กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเครือข่ายสุขภาพรวมใจ ร่วมแก้ไขงานอนามัยแม่และเด็กสู่นโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายสุขภาพรวมใจ ร่วมแก้ไขงานอนามัยแม่และเด็กสู่นโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2524-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่
วันที่อนุมัติ 7 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 29 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาณิต้าดามัน
พี่เลี้ยงโครงการ นางปารีดะ แก้วกรอง
พื้นที่ดำเนินการ องค์การบริหารส่วนตำบลกาหลงและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่
ละติจูด-ลองจิจูด 6.213,101.414place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2560 29 ธ.ค. 2560 19,400.00
รวมงบประมาณ 19,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ด้านอนามัยแม่และเด็กของจังหวัดนราธิวาส เมื่อเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดของงานอนามัยแม่และเด็กพบว่ายังพบปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เพราะสุขภาพอนามัยมารดาทั้งทางร่างกายและจิตใจมีผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตลอดมาจนถึงระยะหลังคลอด ซึ่งภาวะหรือโรคหลายอย่างที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดยังส่งผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์และบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
จากข้อมูลผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในปีงบประมาณ 2559 พบว่างานอนามัยแม่และเด็กยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทื่สำคัญของอำเภอศรีสาคร ยังมีหลายตัวชี้วัดที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และจากข้อมูลผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของตำบลกาหลง ซึ่งมีจำนวน 4 หมู่บ้าน ผลงานในปีงบประมาณ 2559 พบว่าอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 98.8 (เกณฑ์มากว่าร้อยละ 60)ผ่านเกณฑ์อัตราการฝากครรภ์ครบ 5 ครังตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 92 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ95)จะเห็นได้ว่ายังไม่ผ่านเกณฑ์และอัตราการคลอดในสถานบริการ คิดเป็น 100 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ 92)พบว่าผ่านเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ไว้จากการวิเคราะห์ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กโดยทีมสุขภาพของตำบลกาหลง(จนท.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่และเครือข่ายอสม.)พบว่าการที่จะลดปัญหาภาวะสุขภาพแม่และเด็กในพื้นที่การดูแลหญิงตั้งครรภ์นั้น ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ขณะคลอดและหลังคลอดและหากหญิงตั้งครรภ์เริ่มต้นการฝากครรภ์ที่ดีและรวดเร็วก็จะส่งผลที่ดีในการติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ในครั้งต่อไปซึ้งอัตราข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจในการให้ความสำคัญต่อการมาฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรกของการตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ส่งผลให้ไม่ได้รับการวางแผนป้องกันดูแลขาดการได้รับความรู้ถึงวิธีการปฎิบัติอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะเสี่ยงสูง (high Risk) ดังนั้น การที่จะลดปัญหาภาวะสุขภาพแม่และเด็กของตำบลการหลงและการดูแลหญิงตั้งครรภ์นั้น ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด และจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ตั้งแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา การให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนบุคคลที่มีบทบาทในชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถดูแลอนาม้ยของแม่และเด็กและอยู่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด ตั้งแต่งการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ การแนะนำให้ไปฝากครรภ์ทุกคน และการคลอดในสถานบริหาร ดังนั้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับปัญหาสุขภาพของแม่และเด็ก และเพื่อแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กของตำบลกาหลง ที่สำคัญหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลติดตามโดยชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแล ตลอดจนการมีกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับหญิงตั้งครรภ์ และเกิดการพัฒนากลุ่มเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่ององค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานอนามัยแม่และเด็ก จึงได้จัดทำโครงการเครือข่ายสุขภาพรวมใจ ร่วมแก้ไขงานอนามัยแม่และเด็ก สู่นโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ปีงบประมาณ 2559 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการวางแผนการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารก ตั้งแต่งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด สอดคล้องตามนโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ในตำบลกาหลง เกิดความตระหนักต่อการมารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์หรือมาฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ อย่างน้อยร้อยละ 75

จำนวนหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการการตามเปอร์เซ็นต์ที่ตั้งไว้

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 95และได้รับการติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัดทุกรายโดยอสม.และเครือข่ายสุขภาพ

หญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดครบ 5 ตามเป้าหมาย

3 เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดีลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย และไม่เสียชีวิตด้วยสาเหตุที่ป้องกันได้

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลและมีสุขภาพดีทุกราย

4 เพื่อกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์มาคลอดในสถานบริการและได้รับการส่งต่ออย่างปลอดภัย ตลอดจนได้รับการดูแลหลังคลอดมาตรฐานการดูแลหลังคลอดตามเกณฑ์ร้อยละ 100

หญิงตั้งครรภ์มีความปลอดภัยและได้รับการดูอย่างดี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.กลุ่มเครือข่ยงานอนามัยแม่และเด็กตำบลกาหลง ประชุมจัดลำดับความสำคัญของปัญหา รวมทั้งวางแผนแก้ไขปัญหา โดยจัดทำโครงการแก้ไขปัญหา 2.เขียนโครงการฯ เพื่อเสนอโครงการและขออนุมัติ 3.อบต.กาหลงเชิญประชุมชี้แจงทีมสุขภาพของตำบลกาหลง เพื่อเตรียมแผนประชุาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการเครือข่ายสุขภาพรวมใจ ร่วมแก้ไขงานอนามัยแม่และเด็ก สู่นโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยตำบลกาหลง ขั้นดำเนินการ 1.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ 2.ดำเนินการพัฒนากลุ่มเครือข่ยงานอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ อบต. อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อเตรียมพร้อมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์และสามี 3.ดำเนินการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 4.จัดซื้ออุปกรณ์ ตามกิจกรรม 5. จัดสรรให้กลุ่มเป้าหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์ในตำบลกาหลงเกิดความตระหนักและมารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์หรือ มาฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ มากกว่าหรือเท่ากันร้อยละ 35 2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มากกว่าหรือเท่าร้อยละ 100 และได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่องโดย อสม. และเครือข่ายสุขภาพ 3.มารดาและทารกในตำบลกาหลงได้รับการดูแลสุขภาพที่ได้มาตรฐานตั้งแต่การตั้งครรภ์ การคลอดและมีสุขภาวะที่ดีตามนโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอกภัย และไม่เสียชีวติด้วยสาเหตุที่ป้องกันได้ 4.หญิงตั้งครรภ์เกิดการตื่นตัวในการมาคลอดในสถานบริการและได้รับการส่งต่ออย่างปลอดภัยตลอดจนได้รับการดูแลหลังคลอดตามมาตรฐานการดูแลหลังคลอดร้อยละ 100 5.มีกลุ่มเครือข่ายสุขภาพเกิดขึ้น โดยเน้นการดูแลชุมชนด้วยชุมชน 6.ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดงานอนามัยแม่และเด็กดีขึ้นกว่าปีผ่านมาในแต่ละตัวชี้วัดหรือบรรลุตามเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2560 10:17 น.