กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาหารแก่ผู้ประกอบการ
รหัสโครงการ 60-L4143-1-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู
วันที่อนุมัติ 24 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 53,356.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรัณยา ปูเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางเรวดี ขาวเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.552,101.324place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 82 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารมีสารเป็นอันตรายปนเปื้อนหรือมีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่มีปริมาณมากกว่าที่กำหนดย่อมก่อให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวังและป้องกันให้ประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหาร ปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัญหาที่พบในอาหารสดมักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภค มีการใช้สารปนเปื้อนกับอาหารในการหวังผลกำไร ความรู้ไม่เท่าทันของผู้บริโภคทำให้ได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย
ทาง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทั้ง 3 แห่งคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร และแผงลอย มีความรู้เรื่องการจัดการอาหารให้ปลอดภัย โดยสามารถดำเนินการผ่านเกณฑ์มาตรฐานข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหารสำหรับแผงลอยและจำหน่ายอาหาร เพื่อให้ประชาชนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ผู้ประกอบการจำหน่ายและผลิตอาหารที่ถูกสุขาภิบาลอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันโรค อันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำไม่สะอาดมีสารปนเปื้อน

ผู้ประกอบการจำหน่ายและผลิตอาหารที่ถูกสุขาภิบาล สะอาด ปลอดภัย

2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนามาตรฐานของสถานประกอบการให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

ผู้ประกอบการให้ความสำคัญและพัฒนามาตรฐานของสถานประกอบการให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ผู้ประกอบการจำหน่ายและผลิตอาหารที่ถูกสุขาภิบาลอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันโรค อันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำไม่สะอาดมีสารปนเปื้อน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนามาตรฐานของสถานประกอบการให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

4.1 ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนและเชื้อแบคทีเรียในอาหารของร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร 4.2ประชาสัมพันธ์โครงการ และแจ้งให้ผู้ประกอบการเข้ารับการอบรม 4.3ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตรับผิดชอบ เข้าร่วมอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ พร้อมทั้งแจ้งผลการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารให้ผู้ประกอบการทราบ
4.4 เชิญชวนร้านอาหารให้ดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการของตนเองให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร 4.5สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการร้านค้าจำหน่ายอาหารแผงลอย มีความรู้เรื่อง การจัดการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาหารเพิ่มมากขึ้น
2.ประชาชนได้รับการบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2560 10:19 น.