กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสตรีไทยให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหานโพธิ์
วันที่อนุมัติ 31 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 24,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมมาตร สุขดำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับสามรองมาจากโรคหัวใจและอุบัติเหตุ มะเร็งที่เกิดในสตรีมากที่สุดคือ มะเร็งปากมดลูกซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของหญิงไทยเป็นอันดับสองรองลงมาจากมะเร็งเต้านม พบได้ตั้งแต่ผู้หญิงอายุก่อน ๓๐ ปี จนถึงวัยชราอายุ ๘๐ ปี และพบมากในช่วงอายุ ๓๕ – ๕๐ ปี ซึ่งพบมากที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ โดยทุกๆ ๒ นาที จะมีผู้หญิงเสียชีวิต ๑ คน ขณะที่หญิงไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก ๗ คนต่อวัน เป็น ๑๔ คน ต่อวัน ซึ่งคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นถึง ๑๐๐% หรือเสียชีวิตประมาณ ๔,๕๐๐ คน ต่อปี โดยในแต่ละปีจะมีหญิงไทยได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๙,๐๐๐ รายต่อปี ซึ่งร้อยละ ๔๐-๕๐ จะเสียชีวิตจากโรค ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก จะตกประมาณ ๓๕๐ ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยหญิงไทยส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และมักเกิดความอายความกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นกว่าจะรู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติ ความรุนแรงของโรคก็มักอยู่ในระยะลุกลามทำให้มีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ดังนั้นผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเดือนละ ๑ ครั้ง โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆ และการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูก
จากข้อมูลการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 875 คน คัดกรองได้ 767 คน คิดเป็นร้อยละ 87.66 อัตราป่วยจากโรคมะเร็งเต้านม ปี 2559 – 25๖2 คิดเป็น ๔๙.6๕ ,1๘8.๖๕ และ๑๗๓.7๘ ต่อแสนประชากรตามลำดับ มะเร็งปากมดลูก จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 673 คน คัดกรองได้ 446 คน คิดเป็นร้อยละ 66.27ไม่พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหานโพธิ์ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังสตรีไทยให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกปีงบประมาณ 25๖3 เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจในการคัดกรองและดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และค้นหาความผิดปกติของปากมดลูกและเต้านมในสตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี จำนวน 150 คน

สตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านม มากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก

ผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (pap smear) และผลการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พบความผิดปกติไม่เกินร้อยละ 0.2

0.00
3 เพื่อรณรงค์ให้สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี และตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเดือนละ 1 ครั้ง

อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,700.00 0 0.00
31 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม 0 24,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความเข้าใจมีพฤติกรรมการป้องกันโรคที่ถูกต้อง
  2. สตรีกลุ่มอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรอง โดยวิธี Pap Smear และสตรีกลุ่มอายุ ๓๐ –๗๐ ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละ 1 ครั้ง
    1. กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ และตรวจเต้านมผิดปกติได้รับการส่งต่อ และรักษาอย่างทันท่ว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2563 14:28 น.