กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการคัดกรองความเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2563

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองความเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L3070-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 25,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเเมรี เเวฮามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวฮาซัน โตะฮิเล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 76 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งถือว่าเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการแต่ตรวจพบได้ เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรม พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การปฏิบัติตนไม่เหมาะสม เช่น ไม่ออกกำลังกาย
สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ เป็นต้น พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้ในทุกชุมชน โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในชุมชน จากสถานการณ์ข้อมูลผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบความชุกเบาหวานในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 6.9 และประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.6 และความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากร 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 21.4 ทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาลในการดูแลรักษาและมักเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาอันได้แก่ โรคหัวใจ ไตวาย ตาบอด หลอดเลือดหัวใจตามมา (แพทย์หญิงสุพัตราและคณะ,2553)

จากสถานการณ์ข้อมูลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปในจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า อัตราการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 94.82 ,93.45 และ 94.82 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มปกติ ร้อยละ 73.61 , 73.44 และ 88.10 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 20.99 , 21.15 และ 6.63 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 5.10 ,4.92 และ 4.73 ตามลำดับ จากสถานการณ์ข้อมูลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปในอำเภอหนองจิก ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า อัตราการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 96.55 ,93.73 และ 95.53 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มปกติ ร้อยละ 68.74 , 68.95 และ 88.22 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 25.10 , 24.56 และ 6.31 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 5.98 ,6.19 และ 4.62 ตามลำดับ จากสถานการณ์ข้อมูลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลยาบี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า อัตราการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 98.49 ,97.01 และ 97.83 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มปกติ ร้อยละ 58.99 , 60.67 และ 81.48 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 30.59 , 24.56 และ9.88 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 8.23 ,6.19 และ 8.15 ตามลำดับ
จากสถานการณ์ข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปในจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า อัตราการคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ 94.10 ,92.98 และ 94.21 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มปกติ ร้อยละ 86.63 , 86.30 และ 85.55 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 11.96 , 12.36 และ 13.34 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 1.15 ,1.17 และ 0.95 ตามลำดับ จากสถานการณ์ข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปในอำเภอหนองจิก ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า อัตราการคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ 95.79 ,92.44 และ 93.73 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มปกติ ร้อยละ 85.71 ,82.17 และ 83.86 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 12.54 , 15.75 และ 15.05 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 1.55 ,1.86 และ 0.89 ตามลำดับ จากสถานการณ์ข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลยาบี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า อัตราการคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ 98.46 ,94.53 และ 95.74 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มปกติ ร้อยละ 85.05 , 81.59 และ 86.87 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 13.62 , 17.12 และ 12.37 ตามลำดับ อยู่ในกลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 1.17 ,1.29 และ 0.61 ตามลำดับ (แหล่งข้อมูลจากโปรแกรม HDC จังหวัดปัตตานี)

จากการวิเคราะห์ข้อมูลคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของพื้นที่ตำบลยาบี แนวโน้มการคัดกรองผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขวางไว้ (ร้อยละ 90) แต่ผลการคัดกรองที่อยู่ในกลุ่มปกติมีแนวโน้มดีขึ้น กลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มลดน้อยลงแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ กลุ่มสงสัยป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเสี่ยงต่อการทำให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ได้ จากทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี ปี 2560 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการคัดกรองความเสี่ยงประชากร 35 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 92.14 (พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 95 คน ร้อยละ 8.09 สงสัยป่วย 7 คน ร้อยละ 0.60 และมีอัตราป่วยด้วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 8 คน ร้อยละ 0.74 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 372 คน ร้อยละ 34.48 กลุ่มสงสัยป่วย 115 คน ร้อยละ 10.66 อัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 31 คน ร้อยละ 2.90
จากทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี ปี 2561 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการคัดกรองความเสี่ยงประชากร 35 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 98.40 (พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 174 คน ร้อยละ 13.62 สงสัยป่วย 15 คน ร้อยละ 1.17 และมีอัตราป่วยด้วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 6 คน ร้อยละ 0.55 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 379 คน ร้อยละ 32.31 กลุ่มสงสัยป่วย 98 คน ร้อยละ 8.35 อัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 16 คน ร้อยละ 1.36
จากทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี ปี 2562 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการคัดกรองความเสี่ยงประชากร 35 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 97.01 (พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 213 คน ร้อยละ 17.12 สงสัยป่วย 16 คน ร้อยละ 1.29 และมีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 9 คน ร้อยละ 0.72 พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 357 คน ร้อยละ 30.59 กลุ่มสงสัยป่วย 96 คน ร้อยละ 8.23 อัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 23 คน ร้อยละ 1.98 ซึ่งสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม พฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย และอารมณ์เครียดจากปัญหาของครอบครัวและเศรษฐกิจในสังคม จากปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตั้งแต่ปี 2560-2562 นั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี จึงได้เห็นถึงความสำคัญในการดูแลเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถลดโรค ลดเสี่ยง โรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำ โครงการคัดกรองความเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2563 ขึ้น โดยเน้นในกลุ่มที่เสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอยู่ในกลุ่มปกติได้ เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังได้ในอนาคตได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเฝ้าระวังเเละค้นหาผู้ป่วยรายใหม่
  1. ผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงเเละโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 5
100.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ อยู่ในกลุ่มปกติ โดยยึดหลัก 3อ. 2ส.

จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ สามารถอยู่ในกลุ่มปกติ โดยยึดหลัก 3อ. 2ส. ร้อยละ 50

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 192 25,500.00 4 25,500.00
10 - 13 ส.ค. 63 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการดูเเล การให้คำเเนะนำเเนวทางการปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงเเละเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 40 6,500.00 6,500.00
17 - 21 ส.ค. 63 กิจกรรมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงเเละเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 76 7,600.00 7,600.00
28 ส.ค. 63 - 21 ก.ย. 63 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดเเละระดับความดันโลหิตสูง โดย อสม.ติดตามจำนวน 3 ครั้ง 76 11,400.00 11,400.00
25 - 30 ก.ย. 63 สรุปผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 0.00

1.ขั้นเตรียมการ

1.1 สำรวจข้อมูลทั่วไป ข้อมูลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

1.2 รวบรวมข้อมูล

1.3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการโยงใยสาเหตุของปัญหา และวางแผนการดำเนินการเครือข่าย อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

1.4 นำเสนอที่ปรึกษา

1.5 ร่างโครงการ

2.ขั้นดำเนินการ

2.1 ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ วางแผนการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ที่มีภาวะเสี่ยงประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ร่วมกับเจ้าหน้าที่ และ อสม. โดยการสร้างกระแสร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ และ อสม.

2.2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่กลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 76 คน บรรยายเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส. ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากโรค สามารถอยู่ในกลุ่มปกติได้

2.3 ติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ติดตามโดย อสม. จำนวน 3 ครั้ง

2.4 รายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมประจำเดือน สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนการพัฒนาต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลงจากเดิมในปี 2562

  2. จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ สามารถอยู่ในกลุ่มปกติ โดยยึดหลัก 3อ. 2ส.

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 13:51 น.