กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม


“ โครงการร้านชำคุณภาพ ใส่ใจผู้บริโภค เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านพูด ”

ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายวิวัฒน์ เสนาทิพย์

ชื่อโครงการ โครงการร้านชำคุณภาพ ใส่ใจผู้บริโภค เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านพูด

ที่อยู่ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2563-L3306-2-021 เลขที่ข้อตกลง 42/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการร้านชำคุณภาพ ใส่ใจผู้บริโภค เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านพูด จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการร้านชำคุณภาพ ใส่ใจผู้บริโภค เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านพูด



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการร้านชำคุณภาพ ใส่ใจผู้บริโภค เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านพูด " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2563-L3306-2-021 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 18,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง อีกทั้งระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง

      ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ มีสถานประกอบการต่างๆจำนวนมาก เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านแผงลอย รถเร่ขายยา ตลาดนัด ร้านขายยา และร้านขายของชำในหมู่บ้าน ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย ซึ่งจากการสำรวจข้อมูล ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด (หมู่ที่ ๑ , ๒ , ๘ , ๑๑ ,๑๒ และหมู่ที่ ๑๓) มีจำนวนร้านขายของชำ จำนวน 53 ร้าน ข้อมูลการตรวจประเมินร้านชำโดยใช้แบบตรวจประเมินร้านชำมาตรฐาน พบว่าร้านขายของชำยังปฏิบัติไม่ถูกต้องและเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไข โดยเร่งด่วน ดังนี้ หมวดที่ ๑ หมวดสถานที่และอุปกรณ์ ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ คือ ๑) ชั้นวางของ พื้นร้านและบริเวณโดยรอบร้านไม่สะอาด จำวน 7 ร้าน (ร้อยละ ๑๓.20) ๒) การจัดวางสินค้าไม่เป็นระเบียบ ไม่แยกของกินของใช้และวัตถุอันตราย จำนวน 6 ร้าน (ร้อยละ 11.32) ๓) ผู้ประกอบการและผู้ขายไม่สามารถตรวจสอบวันที่ผลิต/วันหมดอายุของสินค้าได้ จำนวน 16 ร้าน (ร้อยละ 30.19) หมวดที่ ๒ หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ยังเป็นปัญหา และไม่ผ่านเกณฑ์ คือ ๑) ตรวจพบผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีเลขสารบบอาหาร จำนวน 5 ร้าน (ร้อยละ ๙.๔๓) ๒) ตรวจพบผลิตภัณฑ์อาหารที่หมดอายุ/เสื่อมคุณภาพวางจำหน่ายในร้าน จำนวน 17 ร้าน (ร้อยละ ๓๒.๐๘) ๓) ตรวจพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเกินจริง จำนวน ๔ ร้าน (ร้อยละ ๗.๕๔) หมวดที่ ๓ หมวดผลิตภัณฑ์ยา พบปัญหาดังนี้ ๑) ตรวจพบมีการจำหน่ายยาแผนปัจจุบัน ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ (นอกเหนือจากยาสามัญประจำบ้าน) จำนวน 23 ร้าน (ร้อยละ ๔๓.๔๐) ๒) ตรวจพบมีการจำหน่ายยาแผนโบราณที่เป็นยาอันตราย/ไม่มีเลขทะเบียนตำรับฯ จำนวน 7 ร้าน (ร้อยละ ๑๓.๒๐) หมวดที่ ๔ หมวดเครื่องสำอาง จากการตรวจพบปัญหา คือ ๑) จำหน่ายเครื่องสำอางฉลากไม่ถูกต้อง จำนวน 4 ร้าน (ร้อยละ ๗.๕๔) ๒) จำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมสารต้องห้าม/ตรวจพบสารต้องห้าม จำนวน ๕ ร้าน (ร้อยละ ๙.๔๓) หมวดที่ ๕ หมวดผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ตรวจพบปัญหาดังนี้ ๑) จำหน่ายวัตถุอันตรายที่มีฉลากไม่ครบถ้วน จำนวน 5 ร้าน (ร้อยละ ๙.๔๓) ๒) จำหน่ายวัตถุอันตรายหมดอายุ/เสื่อมสภาพ จำนวน ๒ ร้าน (ร้อยละ ๓.๗๗) ๓) จำหน่ายวัตถุอันตรายที่ห้ามจำหน่าย ๒๓ ร้าน (ร้อยละ ๔๓.๔๐) หมวดที่ ๖ หมวดผลิตภัณฑ์บุหรี่/สุรา จากการประเมินพบปัญหา ดังนี้ ๑) จำหน่ายบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี (ร้านจำหน่ายบุหรี่ ๔๗ ร้าน) จำนวน 33 ร้าน (ร้อยละ ๗๐.๒๑) ๒) จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ จุดขายไม่มีการปิดบังผลิตภัณฑ์ ๔๖ ร้าน (ร้อยละ ๙๗.๘๗) ๓) จำหน่ายสุราแก่เด็กอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี (ร้านจำหน่ายสุรา ๓ ร้าน) จำนวน ๒ ร้าน (ร้อยละ ๖๖.๖๖) ๔) จำหน่ายสุราไม่เป็นไปตามเวลาที่กฎหมายกำหนด จำวน ๒ ร้าน (ร้อยละ ๖๖.๖๖)
      ในการนี้ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูดง ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครคุ้มครองผู้บิโภค และ อย.น้อย ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนายกระดับร้านขายของชำในชุมชน ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเผ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง รวมทั้งพัฒนาปรับปรุงร้านขายของชำให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย จากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตรายต่อสุขภาพของคนในพื้นที่

