กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันเฝ้าระวังและประเมินในเด็กปฐม (smart kid) ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L3062-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 11,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุทธิมา พิชัยวงศ์ธรรมา ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของ smart kidงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุด บุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคตฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุมโดยคิดเป็นร้อยละ 44 ของจำนวนเด็กทั้งหมดและด้านโภชนาการเด็ก สูง ดีสมส่วน คิดเป็นร้อยละ 61.43 ของจำนวนเด็กทั้งหมด จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนและส่งเสริมด้านโภชนาการ ทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 0–5 ปี ได้รับสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค(วัคซีน)ครบตามเกณฑ์

 

70.00
2 เพื่อให้เด็ก 0–5 ปี ได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

 

70.00
3 เพื่อให้เด็ก 0–5 ปี ได้รับการประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

 

70.00
4 เพื่อให้เด็ก 0–5 ปี ได้รับการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก

 

70.00
5 เพื่อให้เด็ก 0–5 ปี ที่มีปัญหาด้านสุขภาพได้รับการดูแลและแก้ไข

 

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,250.00 2 11,250.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 1จัดประชุมให้ความรู้ เด็กsmart kid 0 7,500.00 7,500.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมในการแก้ปัญหา smart kid ในชุมชน ใน 4 ด้าน 0 3,750.00 3,750.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 เด็ก 0–5 ปี ได้รับสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค(วัคซีน) ครบตามเกณฑ์
  2. ร้อยละ 80 เด็ก 0–5 ปี ได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
  3. ร้อยละ 90 เด็ก 0–5 ปี ได้รับการประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
  4. ร้อยละ 90 เด็ก 0–5 ปี ได้รับการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก
  5. ร้อยละ 100 เด็ก 0–5 ปี ที่มีปัญหาด้านสุขภาพได้รับการดูแลและแก้ไข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2563 12:30 น.