กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะอ้วนลงพุง ปี 63
รหัสโครงการ 61-L6961-01-31
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้ป่วยนอกแผนกอายุรกรรม
วันที่อนุมัติ 10 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกิรณา อรุณแสงสด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome)เป็นภาวะที่เกิดความไม่สมดุลกันในการรับประทานอาหาร การเผาผลาญสารอาการ และการใช้พลังงานของร่างกาย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันโดยแพร่หลายว่า ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม จะนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆมากมาย ได้แก่โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันเกาะตับ โรคข้อเสื่อม โรคไตเรื้อรัง เป็นต้นการที่จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ต้องประกอบไปด้วยความผิดปกติอย่างน้อย ๓ จาก ๕ ข้อ ดังต่อไปนี้๑.เส้นรอบเอว (Waist Circumference)มากกว่าหรือเท่ากับ ๙๐ เซนติเมตรในเพศชาย หรือ ๘๐ เซนติเมตรในเพศหญิง๒.ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (Fasting Plasma Glucose) มากกว่าหรือเท่ากับ๑๐๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร๓.ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) มากกว่า หรือเท่ากับ ๑๕๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร๔.ระดับไขมันเอชดีแอล (HDL- High density lipoprotein cholesterol)น้อยกว่าหรือเท่ากับ ๔๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศชาย และ ๕๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศหญิง ๕.ระดับความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ ๑๓๐/๘๕ มิลลิเมตรปรอทจากการติดตามผู้ป่วยที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) โดยการสำรวจสุขภาพคนไทย พบว่า สถิติความชุกของการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ในปี 2534-2540-2547-2552 เพศชายมีความชุก 12.2 ,19.4 , 23.9 และ 30.8 ตามลำลับ เพศหญิง 21.8 , 30.8 , 36.5 และ 43.5 ตามลำดับ
เมื่อติดตามข้อมูลในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒ พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ได้แก่ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) มากกว่าหรือเท่ากับ ๑๕๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๓ ในเพศชาย และร้อยละ ๑๐.๘ในเพศหญิงและที่มีระดับไขมันเอชดีแอล(HDL- High density lipoprotein cholesterol)น้อยกว่าหรือเท่ากับ ๔๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศชาย คิดเป็นร้อยละ๒๕.๙๖ และผู้ป่วยเพศหญิงที่มีไขมันเอชดีแอล (HDL- High density lipoprotein cholesterol)น้อยกว่าหรือเท่ากับ ๕๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๗๔ นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะอ้วน โดยพิจารณาจากค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index - BMI) ตั้งแต่ ๓๐ กิโลกรัม/ตารางเมตรขึ้นไป เป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นทุกปีต่อเนื่องโดย ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มี ดัชนีมวลกาย ≥๓๐ กก./ม.๒ ตั้งแต่ปี 2560-2561-2562ร้อยละ 19.11 , 19.23 และ 20.10 ตามลำดับ
ผู้ป่วยที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) เหล่านี้ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ก็จะสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆได้ลดลง และสามารถกลับมาเป็นประชากรปกติที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถลดการใช้ยา และยังสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งเป็นประชากรที่มีคุณภาพเพื่อจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไปได้ในอนาคตหน่วยงานผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงดำเนินการจัด โครงการ '4S -Slim - Strong - Smart - Sustainable' ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น

ร้อยละของระดับความดันโลหิตลดลง ๑๐ มิลลิเมตรปรอท ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อลดภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome)
  • ร้อยละของขนาดรอบเอวลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
  • ร้อยละของไขมันเอชดีแอล (HDL- High density lipoprotein cholesterol)เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
  • ร้อยละของไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
  • ร้อยละของระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร น้อยกว่า ๑๐๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
0.00
3 ๓. เพื่อเพิ่มความเข้าใจและเสริมสร้างสุขนิสัยในการดำรงชีวิตเพื่อมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรค

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 8๐

0.00
4 ๔. เพื่อสร้างแกนนำผู้ป่วยสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นที่ปรึกษาเบื้องต้นและสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยอื่นๆในการปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพดีได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,500.00 1 29,500.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 บรรยายให้ความรู้เรื่อง ความดันโลหิตสูง สู้ Stroke 0 29,500.00 29,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๘.๑ ผู้ป่วยมีความรู้และความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปสู่ทางที่ถูกต้อง ๘.๒ ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตและปรับเปลี่ยนภาวะเมตาบอลิกซินโดรมให้กลับสู่สุขภาวะได้ ๘.๓ ผู้ป่วยสามารถให้คำแนะนำและเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยอื่นๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2563 00:00 น.