โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ปี 63
ชื่อโครงการ | โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ปี 63 |
รหัสโครงการ | 63-L6961-03-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 10 กรกฎาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 253,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางปรุงจิต บุญยรัตน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นในทุกๆปี ซึ่งทำให้เกิดความพิการด้านร่างกาย และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเช่น ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ขาดผู้ดูแล ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดูแลผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร เมื่อปี พ.ศ.2560 ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้านศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเครื่องมือทางการแพทย์ที่เบิกในโครงการฯดังกล่าว ได้แก่ เครื่องดูดเสมหะไฟฟ้า รุ่น 7E-A YUWELL จำนวน 8 เครื่อง เบาะลมไฟฟ้า แบบรังผึ้ง รุ่น โดมุส 1 "APEX" จำนวน 9 เครื่อง รถเข็นแบบพับได้ รุ่น 809 จำนวน 7 เครื่อง ไม้เท้าอลูมิเนียม 3 ขา จำนวน 2 เครื่องWalker จำนวน 2 ตัว แท้งค์ออกซิเจนขนาดใหญ่ พร้อมรถเข็น จำนวน 3 ชุดเครื่องพ่นยา รุ่น F-2000 "Flaemnuova" จำนวน 1 ชุด หัวเกย์ออกซิเจนครบชุดรุ่น BC12-BA13 "SAMSUNG" จำนวน 3 ชุด Jar ออกซิเจน "SAMSUNG"จำนวน 4 ชุด จากการดำเนินงาน พบว่า อุปกรณ์ที่ผู้ป่วยยืมมากที่สุดได้แก่ รถเข็นแบบพับได้เบาะลมไฟฟ้าเครื่องดูดเสมหะไฟฟ้า เป็นต้น ปี พ.ศ.2562 ทีมผู้จัดการระบบผู้สูงอายุระยะยาว (CM) และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(CG) ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 80 ราย มีผู้ป่วยต้องการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ร้อยละ 81.25 (65 ราย/80ราย) อุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกอย่างมีการหมุนเวียนใช้แก่ผู้ป่วยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เครื่องมือแพทย์บางอย่างไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยอีกทั้งทีมผู้จัดการระบบผู้สูงอายุระยะยาว (CM) และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (CG)มีเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติไม่เพียงพอ
ดังนั้นงานรักษาพยาบาลชุมชน กลุ่มเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงที่ต้องการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถใช้ได้อย่างครอบคลุมเพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในพื้นที่ตำบลสุไหงโก-ลก ได้มีการยืมใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อยืดชีวิตผู้ป่วยและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่ผู้ป่วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1 เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างครอบคลุม ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างครอบคลุมร้อยละ 100 |
0.00 | |
2 | 2 เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการตอบสนองตามความต้องการ การดูแลได้ตามความเหมาะสม ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการตอบสนองตามความต้องการ การดูแลได้ตามความเหมาะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 110 | 253,900.00 | 0 | 0.00 | 253,900.00 | |
23 ก.ค. 63 | กิจกรรม จัดประชุมทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง | 30 | 1,500.00 | - | - | ||
23 ก.ค. 63 | กิจกรรม ติดตามผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและประเมินความต้องการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ | 80 | 252,400.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 110 | 253,900.00 | 0 | 0.00 | 253,900.00 |
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทีมพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ดังนี้ 1.1 จัดประชุมทีมพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง เพื่อเตรียมแผนการเยี่ยมดูแลให้ครอบคลุมและแบ่งหน้าที่ตามความรับผิดชอบ กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและประเมินความต้องการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ 2.1 ติดตามเยี่ยมดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ให้ครอบคลุม เพื่อประเมินความต้องการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น รถเข็นพับได้ เครื่องดูดเสมหะ และอื่นๆ เป็นต้น 2.2 ในผู้ป่วยที่ยืมเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ จะได้รับการติดตามจาก CM & CG ในพื้นที่ทุกเดือน
เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างครอบคลุม และสามารถตอบสนองความต้องการการดูแลของผู้ป่วยแต่ละคนให้เหมาะสมอีกทั้งเพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2563 00:00 น.