กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการปัญหาสุนัขในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

1.นายนฤทธิรงค์ นพรัตน
2.นางจินดาพร แซ่เฉีย
3.นางสมยาหวังจิ
4.นายธนเดชเตียวสกุล
5.นายกิตติเรืองเริงกุลฤทธิ์

อาคารศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสะเดา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ยังสามารถแก้ไขไม่ได้และยังเป็นปัญหาในด้านสาธารณสุข ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อเรบี่ส์ไวรัส(RabiesVirus)มีรูปร่างคล้ายกระสุนปืน เมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์แล้วจะเดินทางไปตามเส้นประสาทเข้าสู่สมอง เมื่อเกิดอาการขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องเสียชีวิตทุกราย ต่อมาจึงจัดเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัขแมวกระรอกหนูวัวควายฯลฯซึ่งเชื้อนี้สามารถอยู่ในน้ำลายของสัตว์ เช่น น้ำลายของสุนัขและเชื้อสามารถแพร่กระจายโดยถูกการกัดหรือสัมผัสกับน้ำลาย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงหาวิธีการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามระบบและอยู่ภายใต้ข้อกฎหมายต่างๆจึงมีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและยั่งยืน สามารถลดความเสี่ยงและลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและสัตว์ ทางเทศบาลเมืองสะเดาจึงได้จัดทำโครงการจัดการปัญหาสุนัขในชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขในชุมชนอย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการจำนวนสุนัขในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปในทางเดียวกันเพื่อให้จำนวนประชากรสุนัขในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดามีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากจำนวนประชากรของสุนัขในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดา ที่มีเจ้าของจำนวน ๙๙๖ ตัว เป็นสุนัขเพศผู้ ๖๐๗ ตัว สุนัขเพศเมีย ๓๘๘ ตัว รวมทั้งหมด ๙๙๕ ตัว สุนัขจรจัด ๕๓ ตัว และปัญหาสุนัขจรจัดในเทศบาลเมืองสะเดาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ๒๕๖๓ นั้นมีประชาชนทั้ง ๑๙ ชุมชมร้องเรียนเรื่องสุนัขจรจัดสร้างความเดือนร้อนให้กับหลายๆชุมชน เช่นสุนัขจรจัดทำร้ายและกัดคนในชุมชน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนและมีประสิทธิภาพทำให้ประเทศไทยปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าในที่สุด ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ทางเทศบาลเมืองสะเดา ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการฯดังกล่าวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการจัดการที่ถูกต้องกับสุนัขในชุมชน

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

0.00
2 เพื่อสร้างทัศนคติที่เป็นบวกเกี่ยวกับสุนัขในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อจัดการให้สุนัขทุกตัวในชุมชนสามารถจับบังคับได้ และมีการขึ้นทะเบียนประวัติ

จำนวนสุนัจที่มีป้ายห้อยคอระบุสีของป้ายอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

0.00
4 เพื่อควบคุมประชากรสุนัขและดูแลสุขภาพสุนัขในชุมชน

 

0.00
5 เพื่อสร้างมาตรการที่เหมาะสมกับสุนัขที่เข้ามาใหม่ในชุมชนซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงาน และชุมชนต่างๆในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเดา

 

0.00
6 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุนัขในชุมชนให้เป็นมิตรกับคนในชุมชน

 

0.00
7 เพื่อควบคุมประชากรสุนัขในที่สาธารณะไม่ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยการผ่าตัดทำหมัน

เจ้าของนำสุนัข พาสุนัขมาทำหมันอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

0.00
8 เพื่อตรวจสุขภาพและป้องกันโรคของสุนัขและโรคสัตว์สู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

นำสุนัขมาฉีดวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประธานชุมชนและ อสม.19 ชุมชนๆ ละ 10คน และประชาชน 190

