กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการเกิดซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม/ศูนย์บริการสาธารณสุขด้านเวชกรรมฟื้นฟู เทศบาลเมืองสะเตงนอก เครือข่ายโรงพยาบาลยะลา
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรัณยา ปูเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบสำคัญด้านสุขภาพตามกระบวนการ ชราภาพ คือการเกิดโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุไทยสูญเสียสุขภาวะเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 10.6 และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในประชากรไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งด้วย อีกทั้งยังพบว่าผู้สูงอายุทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นอันดับที่ 2 และ ทุก ๆ 6 นาทีจะมีผู้คนทั่วโลกผู้เสียชีวิตด้วยโรค หลอดเลือดสมองอย่างน้อย 1 คน โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบมากขึ้น ในคนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศ ที่มีรายได้น้อยจนถึงประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ยิ่งมีอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ในต่างประเทศเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า domino effect ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ คือเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็งทั่วร่างกาย (atherosclerosis) สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด คือผู้สูงอายุที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้วจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำได้เร็ว และมากกว่าคนวัยอื่น 3 เท่า ส่งผลให้อัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้สูงอายุด้วยโรคหลอดเลือดสมอง กลับเป็นซ้ำมีมากกว่า 2 ครั้งต่อปี ซึ่งผู้สูงอายุเพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ ได้มากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป โรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ (Recurrent stroke) คืออาการผิดปกติของสมองที่เกิดขึ้นใหม่หรือเป็นมากขึ้นกว่าเดิมตามหลังการเกิด โรคหลอดเลือดสมองเดิม ซึ่งไม่ได้เกิดจากภาวะสมองบวม หรือภาวะเลือดออกในสมองส่วนที่ขาดเลือด (hemorrhagic transformation) หรือการเจ็บป่วยอื่น และจะต้องเป็นห่างจากครั้งแรกนานมากกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งอาการผิดปกติของ สมองที่เกิดขึ้นใหม่ต้องไม่มีสาเหตุจากผลของการรักษาด้วยยา หรืออื่น ๆ และต้องได้รับการยืนยันผลด้วยการตรวจ computed tomography หรือ CT scan ว่าเกิดความผิดปกติของสมองจริง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยของโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ มีความตระหนักในสภาวะของโรค รับรู้ความสามารถตนเอง รู้จักกำกับตนเอง และพัฒนาทักษะในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น

 

0.00
2 2.เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ที่ถูกต้อง และเกิดทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

0.00
3 3.เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เหมาะสมกับผู้ป่วยและคนในครอบครัว

 

0.00
4 4.เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านสุขภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 110 20,100.00 2 14,750.00
20 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ 55 14,325.00 11,075.00
27 ส.ค. 63 - 10 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 2 ออกกำลังกายร่วมกัน 55 5,775.00 3,675.00

1.จัดทำโครงการขออนุมัติ 2.แต่งตั้งคณะทำงาน 3.จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม 4.ประสานพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อเข้าร่วมโครงการ 5.จัดโครงการป้องกันการเกิดซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยมีกิจกรรมดังนี้ • ทำแบบประเมินทดสอบความรู้ก่อนเข้าร่วมโครงการ • จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
• ให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เคยเป็นซ้ำพูดถึงประวัติการเจ็บป่วย เป็นกรณีตัวอย่างเพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความตระหนักเพื่อป้องกันตัวเอง • วิทยากรแนะนำการออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกัน
6.นัดผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมและออกกำลังกายร่วมกัน สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 3 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 สัปดาห์
7.ทำแบบประเมินทดสอบความรู้หลังเข้าร่วมโครงการ 8.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยของโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ มีความตระหนักเห็นความสำคัญในสภาวะของโรค รับรู้ความสามารถตนเอง รู้จักกำกับตนเอง และพัฒนาทักษะในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ที่ถูกต้องและเกิดทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 3.ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เหมาะสมกับผู้ป่วยและคนในครอบครัว 4.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างพฤติกรรมที่ดีในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2563 10:23 น.