กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ควบคุมและป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L2475-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ
วันที่อนุมัติ 17 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 สิงหาคม 2563 - 27 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 47,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรไซดะห์ สามะอาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ระหว่างปี 2559-2573 โครงการมาลาเรียโลก (Global Malaria Program) มีเป้าหมายมุ่งสู่การกำจัด โรคไข้มาลาเรียและผลักดันให้ประเทศที่มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียน้อยกว่า 1 ต่อพันประชากร ยกระดับนโยบายจากการควบคุมโรค (Malaria Control) เป็นนโยบายการกำจัดโรค (Malaria Elimination) และประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนนโยบายดังกล่าวระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 66 ในปี 2556 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทยร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ร่วมลงนามข้อตกลงในการผลักดัน นโยบายและสนับสนุนงบประมาณการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ในที่ประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 9 ณ กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ ปี2557 นอกจากนี้การกำจัดโรคไข้มาลาเรียยังเป็นเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ(United Nation)และ ประเทศไทยได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวด้วย กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้พัฒนาแผนยุทธศาสตร์กำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ.2560-2569 โดยการมีส่วนร่วมและได้รับข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มาลาเรียโลก (Global Technical Strategy 2016-2030) และยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรีย สำหรับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง (Strategy for Malaria Elimination in Greater Mekong Sub- region2015- 2030) ตลอดจนสอดคล้องกับกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี กระทรวงสาธารณสุขรวมถึงพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 การควบคุมโรคไข้มาลาเรียทั่วโลกในทศวรรษที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ตั้งแต่ปี 2543 ถึง 2559แนวโน้มของโรคไข้มาลาเรียลดลงอย่างต่อเนื่องมากกว่าร้อยละ 75 ใน 55 ประเทศทั่วโลก และจำนวน ผู้ป่วยมาลาเรียทั่วโลกลดลงประมาณร้อยละ 47 สำหรับประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการควบคุมโรคไข้มาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญจำนวนผู้ป่วยลดลงจาก 150,000 ราย ในปี 2543 เหลือ 14,667ราย ในปี 2560หรือลดลง ประมาณร้อยละ 90 ผู้ป่วยส่วนใหญ่พบตามแนวชายแดนที่มีการเคลื่อนย้ายของประชากรข้ามพรมแดน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีปัญหาเชื้อมาลาเรียดื้อต่อยารักษา ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงสำหรับ
จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีปัญหาโรคไข้มาลาเรียมาต่อเนื่องและมีการระบาดทุกปี พบว่าสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียต่อแสนประชากร ปี 2561 ถึงปี 2563 (2.53, 3.66, 0.51) ตามลำดับส่วนใหญ่ผู้ป่วยประกอบอาชีพหรือปฏิบัติหน้าที่ในป่า สวน ไร่ ในเวลากลางคืนมากกว่าร้อยละ 70 ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะ พบมาก 2 ช่วง ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมกราคม และพฤษภาคมถึงสิงหาคม ในจังหวัดนราธิวาสพบว่าอำเภอจะแนะมีผู้ป่วยเป็นอันดับที่ 5 อัตราป่วย 2.63 ในปี 2562และอำเภอจะแนะมีพื้นที่ตำบลช้างเผือกพบผู้ป่วยมาลาเรียมากที่สุดคือ อัตราป่วย 14.81 ในปี 2562 อย่างไรก็ตามในปี 2563 ตำบลช้างเผือกพบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียจำนวนน้อย เพราะผลจากการควบคุมป้องกันโรคไข้มาลามีหลายองค์เข้ามาดำเนินงานกิจกรรมกำจัดโรค เช่น ตั้งหน่วยมาลาเรียคลินิกในชุมชน พ่นสารเคมีตกค้างในบ้านอาศัยเมื่อพบผู้ป่วย และค้นหาผู้ป่วยเพิ่ม พบว่า กิจกรรมดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมต่อการควบคุมโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ตำบลช้างเผือก ดังนั้นจึงต้องมีกิจกรรมกำจัดยุงตามพื้นที่รอบๆที่ตั้งบ้านเรือน และสนับสนุนให้ประชาชนใช้เจลที่ชุมชนทำเอง เพื่อป้องกันยุงกัด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้แกนนำสามารถทำเจลไล่ยุงใช้ในชุมชนได้

ชุมชนมีเจลไล่ยุงครอบคลุม

500.00 400.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้มลาเรีย

อัตราป่วยโรคไข้มาลาเรียลดลงจากปี 2562

3.66 0.37
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,000.00 0 0.00
8 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 อบรมเรื่องวัสดุไล่ยุงในชุมชน 0 23,350.00 -
9 ส.ค. 63 - 6 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 2 พ่นสารเคมีกำจัดยุง 0 23,400.00 -
26 - 27 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลและทำรายงานส่งกองทุน 0 250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลจาการดำเนินงานทำให้อัตราป่วยโรคไข้มาลาเรียลดลง และประชาชนได้รับการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ในพื้นที่และประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2563 00:00 น.