กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 63-L1504-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านท่าบันได
วันที่อนุมัติ 13 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 สิงหาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 42,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ผกาวัลย์ ขันชู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.404,99.626place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น สามารถพบผู้ป่วยไข้ด้วยโรคไข้เลือดออกในทุกกลุ่มอายุและมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลาย โดยการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมด ซึ่งโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน และสังคม ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี   จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดตรัง พบว่าในปี 2562 มีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 96.88 ต่อแสนประชากร อำเภอย่านตาขาวมีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 142.60 ต่อแสนประชาชน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าบันได พบว่า มีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 80.06 ต่อแสนประชากร สำหรับปีนี้พบผู้ป่วยในหมู่ที่2 และหมู่ที่ 3 จำนวน 2 ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2562 ให้ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และมีการระบาดต่อเนื่องทุกปี แม้ว่าจะมีการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยอาสาสมัครสาธารณสุขในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ด้วยวิธีทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ การใส่สารเคมีกำจัดลูกน้ำ การให้ความรู้แก่ประชาชนตามเขตรับผิดชอบแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง และยังพบว่าประชาชนในชุมชนยังไม่ให้ความสำคัญกับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ไม่มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและรอบบริเวณบ้านตนเอง ไม่มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขที่จะต้องไปทำ ขาดความร่วมมือจากชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ได้ผล ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจจากประชาชนในชุมชน โรงเรียน และเครือข่าย   ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขของ รพ.สต.บ้านท่าบันได จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ในปี 2563 ขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 4 หมู่บ้านที่รับผิดชอบ โดยเน้นให้มีการดำเนินงานให้มีความครอบคลุมจะส่งผลให้การควบคุมลูกน้ำยุงลายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้สามารถลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในประชาชนพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านท่าบันได

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในพื้นที่ รพ.สต.บ้านท่าบันได ให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม

 

0.00
4 เพื่อสร้างความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำยุงลายในชุมชน ได้แก่ บ้าน ศาสนสถาน โรงเรียน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ชี้แจงรายละเอียดและเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินงานโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน แก่ ผู้นำชุมชน อสม. และประชาชนในพื้นที่   2. จัดประชุม อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้
    • อบรมทบทวนความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่แกนนำป้องกันโรคไข้เลือดออก           - สำรวจวัสดุ สารเคมีกำจัดลูกน้ำ สเปรย์ฉีดยุง และโลชั่นทากันยุงที่จะต้องใช้
    • ดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลาย (HI ,CI) กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน (บ้าน ศาสนสถาน และโรงเรียน) จำนวน 4 ครั้ง สรุปและแจ้งผลกลับสู่ชุมชนหรือครัวเรือน
    • จัดกิจกรรมทำความสะอาดหมู่บ้าน (Big cleaning day) การควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5ป. 1ข.
    • การจัดการขยะและปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน           - จ่ายพันธุ์ปลาหางนกยูงแก่กลุ่มแกนนำที่พร้อมจะเพาะพันธุ์แจกจ่ายเพื่อนบ้าน
    • ซื้อสารเคมีกำจัดลูกน้ำ สเปรย์ฉีดยุง และ โลชั่นทากันยุง           - จัดทำสมุดบัญชีคุมการจ่ายสารเคมีกำจัดลูกน้ำ สเปรย์ฉีดยุง และ โลชั่นทากันยุง           - อสม.ควบคุมโรคเบื้องต้นโดยการฉีดพ่นสเปรย์และจ่ายโลชั่นทากันยุงเฉพาะบ้านผู้ป่วย กรณีพบผู้ป่วยมีไข้สูง (สงสัยจะเป็นไข้เลือดออก)
    • อสม. ผู้นำชุมชน ร่วมกับเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ ดำเนินการพ่นหมอกควัน กำจัดยุงลายตัวแก่ในพื้นที่เสี่ยง และแหล่งชุมชน/พื้นที่ๆ มีผู้ป่วยหรือสงสัยเป็นไข้เลือดออก
    • อสม. ประจำหมู่บ้าน สรุปผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายของหมู่บ้านที่รับผิดชอบ ส่ง รพ.สต.บ้านท่าบันได
    • อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านท่าบันได อภิปรายปัญหาพร้อมแนวทางแก้ปัญหา เป็นแนวทางการปฏิบัติงานในปีต่อไป และคืนข้อมูลสู่ครัวเรือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องยั่งยืน   2. ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่   3. สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้   4. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 14:59 น.