๑. เพนกวินน้อยนับเลข นำช้อนที่ใข้แล้วมาผลิตเป็นนกเพนกวินเพื่อใช้ในวิชาคณิตศาสตร์สอนให้นักเรียนรู้จักการนับ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๐.๖๙ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๔.๗๑ รองลงมาคือความรู้ที่ได้รับจากผลิตนกเพนกวินน้อยนับเลขและควรจัดกิจกรรมนี้ในปีต่อไป มีค่าเฉลี่ย ๙๔.๔๘ ส่วนระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๒.๕๓

๒. กลางวันกลางคืนจากจานกระดาษ นำจานกระดาษที่ใช้แล้วมาผลิตให้เป็นกลางวันกลางคืน เพื่อใช้สอนในวิชาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเกิดและความแตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืน พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๑.๙๓ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า รูปแบบของกิจกรรมที่จัดและประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๕.๑๗ รองลงมาคือสถานที่ในการจัดกิจกรรมและนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ๙๔.๔๘ ส่วนระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๖.๒๑

๓. หมึกจากแก้วกระดาษ นำแก้วกระดาษสำหรับดื่มกาแฟที่ใช้แล้วมาผลิตเป็นหมึกที่มีสีสันสวยงามใช้ในการสอนวิชาศิลปะและการงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๓.๓๕ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมและประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๕.๘๖ รองลงมาคือสถานที่ในการจัดกิจกรรมและรูปแบบของกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ๙๕.๑๗ ส่วนวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๖.๙๐

๔. ดอกไม้จากฝาขวด นำฝาขวดน้ำดื่มหรือฝาขวดน้ำอัดลมมาผลิตเป็นดอกไม้ ให้นักเรียนได้รู้จักการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เพื่อใช้ในวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๒.๘๒ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๖.๕๕ รองลงมาคือสถานที่ในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ๙๕.๘๖ ส่วนวิทยากรให้ความรู้ คำแนะนำได้เป็นอย่างดี มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๙.๖๖

๕. กระถางต้นไม้จากขวดน้ำอัดลม นำขวดน้ำอัดลมมาตัดให้เป็นรูปสัตว์ ตกแต่งให้สวยงามเพื่อใช้สำหรับการปลูกดอกไม้ในวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๓.๐๘ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า สถานที่ในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๗.๙๓ รองลงมาคือ รูปแบบของกิจกรรมที่จัด มีค่าเฉลี่ย ๙๕.๑๗ ส่วนทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๙๐.๑๑

๒.๑.๒ นำขยะที่เหลือใช้มาจัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับการรณรงค์ทิ้งขยะให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๘๘.๖๒ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า สถานที่ในการจัดป้ายนิเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๐.๓๔ รองลงมาคือ ความรู้ที่ได้รับจากการจัดป้ายนิเทศ มีค่าเฉลี่ย ๘๙.๖๖ ส่วนระยะเวลาในการจัดป้ายนิเทศมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๖.๙๐

๒.๑.๓ จัดกิจกรรมประกวดขยะ โดยให้นักเรียนประดิษฐ์จากวัสดุที่เหลือใช้ พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๑.๕๘ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า สถานที่ในการจัดกิจกรรมและความสนุกสนานจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๓.๗๙ รองลงมาคือ ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมและนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ๙๒.๔๑ ส่วนระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๗.๕๙

๒.๒ การคัดแยกขยะตามประเภท

  ๒.๒.๑ รณรงค์ให้นักเรียนคัดแยกขยะแต่ละประเภท ลงในภาชนะรองรับขยะที่จัดเตรียมไว้ ดังนี้

  • ขยะทั่วไป (ถังสีน้ำเงิน) ได้แก่ ถุงพลาสติกใส่อาหาร ซองขนม ซองบะหมี่ ทิชชู กล่องอาหาร แก้วกระดาษ เป็นต้น อาจจะนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือส่งให้หน่วยที่รับผิดชอบกำจัดต่อไป

  • ขยะย่อยสลาย (ถังสีเขียว) ได้แก่ เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น โดยหลังรับประทานอาหารกลางวัน ให้นักเรียนนำเศษอาหารที่เหลือมาเททิ้งในถังขยะอินทรีย์ ซึ่งนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

  • ขยะรีไซเคิล (ถังสีเหลือง) ได้แก่ ขวด แก้วพลาสติก เศษแก้ว กระป๋องน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขวดแก้ว เศษกระดาษ กล่องเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

  • ขยะอันตราย (ถังสีแดง) ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารอันตราย เช่น น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์ ยาหมดอายุ เครื่องสำอาง เป็นต้น โดยจะเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากโรงเรียนและบ้านเรือนของนักเรียน แล้วส่งต่อขยะอันตรายไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อกำจัดต่อไป

    จากผลการดำเนินงาน พบว่านักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะและคัดแยกขยะแต่ละประเภท ลงในภาชนะรองรับขยะที่จัดเตรียมได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๘.๗๖

๒.๓ สร้างแกนนำนักเรียน และแกนนำผู้ปกครองนักเรียนเพื่อดำเนินการควบคุม กำกับดูแล และตรวจประเมินผลในการดำเนินกิจกรรม จำนวน ๑ ครั้ง พบว่า มีแกนนำสุขภาพนักเรียนและแกนนำสุขภาพผู้ปกครองเกิดขึ้น จำนวน ๔ กลุ่ม และมีการดำเนินกิจกรรมเป็นปัจจุบัน นอกจากนี้ได้ประเมินความพึงพอใจเพิ่มเติม คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๑.๐๒ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า สถานที่ในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๓.๙๐ รองลงมาคือ ความเหมาะสมของอาหาร อาหารว่าง เครื่องดื่ม มีค่าเฉลี่ย ๙๓.๕๖ ส่วนความรู้ที่ได้รับจากการสร้างแกนนำ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๔.๗๕

๒.๔ ติดตามผลการดำเนินงาน และตรวจประเมินพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน โดยแกนนำนักเรียนและแกนนำผู้ปกครองนักเรียน พบว่าจากผลการดำเนินงานปรับเปลี่ยนการคัดแยกขยะของนักเรียน มีการจัดกิจกรรมการจัดการขยะตามหลัก ๓Rs การนำขยะมาผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอน ขยะที่เหลือใช้มาจัดทำป้ายนิเทศ จัดกิจกรรมประกวดขยะ มีการคัดแยกขยะตามประเภทของขยะ มีการสร้างแกนนำและติดตามผลการดำเนินงาน จากการสอบถามพฤติกรรมของนักเรียนในการคัดแยกขยะ พบว่า นักเรียนร้อยละ ๘๘.๗๖ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ และคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้น และผลจากการสำรวจการจัดทำถังขยะอินทรีย์ของครัวเรือนนักเรียนและโรงเรียน พบว่า ร้อยละ ๔๗.๓๐ มีการจัดทำถังขยะอินทรีย์เพิ่มขึ้น

๒.๕ ครู แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน และแกนนำผู้ปกครอง ร่วมกันกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคในท้องถิ่นและการจัดการขยะ อย่างน้อย ๕ มาตรการ เพื่อใช้ในโรงเรียนและชุมชน จากการดำเนินงานพบว่า ครู แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน และแกนนำผู้ปกครอง ร่วมกันกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคในท้องถิ่นและการจัดการขยะ ขึ้นมาจำนวน ๗ มาตรการ เพื่อใช้ในโรงเรียนและชุมชน นอกจากนี้ได้สำรวจความพึงพอใจเพิ่มเติม คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๙๒.๓๘ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า สถานที่ในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๕.๙๔ รองลงมาคือ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย ๙๕.๖๕ ส่วนระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมและควรจัดกิจกรรมนี้ในปีต่อไป มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๙.๕๗

กิจกรรมที่ ๓ ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน ให้เป็นพื้นที่สีเขียว

๓.๑ จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะและการแยกขยะแต่ละประเภท จำนวน ๕ ป้าย จากการดำเนินการของโรงเรียนได้มีการจัดทำป้าย ลด คัดแยกขยะ เก็บรวบรวมและบริหารจัดการขยะ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิต ติดตามบริเวณต่างๆ ในโรงเรียน จำนวน ๕ ป้าย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน คัดแยกขยะ ส่งผลให้นักเรียน ร้อยละ ๘๘.๗๖ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ และคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

๓.๒ จัดกิจกรรม Big cleaning day ในโรงเรียนและบริเวณโรงเรียน อย่างน้อย เดือนละ ๑ ครั้ง โรงเรียนบ้านปิใหญ่ให้นักเรียนทำ Big cleaning day ทุก ๆ สัปดาห์ มีการทำความสะอาดทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียนและบริเวณรอบ ๆ โรงเรียน จัดตกแต่งสถานที่ ทำความสะอาด เพื่อให้โรงเรียนสะอาด ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์แมลงและสัตว์พาหะนำโรคต่าง ๆ ส่งผลให้ ค่า HOUSE INDEX (HI) ลดลงและไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของหลังคาเรือน และค่า CONTRAINNER INDEX (CI) และไม่เกินร้อยละ ๐

