กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID – 19) ผู้เสี่ยงติดเชื้อสถานที่กักกันตำบลละงู
รหัสโครงการ 63-L5313-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลละงู
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 20 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2564
งบประมาณ 147,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุวรรณี แซ่หลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 147,200.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 147,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ตลอดจนประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย ขณะนี้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลก (ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก) และประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสม ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 จำนวน 3,033 ราย เสียชีวิต 56 ราย  กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมโรคในทุกพื้นที่ และด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 ในประเทศไทย ส่งผลให้มีประชาชนเสี่ยงที่จะติดเชื้อ เนื่องจากปัจจัยประชาชนเดินทางกลับมาจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือเดินทางกลับจากกรุงเทพมหานคร สร้างความกังวลให้กับบุคคลในชุมชนต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคในวงกว้างมากขึ้น คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ประกาศให้โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็น โรคติดต่ออันตราย การแยกกักกันเพื่อสังเกตอาการเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 34 และมาตรา 35 ปัจจุบันในพื้นที่ตำบลละงู ได้มีผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ได้แก่ประเทศมาเลเซีย จำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) จึงกำหนดให้ที่ว่าการอำเภอละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นสถานที่กักกันเพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วย(Local Quarantine) ระดับตำบล ระยะเวลาการกักตัวจำนวน 14 วัน ประกอบด้วย หอประชุมที่ว่าการอำเภอละงูชั้นบน ชั้นล่าง ศาลาละหมาดที่ว่าการอำเภอละงู บ้านพักนายอำเภอ ศาลาละหมาด อบต.ละงู และเต้นท์มีหลังคาจำนวน 6 เต้นท์ จากการติดตามการเฝ้าระวัง COVID-19 บุคคลที่กลับมาจากพื้นที่มีการระบาดต่อเนื่อง ณ สถานที่พักไว้เพื่อสังเกตอาการ Local Quarantine ตำบลละงู ข้อมูล ณวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 มียอดผู้กักตัว จำนวน 104 คน ส่งกลับบ้านไปแล้ว จำนวน 171 คน การดำเนินการดังกล่าวยังขาดครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันควบคุมโรค ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลละงู จึงขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู เพื่อจัดหาครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานที่กักกันดังกล่าวและในสถานที่อื่นที่มีความเสี่ยง จึงต้องดำเนินการจัดทำ โครงการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ผู้เสี่ยงติดเชื้อสถานที่กักกันตำบลละงู

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้พื้นที่ศูนย์กักกันและพื้นที่เสี่ยงปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา COVID -19

เจ้าหน้าที่ และผู้กักกันตัวมีเครื่องมือและอุปกรณ์การควบคุมป้องกันโรคโควิด-19

0.00
2 2. เพื่อจัดหาครุภัณฑ์และวัสดุ อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ป้องกันควบคุมโรคCOVID-19

มีอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินการในการจัดบริการตามแผน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 147,200.00 3 147,200.00
1 มิ.ย. 63 1. ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงาน 0 2,300.00 2,300.00
1 มิ.ย. 63 - 20 ก.ย. 63 2. สนับสนุนจุดคัดกรองสุขภาพสถานกักกันตัวตำบลละงู และจุดเสี่ยง 0 7,200.00 7,200.00
3 มิ.ย. 63 จัดหาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์ป้องกันควบคุมโรค COVID-19 0 137,700.00 137,700.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ     2. ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ติดต่อประสานงาน     3. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID - 19     4. จัดหาครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์การป้องกันโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19         5.ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคในสถานที่กักกัน ตามเกณฑ์การควบคุมโรคที่กำหนด
            6. ติดตามสรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ประชาชนได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID - 19     2.  ไม่พบผู้ป่วยในพื้นที่ และมีระบบเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยที่เข้าได้ตามนิยามโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2563 14:37 น.