กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการคลินิกโรคไม่ติดต่อ NCD คุณภาพ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตำบลยาบหัวนาอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
รหัสโครงการ 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ยาบหัวนา
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ภิญยา ไปมูลเปี่ยม
พี่เลี้ยงโครงการ วิรุ่ง ตันมาดี
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดน่าน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 175 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

เสี่ยงHTคน/กลุ่มเป้าหมาย35*100

12.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
5.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)
8.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
2.50
5 ตำบลยาบหัวนา 7 หมู่บ้าน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีชน3เผ่า ม้ง เมี่ยน เมือง 3 สถานบริการ ห่างจากตังอำเภอ 57 กม ประชากร 5500 คน อสม 98 คน จนท สาสุข 16 คน พบกลุ่มเสี่ยงเพิ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เพิ่ม และ โรคหลอดเลือดสมอง เพ
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นสถานบริการระดับปฐมภูมิ ที่ให้การดูแลสุขภาพประชาชนแบบองค์รวม เน้นบริการหลักในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของพื้นที่ทั่วประเทศ ให้บริการเชิงรุก และเชิงรับเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดการ เจ็บป่วย ลดความพิการ และการสูญเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อการพัฒนาระบบบริการของคลินิกโรคไม่ติดต่อ (์NCD) เป็นหัวใจสำคัญเชิงระบบ ส่งผลต่อกระบวนการ และคุณภาพ ของการให้บริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบหัวนา ตำบลยาบหัวนาอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน”จึงได้ดำเนินงานคลินิ NCD คุณภาพ (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปี 2562 ขึ้น เพื่อให้ รพ.สต. ประยุกต์ใช้ดำเนินงานพัฒนาคุณภาพของคลินิก NCD ปรับให้เหมาะสม ตามบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนสามารถนำไปปรับใช้กับโรคไม่ติดต่ออื่น ๆ ได้ จะเป็นประโยชน์ในการสร้างโอกาสพัฒนาคุณภาพระบบบริการของคลินิก NCD ใน รพ.สต.ต่อไป ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบหัวนา สสช ฮากฮาน รพสต.บ่อหอย ให้บริการผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 25 คน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 150 คน และมีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงมารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังใน รพ.สต. เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจากการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในปี 2562 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 6 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 8 คน และกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 40 คน และกลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คนปัจจุบันแม้ว่าการรักษาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงใน รพ.สต. จะดีขึ้น กล่าวคือ มีแพทย์ออกให้บริการตรวจรักษาถึงในระดับ รพ.สต. ปีละ 1ครั้งเท่านั้น แต่กลุ่มที่สงสัยรายใหม่ กลุ่มป่วยขาดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระบบการติดตามดูแลฟื้นฟู การให้ความรู้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิต และสังคม ภายหลังการรักษา ก็ยังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังดังกล่าว มีภาวะแทรกซ้อน เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบหัวนา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

5.00 1.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

12.00 5.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

8.00 2.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

0.00
5 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

2.50 0.00
6 1.เพื่อพัฒนาคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูงและสร้างแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีคุณภาพมาตรฐาน 2.เพื่อสร้างการเข้าถึงบริการในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงและญาติในชุมชน 3.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในด้านการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ

1.มีคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2.กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย เข้า ร่วมกิจกรรม มากกว่า ร้อยละ  80
3.กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยและญาติสามารถการเข้าถึงบริการในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพได้มากกว่าร้อยละ 80 4.การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในด้านการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพมากกว่าร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 11,500.00 1 11,500.00
18 - 22 ส.ค. 63 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มสงสัย รายใหม่ 100 11,500.00 11,500.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 175 28,500.00 5 28,500.00
1 - 17 ม.ค. 63 สำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ 0 0.00 0.00
14 พ.ค. 63 รณรงค์ป้องกันโรคเบาหวาน 0 7,600.00 7,600.00
17 พ.ค. 63 รณรงค์วันความดันโลหิตสูง 0 1,200.00 1,200.00
19 ส.ค. 63 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มป่วย 175 คน 175 19,250.00 19,250.00
17 ก.ย. 63 - 17 ก.ค. 63 สรุปผลการดำเนินงาน 0 450.00 450.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์
  2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์
  3. ผู้ป่วยและญาติ มีส่วนร่วมในด้านการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ และมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2563 00:00 น.