กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน


“ โครงการรณรงค์ชุมชนตำบลควนโดนปลอดลูกน้ำยุงลาย ”

ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาวชารีฟ๊ะ นารีเปน

ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ชุมชนตำบลควนโดนปลอดลูกน้ำยุงลาย

ที่อยู่ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-50094-1-17 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการรณรงค์ชุมชนตำบลควนโดนปลอดลูกน้ำยุงลาย จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการรณรงค์ชุมชนตำบลควนโดนปลอดลูกน้ำยุงลาย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการรณรงค์ชุมชนตำบลควนโดนปลอดลูกน้ำยุงลาย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-50094-1-17 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 35,000.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัยหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูล รง. 506 ของงานระบาดวิทยา โรงพยาบาลควนโดน ได้รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก โดยมีอัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร จากผลการดำเนินงานโครงการบ้าน ชุมชน โรงเรียน ตำบลควนโดน ปลอดลูกน้ำยุงลาย ในปี 2559 พบว่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่ได้สุ่มสำรวจ โดยคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง สำรวจ 3 ครั้ง ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน โดยครั้งที่ 3 พบหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์ ค่า HI ต่ำกว่า 10ตามเกณฑ์มาตราฐาน ทั้งหมด 6 หมู่บ้าน และยังมีอีก 2 หมู่บ้านที่มีค่า HI สูงกว่า 10 คือ หมู่ที่ 2 กับหมู่ที่ 8 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 75 ของหมู่บ้านทั้งหมด และจากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด จำนวน 12 แห่ง พบว่า มีค่า CI = 0 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด และจากสถานการณ์ในช่วงปลายปี 2559 อำเภอควนโดน ยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องจากตำบลข้างเคียง ซึ่งนับว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคในพื้นที่ตำบลควนโดนได้ โดยยุทธศาสตร์การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่สำคัญประการหนึ่งคือการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ดัชนีลูกน้ำยุงลายจะต้องไม่เกินเกณฑ์มาตราฐาน การควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ได้ผล ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน โรงเรียน ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ชุมชนตำบลควนโดนปลอดลูกน้ำยุงลายขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลงให้เหลือน้อยที่สุด

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
  2. 2.เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน
  3. 3.เพื่อลดอัตราป่วยเป็นไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  4. 4. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 162
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่าHI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตที่รับผิดชอบ
    2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) เป็น 0 ร้อยละ 100 ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ
    3. อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและความชุกของลูกน้ำยุงลาย ลดลงไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
    4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยภาคีเครือข่ายและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการควบคุมพาหะนำโรค วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 74 คน โรงเรียน อสม. รพ.สต.ควนโดน  โดยมีวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนเครือข่ายในการจัดการสุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
    2. จัดตั้งทีมพิชิตยุงลายประจำหมู่บ้าน ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน จำนวน 88 คน เพื่อร่วมกันออกสุ่มลูกน้ำยุงลาย
    3. พัฒนาศักยภาพแกนนำประจำครอบครัว ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน  เพื่อให้แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลายและเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
    4. อสม. ประชาสัมพันธ์ และแจกบัตรเข้าร่วมโครงการฯ ให้กับประชาชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
    5. ทีมพิชิตยุงลาย ออกสุ่มลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนที่เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งสุ่มในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ทุกแห่ง ในเขตพื้นที่รับผิดขององค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ทำการสุ่มเดือนละ 1 ครั้ง โดยสรุปค่าดัชนีที่เกี่ยวข้องกับลูกน้ำยุงลาย เช่น ค่า HI และ ค่า CI  จากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายโดยทีมพิชิตยุงลาย สำรวจ 4 ครั้ง ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน  โดยครั้งที่ 4 พบหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์ ค่า HI  ต่ำกว่า 10 ตามเกณฑ์มาตราฐาน ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน และยังมีอีก 1 หมู่ที่ยังมีค่า HI l สูงกว่า 10 คือ หมู่ที่ 4 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 87.5 ของหมู่บ้านทั้งหมด และจากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายโดยทีมพิชิตยุงลาย  สำรวจ 4 ครั้ง ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด จำนวน 11 แห่ง พบว่า สำรวจครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 มีค่า CI = 0 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
    6. ทีมพิชิตยุงลายคัดเลือกบ้าน ซึ่งบ้านที่ได้รับคัดเลือกจะต้องไม่พบลูกน้ำ ยุงลาย เลยแม้แต่ตัวเดียว ภายในแต่ละเดือนที่ทีมพิชิตได้ทำการสำรวจ โดยบ้านที่ไม่พบยุงลายจะได้รับคูปอง และมีสิทธิได้ลุ้นรับรางวัลจากกองทุนฯ

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
    ตัวชี้วัด :

     

    2 2.เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน
    ตัวชี้วัด :

     

    3 3.เพื่อลดอัตราป่วยเป็นไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
    ตัวชี้วัด :

     

    4 4. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 162
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 162
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ (2) 2.เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน (3) 3.เพื่อลดอัตราป่วยเป็นไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร (4) 4. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการรณรงค์ชุมชนตำบลควนโดนปลอดลูกน้ำยุงลาย จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-50094-1-17

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวชารีฟ๊ะ นารีเปน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด