กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออก/ไข้ปวดข้อยุงลาย
รหัสโครงการ 63-L5245-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.ท่าโต้
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรวิภา จันทโร
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฐฏเกียรติ ชำนิธุรการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.774,100.524place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข และเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น สถานการณ์โรคปัจจุบัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้ (ม.3 ม.4 และ ม.5) พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2562 (มกราคม - พฤศจิกายน 2562) จำนวน 6 ราย และไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวน 4 ราย ซึ่งพบว่าโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนและมาตรการควบคุมโรคทีได้ผลในขณะนี้ ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรค หลักในการควบคุมโรคเป็นการยาก หากจะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข , อสม. และผู้นำชุมชนช่วยกันควบคุมและป้องกันโรคดังกล่าวในหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ ร่วมกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่าง ๆ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้ จึงได้จัดทำโครงการ "รณรงค์ ควบคุมโรคไข้เลือดออก/ไช้ปวดข้อยุงลาย" เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนได้เห็นความสำคัญการร่วมกันในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรีน และชุมชน 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  1. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียน และชุมชน
  3. สามารถให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน และชุมชน และอื่น ๆ ร่วมกันวางแผนการดำเนินการ
  2. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นรายหมู่บ้าน โดยวิธี   2.1 ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชนร่วมกับโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและโรงเรียน วัด
      2.2 ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน   2.3 ทางชีวภาพ ส่งเสริมให้ชุมชนรักษาสิ่งแวดล้อม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
  5. ทำให้สามารถลดความชุกของลุกน้ำยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2563 16:20 น.