กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านสะพานหมาก ร่วมใจไร้พุง ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5166-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.๑ บ้านสะพานหมาก
วันที่อนุมัติ 26 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2563 - 20 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 7,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.๑ บ้านสะพานหมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นายอดินันต์ ยามาสัน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลการสำรวจชุมชนหมู่ที่ 1 บ้านสะพานหมาก ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ร่วมกับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 ระหว่างวันที่ 8-25 ตุลาคม พ.ศ.2562 ในรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชน พบปัญหาสุขภาพของชุมชน คือ ความชุกของประชากรในชุมชนบ้านสะพานหมากอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความชุกของโรคอ้วนลงพุง ร้อยละ 52.4 ซึ่งสูงกว่าความชุกระดับประเทศที่สำรวจปี พ.ศ. 2557 อยู่ที่ร้อยละ 39.1ซึ่งปัญหาดังกล่าวสอดคล้องกับผลการทำประชาคม ที่ประชาชนได้ให้ความสำคัญในเรื่องโรคอ้วนลงพุง เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการแก้ไขเป็นอันดับที่สองรองจากโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งได้เคยทำโครงการเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ในช่วงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2562ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชน หมู่ที่ 1 บ้านสะพานหมากจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านโรคอ้วนลงพุง อันเป็นโรคที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกาย และปัญหาสุขภาพจิต ทำให้ความสามารถในการปฏิบัติงานที่ลดลง เกิดความทุพลภาพหรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ จึงเป็นที่มาของโครงการ “หมู่บ้านสะพานหมาก ร่วมใจไร้พุง”โดยเป็นการบูรณาการให้ความรู้ควบคู่ไปกับการนำเสนอวิธีการเพิ่มกิจกรรมทางกาย เพื่อลดอุบัติการณ์และภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วนลงพุง และสามารถนำโครงการไปปรับใช้กับพื้นที่อื่น ที่พบปัญหาคล้ายคลึงกันต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนลงพุงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ≥ ร้อยละ 80 มีคะแนนแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนลงพุง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น ≥ ร้อยละ 20

15.00 40.00
2 2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติต่อโรคอ้วนลงพุงมากขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 มีคะแนนทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะอ้วนลงพุงหลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น

60.00 100.00
3 3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติตนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อลดโรคอ้วนลงพุงได้ถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติกิจกรรมการฝึกทักษะด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและรักษาภาวะอ้วน ลงพุงได้ถูกต้องร้อยละ 100

60.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนลงพุงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติต่อโรคอ้วนลงพุงมากขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติตนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อลดโรคอ้วนลงพุงได้ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

20 มิ.ย. 63 - 20 ก.ย. 63 1.การให้ความรู้เรื่องโรคอ้วนลงพุง 2.การจัดกิจกรรมฝึกทักษะด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและรักษาภาวะอ้วนลงพุง 7,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.คลองหลา     2. จัดประชุมการดำเนินโครงการแก่ อสม และผู้นำชุมชน
        3. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ประชาชนในพื้นที่หมู่ 1 บ้านสะพานหมาก ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา     4.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคอ้วนลงพุง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและรักษาภาวะอ้วนลงพุงในบุคคลที่มีความสนใจเข้าโครงการ ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน โดยแบ่งการจัดอบรมเป็น 5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10 คนโดยเน้นการเว้นระยะห่างทางกายภาพ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19     5. ติดตั้งสื่อป้ายไวนิลให้ความรู้ ตามหมู่บ้าน     6. ติดตามผลการดำเนินงาน โดยใช้แบบสอบถามประเมินตนเอง และทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและรักษาอ้วนลงพุง     7. สรุปผล/ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คนในชุมชนมีความตระหนักถึงปัญหาของโรคอ้วนลงพุงมากขึ้น 2.คนในชุมชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนลงพุงมากขึ้น 3.อุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุงและภาวะน้ำหนักเกินในชุมชนมีปริมาณน้อยลง 4.เกิดกลุ่มหรือมีแกนนำในการออกกำลังกายประจำในหมู่บ้านหลังผ่านพ้นวิกฤตโรคระบาด COVID 19

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2563 00:00 น.