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำให้มีความรู้ และการปฏิบัติที่ถูกต้อง
  2. เพื่อให้ความรู้แกกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค ให้มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงานในชุมชน
  3. เพื่อจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการร้านชำ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดทำเวทีประชาคม
  2. อบรมให้ความรู้
  3. ประชุมติดตาม ครั้งที่ 1
  4. ประชุมติดตาม ครั้งที่ 2

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ร้านชำได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ
  ๒. ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานร้านชำ และร้านชำได้รับการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง
      ๓. กลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้และสามารถติดตามแนะนำแก่ร้านชำได้อย่างถูกต้อง
      ๔. ประชาชนได้รับการบริกการผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง ปลอดภัย อันนำไปสู่การมีสุขภาพดี ต่อไป


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดทำเวทีประชาคม

วันที่ 25 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำเวทีประชาคม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ร้านชำได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้านของชำ ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานร้านของชำ และร้านชำได้รับก่รติดตามประเมินอย่างต่อเนือง

 

80 0

2. อบรมให้ความรู้

วันที่ 3 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 40 คน

 

40 0

3. ประชุมติดตาม ครั้งที่ 2

วันที่ 18 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตาม ครั้งที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ ร้านชำคุณภาพใส่ใจผู้บริโภค

 

40 0

4. ประชุมติดตาม ครั้งที่ 1

วันที่ 30 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตาม ครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ติดตามผลโครงการร้านของชำคุณภาพใส่ใจผู้บริโภค

 

40 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำให้มีความรู้ และการปฏิบัติที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบร้านชำ ได้รับความรู้ ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้อง ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่อันตรายหรือห้ามจำหน่ายในร้านขายของชำ
0.00

 

2 เพื่อให้ความรู้แกกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค ให้มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงานในชุมชน
ตัวชี้วัด : อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้และดำเนินด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
0.00

 

3 เพื่อจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการร้านชำ
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการร้านชำมีการรวมกลุ่มกันดำเนินงานร้าชำคุณภาพ โดยมีชมรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำให้มีความรู้ และการปฏิบัติที่ถูกต้อง (2) เพื่อให้ความรู้แกกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค ให้มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงานในชุมชน (3) เพื่อจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการร้านชำ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดทำเวทีประชาคม (2) อบรมให้ความรู้ (3) ประชุมติดตาม ครั้งที่ 1 (4) ประชุมติดตาม ครั้งที่ 2

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการร้านชำคุณภาพ ใส่ใจผู้บริโภค เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านพูด จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2563-L3306-2-021

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายวิวัฒน์ เสนาทิพย์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด