กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กตะแพนยุคใหม่ ใส่ใจอนามัยช่องปาก ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3668-1(3)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 มิถุนายน 2560 - 18 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,295.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มิ.ย. 2560 8 มิ.ย. 2560 19,295.00
รวมงบประมาณ 19,295.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 227 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในเด็กเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอโรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพนปีพ.ศ.2560 พบว่านักเรียนมีฟันแท้ผุจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 5.98เหงือกอักเสบจำนวน 21คน คิดเป็นร้อยละ 12.57จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเด็กตะแพนยุคใหม่ ใส่ใจอนามัยช่องปากประจำปี 2560ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และแปรงฟันที่ถูกวิธีเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์บนตัวฟัน ป้องกันโรคฟันผุโรคเหงือกอักเสบรวมทั้งได้รับการรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมแปรงฟันได้ถูกวิธี มีคุณภาพ และต่อเนื่อง 3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทันตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข 4. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคในช่องปากของกลุ่มเป้าหมาย
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและมีการแปรงฟันที่ถูกวิธีคุณภาพ
  2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นทุกราย
  3. ผู้มีเป็นปัญหาทางทันตกรรม ได้รับการรักษาทุกราย
  4. ปัญหาการเกิดโรคทันตกรรม ในกลุ่มเป้าหมายลดลง โดยไม่เกินร้อยละ 20
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประสานงานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ
  2. ดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมาย และนัดรับการรักษาต่อในรายที่มีปัญหาทันตกรรม
  3. ให้การรักษาทางทันตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข ที่ รพ.สต.ตำบลตะแพน ส่งต่อพบทันตแพทย์เข้ารับการรักษา ในรายที่ไม่สามารถรักษาขั้นพื้นฐานได้
  4. ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องสาธิตและฝึกการแปรงฟันที่ถูกวิธี
  5. อบรมแกนนำนักเรียนนักเรียน ป.6 จำนวน 24 คน เพื่อเป็นแกนนำในการช่วยดูแลน้องๆ ให้มีการแปรงฟันที่ถูกวิธี พร้อมกันหลังรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน
  6. ติดตามการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนโดยแกนนำสุขภาพช่องปากและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อประเมินภาวะสุขภาพช่องปาก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและมีการแปรงฟันที่ถูกวิธีคุณภาพ
  2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นทุกราย
  3. ผู้มีเป็นปัญหาทางทันตกรรม ได้รับการรักษาทุกราย
  4. ปัญหาการเกิดโรคทันตกรรม ในกลุ่มเป้าหมายลดลง โดยไม่เกินร้อยละ 20
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2560 09:44 น.