กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสน ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 2563– L5314 -1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสน
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 65,830.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรในประเทศ จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน การแข่งขันให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีกำไรมากที่สุด ใช้ระยะเวลาในการผลิตน้อยลง เกษตรกรจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ รวมทั้งการใช้สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิต หรือสารกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย หากเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่มีความรู้ในการป้องกันตนเองหรือไม่ได้ใช้อย่างถูกวิธีจะทำให้สารเคมีเข้าไปสะสมในร่างกายมีผลทำให้ระดับเอนไซน์โคลีนเอสเตอเรสลดลงร่างกายอาจเกิดภาวะเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้สาเหตุเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มุ่งการเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้นโดยคิดว่าการใช้สารเคมีเป็นเพียงทางเดียวที่จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและราคาดี

โดยไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสุขภาพที่นอกจากอันตรายต่อสุขภาพเกษตรกรผู้ใช้แล้วยังมีผลต่อครอบครัวผู้บริโภค และประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะพัฒนาการของเด็กที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้และในปี 2562 คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติแบน 3 สารเคมีอันตราย ได้แก่ ไกลโฟเซต (Glyphosate), พาราควอต (Paraguard) และคลอร์ไพรีฟอส (Chlopyrifort) ซึ่งเป็นสารอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ

ผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยกระดาษโคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase reactive paper) ในกลุ่มเกษตรกรพบว่าเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยต่อพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พ.ศ.2554-2558 คิดเป็นร้อยละ 32.47, 30.94, 30.57, 34.02 และ 32.45 ตามลำดับ (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม) จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกัน เพื่อลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร

จากการสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกผัก ผลไม้ ในตำบลแหลมสน โดย อสม. เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ พบว่ามีเกษตรกรทั้งหมด ๙๐ คน โดยจะปลูกพืชหมุนเวียนกันไป โดยฉพาะการปลูกแตงโมซึ่งเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของตำบลแหลมสน เนื่องจากมีรสหวาน กรอบ ซึ่งในจำนวนนี้บางส่วนก็ผ่านมาตรฐาน GMP ของสำนักงานเกษตร และพบว่าบางส่วนในการปลูกผลไม้เหล่านี้ยังมีการใช้สารเคมี ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร รวมทั้งเพื่อให้ เกษตรกรทุกคนมีผลเลือดปกติ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกรมีความรู้/ทักษะ เกี่ยวกับ 1. เทคนิคการเจาะเลือดเกษตร 2. การเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร 3. การตรวจหาสารเคมีตกค้างในผัก 4. การใช้เกษตรอินทรีย์

หลังได้รับการอบรมแกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร

  1. สามารถเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาสารเคมีตกค้างในร่างกายได้ ร้อยละ 80

  2. มีความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร และการใช้เกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 80

  3. สามารถตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

  4. สามารถลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมปลูกแตงโม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

0.00
2 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช/เฝ้าระวังอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสามารถดูแลสุขภาพได้
  1. เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสามารถใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างปลอดภัย หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80

  2. สามารถลดปัจจัยเสี่ยงจากการประกอบอาชีพลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

  3. หลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 50

0.00
3 ผลการเจาะเลือดเกษตรอยู่ในระดับปลอดภัยมากขึ้น

หลังการเข้าร่วมโครงการ ผลการเจาะเลือดเกษตรกรอยู่ในระดับปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 50

0.00
4 ไม่พบการปนเปื้อนสารเคมีในผักของเกษตรกร

ร้อยละ 90 ของผักที่เกษตรกรปลูกไม่พบการปนเปื้อนสารเคมี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 65,830.00 0 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ประชุม/อบรม 0 42,950.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 การเจาะเลือดเกษตรกร 0 9,350.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 การสุ่มตรวจผักของเกษตรกร 0 9,780.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 จัดทำคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร 0 3,150.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ออกเยี่ยมแปลงผักของเกษตรกร(4 หมู่บ้านๆ ละ 1 ครั้ง) 0 0.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทราบผลกระทบทางสุขภาพที่ได้รับจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

  2. เกษตรกรสามารถใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้

  3. เกษตรกร ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และหันมาเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2563 09:40 น.