กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านสะพานหมาก ร่วมใจไร้พุง ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.๑ บ้านสะพานหมาก

ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 1 บ้านสะพานหมาก ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผลการสำรวจชุมชนหมู่ที่ 1 บ้านสะพานหมาก ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ร่วมกับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 ระหว่างวันที่ 8-25 ตุลาคม พ.ศ.2562 ในรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชน พบปัญหาสุขภาพของชุมชน คือ ความชุกของประชากรในชุมชนบ้านสะพานหมากอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความชุกของโรคอ้วนลงพุง ร้อยละ 52.4 ซึ่งสูงกว่าความชุกระดับประเทศที่สำรวจปี พ.ศ. 2557 อยู่ที่ร้อยละ 39.1ซึ่งปัญหาดังกล่าวสอดคล้องกับผลการทำประชาคม ที่ประชาชนได้ให้ความสำคัญในเรื่องโรคอ้วนลงพุง เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการแก้ไขเป็นอันดับที่สองรองจากโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งได้เคยทำโครงการเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ในช่วงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2562ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชน หมู่ที่ 1 บ้านสะพานหมากจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านโรคอ้วนลงพุง อันเป็นโรคที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกาย และปัญหาสุขภาพจิต ทำให้ความสามารถในการปฏิบัติงานที่ลดลง เกิดความทุพลภาพหรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ จึงเป็นที่มาของโครงการ “หมู่บ้านสะพานหมาก ร่วมใจไร้พุง”โดยเป็นการบูรณาการให้ความรู้ควบคู่ไปกับการนำเสนอวิธีการเพิ่มกิจกรรมทางกาย เพื่อลดอุบัติการณ์และภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วนลงพุง และสามารถนำโครงการไปปรับใช้กับพื้นที่อื่น ที่พบปัญหาคล้ายคลึงกันต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนลงพุงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ≥ ร้อยละ 80 มีคะแนนแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนลงพุง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น ≥ ร้อยละ 20

15.00 40.00
2 2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติต่อโรคอ้วนลงพุงมากขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 มีคะแนนทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะอ้วนลงพุงหลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น

60.00 100.00
3 3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติตนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อลดโรคอ้วนลงพุงได้ถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติกิจกรรมการฝึกทักษะด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและรักษาภาวะอ้วน ลงพุงได้ถูกต้องร้อยละ 100

60.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/06/2020

กำหนดเสร็จ 20/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.การให้ความรู้เรื่องโรคอ้วนลงพุง 2.การจัดกิจกรรมฝึกทักษะด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและรักษาภาวะอ้วนลงพุง

ชื่อกิจกรรม
1.การให้ความรู้เรื่องโรคอ้วนลงพุง 2.การจัดกิจกรรมฝึกทักษะด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและรักษาภาวะอ้วนลงพุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมโครงการ ขนาด 2.4 x 1.2 เมตร
    จำนวน 2 ป้ายๆละ500 บาท เป็นเงิน  1,000 บาท
  2. ค่าอุปกรณ์ให้ความรู้การจัดทำโครงการ -ค่าโปสเตอร์สี พิมพ์ข้อมูลความรู้ออกกำลังกาย 50 แผ่น ๆละ60 บาท เป็นเงิน 3,000บาท -ค่าแผ่นพับให้ความรู้โภชนาการ 50 แผ่นๆละ 1 บาท เป็นเงิน 50 บาท -ค่าฟิวเจอร์บอร์ดสื่อด้านโภชนาการ 5แผ่นๆละ50 บาท เป็นเงิน 250 บาท

- ค่ายางยืด ทำอุปกรณ์ทำอุปกรณ์ 10 ถุงๆละ 20 เป็นเงิน 200 บาท 3.ค่าป้ายไวนิลความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและรักษาภาวะอ้วนลงพุงจำนวน 6ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 3,000บาท รวมเป็นเงิน  7,500บาท(เงินเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2563 ถึง 20 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ≥ ร้อยละ 80 มีคะแนนแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนลงพุง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น ≥ ร้อยละ 20 2.ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 มีคะแนนทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะอ้วนลงพุงหลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น 3.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติกิจกรรมการฝึกทักษะด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและรักษาภาวะอ้วน ลงพุงได้ถูกต้องร้อยละ 100 4. มีการสร้างแนวทางร่วมกันเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดโรคอ้วนลงพุงในหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คนในชุมชนมีความตระหนักถึงปัญหาของโรคอ้วนลงพุงมากขึ้น
2.คนในชุมชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนลงพุงมากขึ้น
3.อุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุงและภาวะน้ำหนักเกินในชุมชนมีปริมาณน้อยลง
4.เกิดกลุ่มหรือมีแกนนำในการออกกำลังกายประจำในหมู่บ้านหลังผ่านพ้นวิกฤตโรคระบาด COVID 19


>