๓.๓ โรงเรียนติดป้าย ห้ามนำภาชนะโฟมมาใช้ในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านปิใหญ่ได้ดำเนินการติดป้าย ห้ามนำภาชนะโฟมมาใช้ในโรงเรียนพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เสียงตามสายให้คำแนะนำ ให้นักเรียนไม่ใช้โฟมในโรงเรียน ผลจากการดำเนินกิจกรรมพบว่า นักเรียนไม่นำภาขนะโฟมมาใช้ในโรงเรียน ร้อยละ ๑๐๐ ทำให้ขยะในบริเวณโรงเรียนมีปริมาณลดลง เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่โรงเรียน

๓.๔ โรงเรียนรณรงค์ให้นักเรียนใช้แก้วน้ำส่วนตัว เพื่อลดการใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว โรงเรียนบ้านปิใหญ่ดำเนินการ ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้นักเรียนใช้แก้วน้ำส่วนตัวในการแปรงฟัน การรับประทานอาหารกลางวัน และสำหรับการดื่มน้ำเมื่อหิวน้ำ เพื่อลดการใช้แก้วพลาสติกลดการใช้แก้วพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ผลจากการติดตามพบว่า นักเรียนใช้แก้วน้ำส่วนตัว ร้อยละ ๑๐๐

๓.๕ โรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้ถุงผ้า ปิ่นโต ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว โรงเรียนบ้านปิใหญ่ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้ถุงผ้า ปิ่นโต ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้ถุงผ้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดใช้พลาสติกและโฟม ลองหันมาใส่ใจสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อตัวเองและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ถุงพลาสติก มาใช้ถุงผ้า ตะกร้า ปิ่นโตแทน เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและเป็นการลดขยะโฟม พลาสติกอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลจากการติดตามพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๐ ใช้ถุงผ้า ปิ่นโต ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

๓.๖ สำรวจค่า HI และค่า CI โดยนักเรียนแกนนำอย่างน้อย เดือนละ ๑ ครั้ง โรงเรียนดำเนินการให้นักเรียนแกนนำจำนวน ๒๐ คน สำรวจลูกน้ำยุงลายที่บ้านและที่โรงเรียน เมื่อเจอลูกน้ำยุงลายในภาชนะก็ให้เทน้ำทิ้งหรือคว่ำภาชนะนั้นๆ เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อโรคไข้เลือดออก ผลการติดตามพบว่า ในช่วงเดือนแรกคือเดือนกันยายน มีค่าดัชนีของลูกน้ำยุงลายสูง คือ ที่บ้านค่า HI ร้อยละ ๙๐.๐๐ ส่วนค่า CI ร้อยละ ๕๗.๔๖ และที่โรงเรียนค่า HI ร้อยละ ๓๗.๕๐ ส่วนค่า CI ร้อยละ๑๕.๗๙ จากการดำเนินงานของโรงเรียนเป็นผลให้ค่า HI และค่า CI ลดลง โดย ค่า HI ลดลงเหลือ ร้อยละ ๐ และค่า CI ลดลง ไม่เกินร้อยละ ๐ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เป็นผลให้ปริมาณของยุงลายลดลง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคในโรงเรียนและชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ค่า HOUSE INDEX (HI) ลดลง และไม่เกินร้อยละ 10 ของหลังคาเรือน 2. ค่า CONTRAINNER INDEX (CI) ลดลง และไม่เกินร้อยละ 0
0.00 0.00

 

2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs เพิ่มขึ้น 2. ร้อยละ 40 ของครัวเรือน โรงเรียน มีการจัดทำถังขยะอินทรีย์ 3. นักเรียน ร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ และคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล 4. มีแกนนำสุขภาพนักเรียน และแกนนำสุขภาพผู้ปกครองเกิดขึ้น อย่างน้อย 1 กลุ่ม และมีการดำเนินกิจกรรมเป็นปัจจุบัน 5. มีมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคและการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนอย่างน้อย 5 มาตรการ
0.00 87.17

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 126 126
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 87 87
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ครู 9 9
ผู้ปกครอง 30 30

