กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L1540-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยนาง
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยนาง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยนาง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.893,99.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าคนไทยกินอาหารเค็มสูงเกินปริมาณกำหนดถึง ๒ เท่า หวั่นส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเสี่ยงโรคไตวาย ซึ่งพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นปีละกว่า ๗,๘๐๐ ราย แนะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดกินเค็มในอาหาร สำเร็จรูปรูปแช่แข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป หวังเลี่ยงร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป
สาเหตุของไตเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคเบาหวาน (ประมาณ ๔๐%) และความดันโลหิตสูง (ประมาณ ๒๐%) โรคอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ โรคนิ่วและการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ (obstructive uropathy) โรคไตจากเก๊าท์ โรคภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อตนเอง (Systemic lupus erythematasus) โรคไต igA โรคถุงน้ำในไตซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ (Autosomal dominant polycystic kidney disease) โรคไตเรื้อรังที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวด (Analgesic and NSAIDS induced nephropathy) โรคต่างๆ เหล่านี้จัดได้ว่าเป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติหลายระบบรวมทั้งที่ไต ถ้ารักษาโรคเหล่านี้ไม่ดี เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นอยู่นาน ๆ ติดต่อกันหลายปี ก็จะทำให้เกิดโรคไตเสื่อม ไตวายได้ (ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กนัตชูเวสศิริ) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยนาง มีคลินิคโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้บริการทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดีของทุกสัปดาห์ มีผู้ป่วยในความดูแลเฉพาะตำบลห้วยนาง จำนวน ๓๗๒ คน แยกเป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน ๗๔ คน เบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๒๓ คน และผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๗๕ คน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทาง รพ.สต.ห้วยนาง ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ถ้าหากไม่มีการดำเนินโครงการเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว อาจเพิ่มจำนวนผู้ป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งโครงการดังกล่าวสามารถช่วยชะลอการเสื่อมของไตของผู้ป่วยหรืออาจสามารถช่วยให้ระดับการเสื่อมของไตของผู้ป่วยไปอยู่ในระดับที่ดีขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งคลินิกรักษ์ไต ใน รพ.สต.

 

0.00
2 แยกผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังออกจากกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยมีคลินิกให้บริการชัดเจน และมีการขึ้นทะเบียนในคลินิกรักษ์ไต

 

0.00
3 ร้อยละ ๗๐ ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอยู่ในระดับดี

 

0.00
4 ร้อยละ ๘๐ ของอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน ตามละแวกบ้านของตนเอง อยู่ในระดับดี

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,900.00 0 0.00
ค่าวัสดุสำนักงาน 0 1,000.00 -
ค่าอาหารกลางวัน และค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 0 16,900.00 -

ระยะก่อนดำเนินการ ๑. แจ้งผู้อำนวยการ รพ.สต. แพทย์ และเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. รับทราบถึงการจัดตั้งคลินิกให้บริการ รวมทั้งความเป็นมาและความสำคัญในการจัดตั้งคลินิกให้บริการ ๒. คัดเลือกวันคลินิกให้บริการ ระยะดำเนินการ ๑. วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วย คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่ ๑ ต.ค. ๒๕๕๙ - ๓๐ เมษายน ๒๕๖๐ ๒. แจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคลินิกรักษ์ไต ให้กับผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งอาสารสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ ๓. กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและญาติผู้ป่วย ๓.๑ จัดทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมแจกในวันประชุมประจำเดือน แต่ละละแวกบ้านอาสาสมัครสาธารณสุข ๓.๒ เตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ๓.๓ เตรียมสถานที่และสื่อที่ใช้ในการจัดทำโครงการ ๔. กิจกรรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในวันประชุมประจำเดือน ๔.๑ เตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ๔.๒ เตรียมสถานที่และสื่อที่ใช้ในการจัดทำโครงการ ระยะหลังดำเนินการ ๑. ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ๒. สรุปค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการ และเอกสารในการเบิกจ่ายงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ๓. ประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถช่วยชะลอการเสื่อมของไตในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน หรือระดับการเสื่อมของไตกลับมาอยู่ในระดับที่ดีขึ้น ๒. อัตราป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังลดลง ๓. อัตราตายด้วยโรคไตวายเรื้อรังลดลง ๔. มีอาสาสมัครสาธารณสุขที่สามารถเป็นต้นแบบในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2560 11:20 น.