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/07/2020

กำหนดเสร็จ : 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับสุนัขในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับสุนัขในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับสุนัขในชุมชน โดยเชิญวิทยากรพิเศษมาให้ความรู้เกี่ยวกับสุนัขในชุมชนและความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า เป็นกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชนทั้ง๑๙ ชุมชนโดยมีขอบเขตเนื้อหาดังนี้ ๑.) สุนัขในชมชุนสร้างความเดือนร้อนอย่างไรกับคนในชุมชน ๒.) วิธีการป้องกันไม่ให้สุนัขในชุมชนเพิ่มจำนวนและรับมือกับสุนัขใหม่ที่เข้ามาในชุมชน ๓.) โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากอะไร ๔.) การสังเกตอาการของสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
๕.) การรักษาหากเกิดโรคพิษสุนัขบ้าระบาดในชุมชน ๖.) การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์เลี้ยงทั้ง ๑๙ ชุมชนโดยให้ประชาชนนำสัตว์เลี้ยงมารับวัคซีน ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสะเดา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์เลี้ยงทั้ง ๑๙ ชุมชนโดยให้ประชาชนนำสัตว์เลี้ยงมารับวัคซีน ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสะเดา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาชนที่นำสัตว์เลี้ยงมาฉีดวัคซีน /กิจกรรมได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมิน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นำสุนัขมาฉีดวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำหมันให้สุนัขในชุมชนเพื่อควบคุมการเพิ่มจํานวนประชากรสุนัขในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทำหมันให้สุนัขในชุมชนเพื่อควบคุมการเพิ่มจํานวนประชากรสุนัขในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สุนัขในชุมชนมีจำนวนลดน้อยลงและยังควบคุมปัญหาโรคระบาดในสัตว์ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจ้าของนำสุนัข พาสุนัขมาทำหมันอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ทำป้ายห้อยคอสุนัขในเขตชุมชน ๑๙ ชุมชน ด้วยการระบุสีของป้ายห้อยคอ

ชื่อกิจกรรม
ทำป้ายห้อยคอสุนัขในเขตชุมชน ๑๙ ชุมชน ด้วยการระบุสีของป้ายห้อยคอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ช่วยป้องกันการทำร้ายจากสุนัขในชุมชนและช่วยลดปัญหาสุนัขจรจัดเข้ามาในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนสุนัจที่มีป้ายห้อยคอระบุสีของป้ายอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,800.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ
จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นเงินจำนวน50,800.- บาท (ห้าหมื่นแปดร้อยบาทถ้วน) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมโครงการจัดการปัญหาสุนัขในชุมชนเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้
รายละเอียดค่าใช้จ่าย ระเบียบ/หลักเกณฑ์/แนวทาง
1) ค่าอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ มื้อละ 75 บาท1 มื้อ จำนวน 200 คน เป็นเงิน 15,000.-บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ มื้อละ 25 บาท2 มื้อ จำนวน 200คนเป็นเงิน10,000.-บาท
3) ค่าสมนาวิทยากร
-ค่าวิทยากรประจำกลุ่มฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อกล่าวถึงสถานการณโรคพิษสุนัขบ้า
-สุนัขในชมชุนสร้างความเดือนร้อนอย่างไรกับคนในชุมชน
-วิธีการป้องกันไม่ให้สุนัขในชุมชนเพิ่มจำนวนและรับมือกับสุนัขใหม่ที่เข้ามาในชุมชน
-โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากอะไร
-การสังเกตอาการของสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
-การรักษาหากเกิดโรคพิษสุนัขบ้าระบาดในชุมชน
-การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
จำนวน 4 ครั้งชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง ต่อ 1 วิทยากรพิเศษ รวมเป็นเงิน 14,400.-บาท
๔) ค่าวัสดุอุปกรณ์/ป้ายไวนิล
-ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสาร และสิ่งพิมพ์ ชุดละ 12 บาท X200 คน เป็นเงิน 2,400.-บาท
-ค่าไวนิล 2,400 บาทเป็นเงิน 2,400.-บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม เป็นเงิน 6,600.-บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประธานชุมชน, ตัวแทน อสม.ทั้ง ๑๙ ชุมชน เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการ และประชาชนที่สนใจในกิจกรรม
2.ประชาชนที่นำสัตว์เลี้ยงมาฉีดวัคซีน /กิจกรรมได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมิน
3.สุนัขในชุมชนมีจำนวนลดน้อยลงและยังควบคุมปัญหาโรคระบาดในสัตว์ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า
4.ช่วยป้องกันการทำร้ายจากสุนัขในชุมชนและช่วยลดปัญหาสุนัขจรจัดเข้ามาในพื้นที่


>