บทคัดย่อ*

รายงานการประเมินผลโครงการโรงเรียนสะอาด ปราศจากโรคติดต่อในท้องถิ่น ของโรงเรียนบ้านปิใหญ่ ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคในโรงเรียนและชุมชน 2. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน มีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ ๑ อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ๓Rs/สาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์แก่นักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนได้ดำเนินการจัดการอบรมโดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง  การจัดการขยะแบบ๓Rsและสาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์แก่นักเรียนและผู้ปกครอง โดยมีเป้าหมาย นักเรียน ป.๑ – ป.๖ จำนวน ๘๗ คน ผู้ปกครอง จำนวน ๓๐ คน ครู จำนวน ๙ คน รวมจำนวน ๑๒๖ คน และตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ ๓Rs และร้อยละ ๔๐ ของครัวเรือน โรงเรียน มีการจัดทำถังขยะอินทรีย์ พบว่า ผลจากการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๐๙ และผลจากการทดสอบความรู้หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๑๗ จำนวนครัวเรือนและโรงเรียนมีการจัดทำถังขยะอินทรีย์ คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๓๐ ทางโรงเรียนได้สำรวจความพึงพอใจเพิ่มเติม พบว่าคะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ๘๘.๘๓ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อการจัดการขยะแบบ ๓Rs มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๙๔.๑๓ รองลงมาคือ ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อการคัดแยกขยะที่ต้นทาง มีค่าเฉลี่ย ๙๑.๔๓ ส่วนความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อสาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ๘๖.๐๓

กิจกรรมที่ ๒ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน โรงเรียนดำเนินการจัดการขยะแบบ 3Rs การคัดแยกขยะตามประเภทของขยะ การสร้างแกนนำนักเรียนผู้ปกครอง ติดตามผลการดำเนินงานและร่วมกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในท้องถิ่นและและการจัดการขยะ โดยมีเป้าหมายนักเรียน ป.1 - ป.6 จำนวน 87 คน ผู้ปกครอง จำนวน 30 คน ครู จำนวน 9 คน แกนนำนักเรียน จำนวน 20 คน แกนนำชุมชน 10 คน ตัวชี้วัดความสำเร็จ นักเรียนร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ และคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล พบว่านักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะ และคัดแยกขยะแต่ละประเภทลงในภาชนะรองรับขยะที่จัดเตรียมได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.76 มีแกนนำสุขภาพนักเรียนและแกนนำสุขภาพผู้ปกครองเกิดขึ้น จำนวน 4 กลุ่ม และมีการดำเนินกิจกรรมเป็นปัจจุบัน และมีการกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในท้องถิ่นและการจัดการขยะ จำนวน 7 มาตรการ

กิจกรรมที่ 3 ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน ให้เป็นพื้นที่สีเขียว โรงเรียนดำเนินการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ กิจกรรม Bic cleaning day ติดป้ายห้ามนำภาชนะโฟมมาใช้ในสถานศึกษา รณรงค์การใช้แก้วน้ำส่วนตัวแทนการใช้แก้วพลาสติก ส่งเสริมสนับสนุนการใช้ถุงผ้า ปิ่นโต ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลดการใช้ถุงพลาสติก และการสำรวจค่า HI และค่า CI โดยนักเรียนแกนนำอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง เป้าหมาย นักเรียน ป.1 - ป.6 จำนวน 87 คน ตัวชี้วัดความสำเร็จ ค่า HI ลดลงไม่เกินร้อยละ 10 ส้วนค่า CI ลดลง โดยค่า HI ลดลงเหลือร้อยละ 0 และค่า CI ลดลง ไม่เกินร้อยละ 0 ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เป็นผลปริมาณของยุงลายลดลงด้วย

โรงเรียนได้ดำเนินการตคามระบบ PDCA โดยบูรณาการเข้ากับกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและวิทยากรจากภายนอก มาจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมาย เห็นได้จากนักเรียน ผู้ปกครอง ในชุมชนมรจิตสำนึกในการคัดแยกขยะโดยการใช้กระบวนการ 3Rs เข้ามาขับเคลื่อนในการคัดแยกขยะ สามารถจัดการขยะได้อย่างเป็นระบบ ทำให้โรงเรียนสะอาดร่มรื่น น่าอยู่ น่าเรียน มีภูมิทัศน์ แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมภายทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียน โรงเรียนปราศจากโรคติดต่อในท้องถิ่น ทำให้ผู้เรียนมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ตลอดจนการรู้จักวิธีกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและแมง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคต่างๆลดลง ทำให้โรงเรียน ชุมชนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh