กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการปัญหาสุนัขในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L7252-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 50,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนฤทธิรงค์ นพรัตน
พี่เลี้ยงโครงการ นางจินดาพร แซ่เฉีย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ยังสามารถแก้ไขไม่ได้และยังเป็นปัญหาในด้านสาธารณสุข ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อเรบี่ส์ไวรัส(RabiesVirus)มีรูปร่างคล้ายกระสุนปืน เมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์แล้วจะเดินทางไปตามเส้นประสาทเข้าสู่สมอง เมื่อเกิดอาการขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องเสียชีวิตทุกราย ต่อมาจึงจัดเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัขแมวกระรอกหนูวัวควายฯลฯซึ่งเชื้อนี้สามารถอยู่ในน้ำลายของสัตว์ เช่น น้ำลายของสุนัขและเชื้อสามารถแพร่กระจายโดยถูกการกัดหรือสัมผัสกับน้ำลาย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงหาวิธีการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามระบบและอยู่ภายใต้ข้อกฎหมายต่างๆจึงมีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและยั่งยืน สามารถลดความเสี่ยงและลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและสัตว์ ทางเทศบาลเมืองสะเดาจึงได้จัดทำโครงการจัดการปัญหาสุนัขในชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขในชุมชนอย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการจำนวนสุนัขในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปในทางเดียวกันเพื่อให้จำนวนประชากรสุนัขในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดามีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากจำนวนประชากรของสุนัขในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดา ที่มีเจ้าของจำนวน ๙๙๖ ตัว เป็นสุนัขเพศผู้ ๖๐๗ ตัว สุนัขเพศเมีย ๓๘๘ ตัว รวมทั้งหมด ๙๙๕ ตัว สุนัขจรจัด ๕๓ ตัว และปัญหาสุนัขจรจัดในเทศบาลเมืองสะเดาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ๒๕๖๓ นั้นมีประชาชนทั้ง ๑๙ ชุมชมร้องเรียนเรื่องสุนัขจรจัดสร้างความเดือนร้อนให้กับหลายๆชุมชน เช่นสุนัขจรจัดทำร้ายและกัดคนในชุมชน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนและมีประสิทธิภาพทำให้ประเทศไทยปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าในที่สุด ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ทางเทศบาลเมืองสะเดา ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการฯดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการจัดการที่ถูกต้องกับสุนัขในชุมชน

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

0.00
2 เพื่อสร้างทัศนคติที่เป็นบวกเกี่ยวกับสุนัขในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อจัดการให้สุนัขทุกตัวในชุมชนสามารถจับบังคับได้ และมีการขึ้นทะเบียนประวัติ

จำนวนสุนัจที่มีป้ายห้อยคอระบุสีของป้ายอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

0.00
4 เพื่อควบคุมประชากรสุนัขและดูแลสุขภาพสุนัขในชุมชน

 

0.00
5 เพื่อสร้างมาตรการที่เหมาะสมกับสุนัขที่เข้ามาใหม่ในชุมชนซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงาน และชุมชนต่างๆในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเดา

 

0.00
6 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุนัขในชุมชนให้เป็นมิตรกับคนในชุมชน

 

0.00
7 เพื่อควบคุมประชากรสุนัขในที่สาธารณะไม่ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยการผ่าตัดทำหมัน

เจ้าของนำสุนัข พาสุนัขมาทำหมันอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

0.00
8 เพื่อตรวจสุขภาพและป้องกันโรคของสุนัขและโรคสัตว์สู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

นำสุนัขมาฉีดวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,800.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับสุนัขในชุมชน 0 50,800.00 -
1 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์เลี้ยงทั้ง ๑๙ ชุมชนโดยให้ประชาชนนำสัตว์เลี้ยงมารับวัคซีน ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสะเดา 0 0.00 -
1 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมทำหมันให้สุนัขในชุมชนเพื่อควบคุมการเพิ่มจํานวนประชากรสุนัขในชุมชน 0 0.00 -
1 - 31 ส.ค. 63 ทำป้ายห้อยคอสุนัขในเขตชุมชน ๑๙ ชุมชน ด้วยการระบุสีของป้ายห้อยคอ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประธานชุมชน, ตัวแทน อสม.ทั้ง ๑๙ ชุมชน เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการ และประชาชนที่สนใจในกิจกรรม
2.ประชาชนที่นำสัตว์เลี้ยงมาฉีดวัคซีน /กิจกรรมได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมิน 3.สุนัขในชุมชนมีจำนวนลดน้อยลงและยังควบคุมปัญหาโรคระบาดในสัตว์ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า 4.ช่วยป้องกันการทำร้ายจากสุนัขในชุมชนและช่วยลดปัญหาสุนัขจรจัดเข้ามาในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 00:00 น.