กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ บ้าน โรงเรียน ชุมชนฯ
รหัสโครงการ 60-L5211-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีฟา บิลหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 เม.ย. 2560 31 ธ.ค. 2560 28,000.00
รวมงบประมาณ 28,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้นในอดีตที่ผ่านมากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๗๐-๗๕เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ๕-๑๔ปีซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนสำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดสงขลามีจำนวนผู้ป่วย จำนวน ๕,๓๕๓ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๓๘๐.๗๔ ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต จำนวน ๑๑ ราย (ข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๕๙ ถึง ๕ มกราคม ๒๕๖๐ ) ส่วนสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในอำเภอบางกล่ำนั้นมีจำนวนผู้ป่วย จำนวน ๘๘ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๘๖.๕๑ ต่อประชากรแสนคน ไม่มีพบผู้เสียชีวิต (ข้อมูล ๑ มกราคม ถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ )ในปี ๒๕๕๙ พื้นที่ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน ๑๒ราย พบว่ามีอัตราการป่วย๒๖๘.๓๑ต่อประชากรแสนคน(ข้อมูล ๑ มกราคม ถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ )มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรคซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียวดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่นการรณรงค์การร่วมมือกับโรงเรียนชุมชนสถานที่ราชการต่างๆการจัดหาสารฆ่าลูกน้ำการพ่นหมอกควันและสารเคมีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายการใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำและสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้นซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหารตำบลบ้านหารอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกัน โรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มอายุ

สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน ๕๐ต่อแสนประชากร

2 ๒. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน รวมไปถึงนักเรียนในโรงเรียน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก

3 ๓. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออก

ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้านชุมชนวัดโรงเรียนให้น้อยลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ (Plan)

  • ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
  • จัดทำโครงการเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่ออนุมัติโครงการต่อไป
  • ประชุมชี้แจง อสม และครู เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการลงพื้นที่เป็นรายเดือน จำนวน ๔ ครั้ง การดำเนินงาน (Do)

    ๑.กิจกรรมในโรงเรียน

    • สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์พร้อมทำลายลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนผนึกกำลังเยาวชนด้านภัยไข้เลือดออก ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียน
    • ประสานกับครูเพื่อให้นักเรียนสำรวจบ้านของนักเรียนและรัศมีใกล้เคียง
    • รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกวันศุกร์ ในโรงเรียน

    ๒.กิจกรรมในชุมชน

  • รณรงค์ สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในเขตพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข
  • ให้สุขศึกษา โดยการแจกแผ่นพับโรคไข้เลือดออก โลชั่นกันยุงและทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  • กิจกรรม Big Cleaning Day ในศาสนสถาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน ๕๐ต่อแสนประชากร

๒. ให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก

๓. ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้านชุมชนวัดโรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2560 11:21 น.